SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง จนนำมาสู่เหตุการณ์นองเลือดที่ควังจูที่กลายมาเป็นฉากหลังของซีรีส์ ‘Youth Of May’

‘Youth of May’ เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มและหญิงสาวที่มาพบรักกันที่ควังจู ท่ามกลางสถานการณ์การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ความรักในซีรีส์เป็นเรื่องราวสมมุติ แต่โศกนาฏกรรมในฉากหลังนั้นคือเรื่องจริง ที่มีการล้อมปราบผู้ชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นเวลา 10 วันจนมีผู้เสียชีวิตนับพัน บาดเจ็บและสูญหายที่ยังรอการค้นพบอยู่จนทุกวันนี้

ภาพจาก :: สารานุกรมสงครามเกาหลี Encyclopedia of Korean war

กระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยเริ่มมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี ‘พัคจุงฮี’ ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการรัฐประหารตั้งแต่ปี 1961 และครองตำแหน่งยาว 18 ปีจนโดนลอบสังหารในปี 1979 ในปีเดียวกัน ‘ชอนดูฮวาน’ ก็ทำการรัฐประหารอีกครั้ง เพื่อการสืบทอดอำนาจและคง ‘ระบอบยูชิน’ ที่มาจากรัฐธรรมมนูญซึ่งเขียนขึ้นโดยรัฐบาลของพัคจุงฮี เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวและพรรคพวกและประกาศใช้กฏอัยการศึกนับตั้งแต่นั้นมา

การต่อต้านจริงจังเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม มีการประท้วงอยู่เรื่อยๆ และมีกิจกรรมจากสมาคมนักศึกษาและกลุ่มอาจารย์ที่เรียกร้องให้ยุติการใช้กฏอัยการศึกและให้เสรีภาพในการแสดงออกกับนักศึกษา โดยมีจุดชนวนสำคัญอยู่ที่การประท้วงใหญ่ในวันที่ 15 พฤษภาคมที่มีนักศึกษากว่า 70,000 คนรวมตัวกันประท้วงที่โซล และต่อมาในวันที่ 17 ก็มีการจับกุมแกนนำนักศึกษาอีก 95 คน จาก 55 มหาวิทยาลัย กลางการประชุม ส่งผลให้ในวันที่ 18 รัฐบาลประกาศบังคับใช้กฏอัยการศึก สั่งปิดมหาวิทยาลัยและแบนการทำกิจกรรมทางการเมืองไปทั่วประเทศ รวมถึงควบคุมตัวนักการเมืองที่คิดว่าเป็นผู้ปลุกปั่นไป 3 คน

ภาพจาก :: 5.18 Memorial Foundation Photo Archive

18-27 พฤษภาคม 10 วันแห่งการต่อสู้และเหตุการณ์นองเลือดที่ควังจู

การะประท้วงในควังจูเริ่มด้วยการรวมตัวของนักศึกษาประมาณ 600 คนที่หน้ามหาวิทยาลัยชอนนัมและเมื่อขยายเป็น 2,000 คน รัฐบาลก็ส่งหน่วยรบพิเศษออกมาปะทะกับประชาชนด้วยการทุบตีผู้ประท้วง รวมถึงผู้ที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นด้วย ทำให้มีผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นชายหูหนวกอายุ 29 ปี ฃที่โดนทุบจนเสียชีวิตระหว่างที่เดินผ่านที่เกิดเหตุ

แต่ยิ่งมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นก็ยิ่งมีประชาชนที่โกรธแค้นออกมาชุมนุมมากขึ้นเท่านั้น จนตัวเลขแตะ 10,000 คนในวันที่ 20 ทำให้มีการเพิ่มกำลังทหารเพื่อควบคุมการะประท้วง กลุ่มคนขับแท็กซี่ รถบัส รถบรรทุก และประชาชนบางส่วนจึงหยุดงานและสละเอารถมาจอดเพื่อเป็นที่กำบังให้กับผู้ชุมนุม และในวันที่ 21 ทหารก็เปิดฉากกราดยิงประชาชน ทำให้มีประชาชนบุกเข้าสถานีตำรวจและคลังอาวุธเพื่อหาอาวุธมาป้องกันตัว การปะทะดำเนินไปจนสุดท้ายทหารต้องล่าถอยมาปิดล้อมเมืองไว้

ภาพจาก :: 5.18 Memorial Foundation Photo Archive

ชาวควังจูประการตัวเป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาลทหาร ทำให้กระแสการต่อต้านอำนาจรัฐแพร่กระจายไปที่เมืองใกล้เคียง ต่อมาในวันที่ 25 ชาวควังจูส่งจึงข้อเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองและยกเลิกกฏอัยการศึก พวกเขามีความหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาที่มีฐานทัพในเกาหลีในขณะนั้น แต่ทุกสิ่งไม่เป็นไปตามที่หวังเพราะในตอนเช้าของวันที่ 27 พฤษภา ด้วยการสนับสนุนจากกองกำลังเกาหลี-สหรัฐฯ กองทัพก็ยกกองทหาร 20,000 นาย พร้อมอาวุธ รถถัง และเฮลิคอปเตอร์ เข้ารุมโจมตีประชาชนในกวางจูจากทางพื้นดินและอากาศ ใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมงก็เอาชนะได้สำเร็จ และจับกุมผู้ชุมนุมไปมากกว่า 1,740 คน

รัฐบาลประกาศตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชน ในขณะที่เชื่อกันว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน มีผู้บาดเจ็บ หลายคนสูญหายอีกมากมาย จนถึงทุกวันนี้ยังมีหลายคนที่หาไม่พบ และมีการพบร่างของผู้ที่คาดว่าเป็นเหยื่อจากเหตุการณ์นี้อยู่เรื่อย ๆ แม้เวลาจะผ่านมานานหลายสิบปีแล้ว

ภาพจาก :: สารานุกรมสงครามเกาหลี Encyclopedia of Korean war

ความพ่ายแพ้ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นสู่ชัยชนะ

แม้ในวันนั้นประชาชนจะเป็นฝ่ายแพ้และโดนใส่ร้ายว่าเป็นประชาชนติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากเกาหลีเหนือ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ เป็นแรงบันดาลใจให้ต่อมาในปี 1987 มีการประท้วงเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งและปรับปรุงการทำงานของรัฐบาล จนได้มีการเลือกตั้งในปีถัดมา แต่กว่าเกาหลีใต้จะหลุดพ้นจากอำนาจของรัฐบาลทหารได้จริงคือปี 1993 เมื่อนาย คิมยองซัม ประธานาธิบดีที่เป็นพลเรือนคนแรกในรอบ 30 ปี ขึ้นรับตำแหน่ง ทำให้มีการสอบสวนโศกนาฏกรรมครั้งนี้เพื่อเอาผู้สั่งการมาลงโทษ จนในปี 1997 ศาลก็มีคำสั่งตัดสินให้ ‘ชองดูฮวาน’ และ ‘โรแทอู’ ที่เป็นผู้นำในช่วงการสังหารหมู่โดนจำคุกตลอดชีวิต แต่ทั้งสองกลับถูกปล่อยตัวออกจากหลังจากนั้นเพียง 2 ปี

ภาพจาก :: สารานุกรมสงครามเกาหลี Encyclopedia of Korean war

ความยุติธรรมของเหยื่อมาถึงอย่างแท้จริงในปี 2017 เมื่อ ‘มุนแจอิน’ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเกาหลีใต้ เขาผลักดันให้ค้นหาความจริงจากเหตุการณ์นี้อย่างต่อเนื่องทำให้มีการเปิดเผยความจริงจากเหตุการณ์สังสารหมู่อยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งปี 2018 รมว. กลาโหมของเกาหลีใต้ได้ออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการถึงเหตุการณ์ในอดีตและยอมรับว่านอกจากจะมีการทำร้ายแล้ว ยังมีทหารที่ข่มขืนประชาชนในตอนนั้นจริง และเมื่อปี 2020 ในงานครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์สังการหมู่ที่ควังจูประธานาธิบดีมุนแจอินกล่าวสนับสนุนการบันทึกความสำคัญของเหตุการณ์นี้ลงในรัฐธรรมมนูญฉบับแก้ใหม่ที่กำลังเขียนขึ้น และเชิดชูผู้ชุมนุมเป็นฮีโร่

อนุสาวรีย์ที่ยังคงตั้งตระหง่านในควังจูและงานครบรอบเหตุการณ์ที่ยังจัดขึ้นทุกปี ยังคงคอยเตือนใจทุกคนไม่ให้ลืมวันประชาธิปไตยที่พวกเขามีในวันนี้ถูกแลกมาด้วยเลือดและน้ำตาของบรรพชน เหตุการณ์การสังหารหมู่ในควังจูได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นซีรีส์ ภาพยนตร์มากมาย และล่าสุดกับ ‘Youth of May’ ที่ชมได้ทาง ‘Viu’ ทุกวันอังคารและพุธ นำแสดงโดย ‘อีโดฮยอน’ และ ‘โกมินชี’

อ้างอิง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า