SHARE

คัดลอกแล้ว

“ซีอุย แซ่อึ้ง” ชื่อนี้กลับมาเป็นประเด็นทางสังคมอีกครั้ง หลังจากมีการล่ารายชื่อใน change .org ขอให้นำร่างของเขาออกจากพิพิธภัณฑ์ฯ ศิริราช คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ล้างฉายามนุษย์กินคน ที่กลายเป็นตราบาป ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี

โดยอันดับแรก ต้องเข้าใจเกี่ยวกับคดีของซีอุยก่อนว่า ในด้านคำตัดสินของผู้พิพากษา เขามีความผิดจริง และถูกตัดสินประหารชีวิต จากคดีฆาตกรรมเด็กชายวัย 11 ขวบ ที่มีหลักฐานและพยานแวดล้อมอย่างแน่นหนา

แต่สิ่งที่สังคมเข้าใจผิดเกี่ยวกับเขา ก็คือ ซีอุยเป็นฆาตรต่อเนื่อง เป็นมนุษย์กินคน จนกลายเป็นตำนานแห่งความน่าสะพรึงตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

โดยซีอุยเป็นทหารที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น และในสงครามชิงอำนาจระหว่างเจียงไคเช็ค กับ เหมาเจ๋อตุง ซึ่งต่อมาผลปรากฏว่า ฝ่ายเหมาเจ๋อตุงได้รับชัยชนะ และเปลี่ยนแปลงจีนเป็นคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ ส่วนเจียงไคเช็คได้ถอยไปตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย ที่ไต้หวัน

ซึ่งซีอุยได้หนีเข้ามาประเทศไทย เมื่อปี 2489 ขณะอายุ 19 ปี หลังจากนั้นก็ทำงานรับจ้างสารพัด ในหลายจังหวัด กระทั่งอีก 10 กว่าปีต่อมา เขาก็ตกเป็นผู้ต้องหา ในคดีฆาตกรรมเด็กชายสมบุญ อายุ 11 ขวบ ใน จ.ระยอง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2501

คดีนี้มีหลักฐานแน่นหนา โดยขณะที่ซีอุยกำลังอำพรางศพ ด้วยการเผา ชาวบ้านก็บุกมาเจอเสียก่อน และช่วยกันจับกุมตัวเขาไว้ โดยสภาพศพถูกชำแหละ ตับกับหัวใจหายไป และพบตับและหัวใจในตู้กับข้าวในที่พักของซีอุย ข่าวจึงออกมาว่า “ซีอุยสังหารเหยื่อ เพื่อกินเครื่องใน” กลายเป็นที่มาของฉายา “มนุษย์กินคน”

หลังจากนั้น เรื่องของซีอุยก็กลายเป็นข่าวดัง และเขาก็ตกเป็นผู้ต้องหาในอีก 6 คดี รวมเป็นทั้งสิ้น 7 คดี ทำให้ภาพของเขากลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ที่ชื่นชอบการกินเครื่องในเด็ก และเด็กๆ ในยุคนั้น และยุคต่อมาก็จะกลัวชื่อของเขาเป็นอย่างมาก เพราะผู้ใหญ่มักนำมาใช้ขู่ว่า หากไม่เชื่อฟัง หรือออกไปเล่นข้างนอกตามลำพัง “เดี๋ยวจะถูกซีอุยจับกิน”

โดย 6 คดีที่ตามมาภายหลัง มีดังต่อไปนี้

คดีฆาตกรรมเด็กหญิง ที่เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2497

คดีฆาตกรรมเด็กหญิง ที่ จ.นครปฐม เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2500

คดีพยายามฆ่าเด็กหญิง ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2497 (เหยื่อรอดชีวิต)

คดีฆาตกรรมเด็กหญิง ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2497

คดีฆาตกรรมเด็กหญิง ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2497

คดีฆาตกรรมเด็กหญิง ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2497

แม้ขณะนั้น ซีอุยจะอยู่เมืองไทยมากว่าสิบปีแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย จึงต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ผ่านล่าม รวมถึงไม่มีญาติที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างถูกดำเนินคดี และไม่มีทนายว่าความให้ เขาจึงต้องต่อสู้คดีลำพังคนเดียวไปตามยถากรรม

โดย 6 คดี ที่ตามมาภายหลัง ตอนแรกซีอุยให้การปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ต่อมาเขากลับรับสารภาพว่า เป็นผู้ลงมือก่อเหตุ แต่จากคำให้การที่ไม่สอดคล้องกับรูปคดี และข้อเท็จจริงต่างๆ ศาลจึงไม่ได้พิพากษาเขาใน 6 คดีหลัง ดังนั้นซีอุยจึงถูกตัดสินว่า มีความผิดจากคดีฆาตกรรมเด็กชายสมบุญ อายุ 11 ขวบ ที่ จ.ระยอง เท่านั้น

ส่วนตับและหัวใจที่พบในตู้กับข้าว แพทย์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นตับและหัวใจมนุษย์ แต่ใช้คำว่า “คล้ายตับและหัวใจมนุษย์” ซึ่งจากข้อมูลตรงนี้ รวมถึง 6 คดีหลังที่ไม่มีการตัดสิน จึงไม่อาจกล่าวหาว่า ซีอุยเป็นฆาตกรต่อเนื่อง และมนุษย์กินคน

ซึ่งศาลชั้นต้น ได้ตัดสินประหารชีวิต ก่อนลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต เเต่ศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต สุดท้ายศาลฎีกา ตัดสินประหารชีวิต เขาถูกประหารฯ เมื่อวันที่ 16 กันยายน ปี 2502 ต่อมามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ศิริราช) ได้ทำเรื่องขอร่างซีอุยมาทำการศึกษา โดยเก็บไว้ที่ตึกกายวิภาค พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ โดยมีข้อความ “ซีอุย แซ่อึ้ง (มนุษย์กินคน)” จนถึงทุกวันนี้

แม้ในความเป็นจริง เขาจะถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีฆาตกรรม 1 คดี แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่เผยแพร่ในเวลาต่อมากลับกลายเป็นว่า เขาก่อคดีฆาตกรรมถึง 7 คดี มีการนำเรื่องราวของเขามาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ เมื่อปี 2527 ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ก่อนสร้างเป็นภาพยนตร์ “นายซีอุย แซ่อึ้ง” ออกฉายเมื่อปี 2534 ก็สามารถคว้ารางวัลใหญ่ อย่างตุ๊กตาทอง สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม มาครอบครองได้

และครั้งล่าสุด มีการนำเรื่องราวของเขามาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ชื่อว่า “ซีอุย” ในแนวสืบสวนสอบสวน ออกฉายเมื่อปี 2547 ด้วยการค้นหาความจริงเกี่ยวกับคดีของซีอุย แม้ดำเนินเรื่องได้อย่างสนุกสนาน น่าติดตาม แต่ด้วยแนวทางไม่ถูกกับรสนิยมของกลุ่มผู้ชม ทำให้ล้มเหลวในด้านรายได้ แต่ก็ถือว่าเป็นอีกความพยายาม ในการค้นหาและนำเสนอความจริงเกี่ยวกับซีอุย ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนคดีซีอุย ! หลังโลกโซเชียล ล่ารายชื่อ เรียกร้องคืนศักดิ์ศรี ล้างฉายามนุษย์กินคน

อ้างอิง

บทความ “ซีอุย” มนุษย์กินคน หรือเหยื่อสังคม? ของ ปรามินทร์ เครือทอง นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2546

วิกิมีเดีย ประวัติซีอุย 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า