Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอดีต รมว.มหาดไทย (แฟ้มภาพ)

“โฆษกศาล” เปิดเงื่อนไขรับอนุญาตฎีกาสุดเข้ม 7 ข้อ คดีทุจริตฯอัลไพน์ หลังศาลฎีกา ไม่อนุญาตให้ “ยงยุทธ” ฎีกาต่อ ชี้ วิ.อาญาฯ คดีทุจริตฯ เเตกต่าง วิ.อาญาทั่วไป หลังจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จึงเตรียมนำตัวนายยงยุทธ จำเลยไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

วันนี้ (17 ก.พ.63) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลนัดฟังสั่งศาลฎีกาคดีที่ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อายุ 78 ปี อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอดีต รมว.มหาดไทย จำเลย คดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ยื่นขออนุญาตฎีกาในคดีหมายเลขดำ อท.38/2559 ที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบหรือทุจริต หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

โดยวันนี้นายยงยุทธ เดินทางมาศาลพร้อมฟังคำสั่ง ขณะที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกาแล้ว เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จึงเตรียมนำตัวนายยงยุทธ จำเลยไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพื่อรับโทษตามคำพิพากษาที่ผลถึงที่สุด ตามศาลอุทธรณ์ที่มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2562

 

นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขออนุญาตฎีกา ภายหลังศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ จำเลยฎีกาในคดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ว่าคดีนี้เป็นคดีที่ฟ้องภายหลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว จึงต้องใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ. 2559 มาบังคับซึ่งมาตรา 42 กำหนดว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้เป็นที่สุดหากคู่ความประสงค์จะฎีกาต้องปฏิบัติตามมาตรา 44 ที่กำหนดให้การฎีกาผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาด้วย

ซึ่งเหตุที่ศาลฎีกาจะพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาได้ระบุไว้ในมาตรา 46 คือต้องเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยซึ่งรวมถึงปัญหาดังต่อไปนี้

1.ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ

  1. เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา

3.คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน

  1. เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น
  2. เมื่อจำเลยต้องคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
  3. เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วอาจมีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
  4. ปัญหาสำคัญอื่นตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกาได้กำหนดปัญหาสำคัญอื่นเพิ่มเติมอีก 2 กรณีคือ
  • คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีความเห็นแย้งในสาระสำคัญ
  • คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทยส่วนเรื่องการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกาก็เป็นสิทธิที่จำเลยพึงกระทำได้ซึ่งหากมีการยื่นขอปล่อยชั่วคราวมาทางองค์คณะก็จะเป็นผู้พิจารณาคำร้องดังกล่าวว่าเห็นควรส่งให้ศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยหรือพิจารณามีคำสั่งได้เลย

 

นายสุริยัณห์ อธิบายเพิ่มว่า สำหรับคดีอาญาทั่วไปหรือเป็นกรณีที่ฟ้องก่อนจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบก็จะต้องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งบัญญัติไว้ว่า หากคู่ความจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามมาตรา 221 ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218, 219 เเละ220 แห่งประมวลกฎหมายนี้ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป

 

ส่วนคดีนายยงยุทธนี้ เป็นคดีที่ต้องใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ฯ ซึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งต้องห้ามคู่ความคือห้ามทั้งโจทก์และจำเลยฎีกา ตรงนี้การยื่นฎีกาได้จะต้องขออนุญาตฎีกาซึ่งจะต้องใช้ผู้พิพากษาศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตเเละจะต้องเข้าเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้ข้างบน ซึ่งจะมีความเเตกต่างกับการรับรองฎีกาใน ป.วิอาญาที่เพียงใช้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์ที่พิจารณาหรือลงลายมือชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งพิจารณาและอนุญาตให้ฎีกาหรือให้อัยการสูงสุดรับรองฎีกา

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า