Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การยูนิเซฟ ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ สำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเด็กและเยาวชน  โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึง 6 เมษายน 2563 จากเด็กและเยาวชนจำนวน 6,771 คนทั่วประเทศ พบว่า 80.74% มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเงินของครอบครัว มาเป็นอันดับหนึ่ง

       ผลสำรวจยังพบอีกว่าเด็กและเยาวชน 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ที่เคยทำงานพาร์ทไทม์หารายได้ช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ถูกเลิกจ้างในขณะนี้ ส่งผลให้พวกเขามีความวิตกกังวลเรื่องอนาคตทางการเรียน เป็นอันดับถัดมา หรือประมาณ 54%

 

ไม่มีงาน ไม่มีเงิน กลัวไม่ได้เรียนต่อ

       จักรกฤษณ์ เต็มเปี่ยม หรือ แฮม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 (กำลังจะขึ้นปี 4) ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตคลองเตย เล่าให้ผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์ฟังว่าเขาทำงานหาค่าเทอมเองและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของที่บ้านในบางส่วน ปกติจะทำงานพิธีกรหรือวิทยากรช่วงปิดภาคเรียน แต่ตอนนี้งานต่างๆ ถูกยกเลิก  “เราไปทำงานไม่ได้ ค้าขายตอนนี้ก็ไม่ได้ แล้วจะหารายได้จากไหนครับพี่ เงินเยียวยา 5,000 บาทจากรัฐบาล เขาก็ไม่ให้เรา เพราะเราเป็นนักศึกษา แต่เด็กๆ ที่นี่ พ่อแม่หาเช้ากินเช้า หาค่ำกินค่ำ เราต้องทำงานหาเงินช่วยจุนเจือครอบครัว

       ดุษฎี ถิรธนกุล หรือ ไชโย นักศึกษาชั้นที่ปี 1 มหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องหยุดสอนพิเศษตั้งแต่ COVID-19 ระบาด ทำให้เขาขาดรายได้ จนต้องเริ่มนำเงินเก็บออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  “ปกติ (สอนพิเศษ) ได้ครั้งละ 500 ครับ รายได้ก็จะเอามาโปะเรื่องกู้ กยศ. ค่าเทอมประมาณ 40,000 แต่ว่าที่กู้ของเทอมนี้ได้ 20,000 ต้องหาเพิ่ม บางทีผมก็ถามๆ ที่บ้านนะครับ แต่มันเหมือนไปเพิ่มความเครียดให้เขาด้วย ตอนนี้ที่บ้านก็ขายของได้ไม่ค่อยดี เขาบอกครับว่า อาจจะให้ดร็อปเรียนถ้าไม่มีเงินส่งจริงๆ

       เอมอร มุจรินทร์ หรือ อร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางนา เคยทำงานพาร์ทไทม์ตามร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 9,500 – 12,000 บาท เมื่อต้องหยุดอยู่บ้านเฉยๆ เธอบอกว่ารู้สึกหนักใจที่ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองได้เหมือนเดิม  “ปกติรายได้ครึ่งนึงจะสะสมไว้จ่ายค่าเทอมค่ะ เหลืออีกครึ่งนึงจะเอาไปซื้อของใช้ส่วนตัว ซื้อของที่เราอยากได้ แล้วก็แบ่งแม่ใช้ แต่พอมีสถานการณ์แบบนี้คือเราไม่สามารถทำอะไรได้เลย”

       ทัศนารีย์ วิเศษรจนา หรือ เกล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบ่งเวลาว่างจากการเรียนมาทำงานขายสินค้า (BA) โดยที่เธอตั้งใจว่าจะค่อยๆ หาเงินและเก็บออมเอาไว้ เพื่อใช้ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในปีหน้า  “จริงๆ หนูได้ทุนจากมหาวิทยาลัยแล้ว แต่การเรียนมหา’ลัย 4 ปี มันไม่ได้มีแค่ค่าหน่วยกิตหรือค่าอุปกรณ์ใช่ไหมคะ ค่ากิน ค่าหอ ค่าธรรมเนียม พวกนี้เราต้องจ่ายเอง ก็คืออย่างที่บอกไปตอนแรกค่ะ ทางบ้านไม่สามารถซัพพอร์ตทุกอย่างได้อยู่แล้ว”

 

ภาพโดย UNICEF Thailand

 

       “ค่าเทอมเป็นเรื่องสำคัญ” จอมขวัญ ขวัญยืน เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนาวัยรุ่นและการมีส่วนร่วม องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับข่าวเวิร์คพอยท์ ระบุว่าเด็กและเยาวชนจำนวนมากสะท้อนความวิตกกังวลในประเด็นนี้ผ่านแบบสอบถาม เช่น พวกเขาไม่รู้ว่าเทอมหน้าต้องจ่ายค่าเทอมหรือไม่ โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยจะลดค่าเทอมให้หรือเปล่า ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้องค์การยูนิเซฟเห็นว่า โรงเรียนและมหาวิทยาลัยควรมีมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือเด็กและเยาวชน เช่น เปิด Hotline หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ที่เข้าถึงง่าย ให้นักเรียนนักศึกษาสามารถขอรับคำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ

 

ความรุนแรงในครอบครัวและความกดดันเรื่องเพศสภาพ

       เด็กและเยาวชนที่ตอบแบบสอบถาม 7% รู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เช่น การทะเลาะกันของผู้ปกครอง และการทำร้ายร่างกาย ในขณะที่อีก 4% สะท้อนปัญหาของเยาวชนกลุ่ม LGBTIQ ระบุว่า รู้สึกกังวลเรื่องเพศสภาพที่ถูกกดดันเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่สามารถแสดงอัตลักษณ์หรือตัวตนกับครอบครัวได้ รวมถึงบางส่วนที่อาจไม่สามารถเข้าถึงฮอร์โมนเสริมได้ในช่วงนี้ 

 

การบาดระบาดของ COVID-19 เป็นมากกว่าวิกฤติด้านสุขภาพ

       โธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าวิกฤติ COVID-19 ส่งผลกระทบมากมายหลายด้านต่อเด็กและเยาวชนหลายกลุ่ม โดยเด็กและเยาวชนก็มีความเครียดและวิตกกังวลไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เวลานี้ครอบครัวถือเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้เด็ก จัดการกับสภาวะเหล่านี้ได้ พวกเขาควรได้รับความรักความเอาใจใส่ในช่วงเวลานี้มากกว่าที่เคย

       “เด็กและเยาวชนมากมายกำลังประสบปัญหาและต้องแบกรับภาระอันเป็นผลพวงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกนาน เราเห็นปัญหาต่าง มากมายหลังการแพร่ระบาดเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ โดยหลายครอบครัวต้องกระเสือกกระสนในการมีชีวิตรอด หลายคนไม่มีเงินแม้จะซื้อข้าวให้ลูกกิน เราต้องมีมาตรการที่จะรับมือกับผลกระทบของ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนต้องแบกรับผลกระทบ หรือจมอยู่ในวงจรของปัญหาที่อาจยืดเยื้อต่อไปไม่สิ้นสุด” ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าว

 

 

       ทั้งนี้ ยูนิเซฟเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง เสริมมาตรการคุ้มครองทางสังคมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่เปราะบางเพื่อบรรเทาผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อเด็กและครอบครัว พร้อมส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์ การศึกษาทางไกล ตลอดจนบริการให้คำปรึกษาเยียวยาจิตใจและบริการทางสุขภาพจิตสำหรับวัยรุ่น

       ในประเทศไทย ยูนิเซฟร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (Path2Health) จัดคลินิกออนไลน์ 24 ชั่วโมง “เลิฟแคร์สเตชั่น” www.lovecarestation.com เพื่อให้คำปรึกษาแก่วัยรุ่นในด้านต่าง โดยเป็นบริการเฉพาะวัยรุ่น เข้าถึงง่ายและเป็นมิตร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า