SHARE

คัดลอกแล้ว

เงินทองหายไปไหน? ทำไมปีที่ผ่านมาตัวเลขจีดีพีประเทศไทยเติบโตขึ้นถึง 4.7% แต่ปัญหาความยากจนก็ยังมีให้เห็นอยู่เสมอ เวิร์คพอยท์ออนไลน์พามาเปิดสถิติความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ

ข้อมูลจากปี 2015 ระบุว่าความมั่งคั่ง 56% ของประเทศไทยถือครองโดยคนเพียง 1% เท่านั้น ขณะที่คนอีก 99% ที่เหลือ แบ่งกันถือครอง 44% ที่เหลือ สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ประเทศไทยรั้งอันดับสามในการจัดอันดับประเทศที่คนจนกับคนรวยมีทรัพย์สินแตกต่างกันที่สุดในโลก เป็นรองเพียงรัสเซียและอินเดียเท่านั้น

เมื่อเจาะลงไปในรายละเอียด พบว่ามีเศรษฐีไทยที่มีทรัพย์สินมากกว่า 32.5 ล้านบาท (1 ล้านดอลลาร์) คิดเป็น 0.1% ของคนไทยทั้งหมด ส่วนคนที่ถือครองทรัพย์สินมูลค่าระหว่าง 3.25 – 32.5 ล้าน (100,000 – 1 ล้านดอลลาร์) มีจำนวน 0.7% ของประเทศ ขณะที่คนที่มีความมั่งคั่งระหว่าง 3.25 แสน – 3.25 ล้านบาท (10,000-100,000 ดอลลาร์) มีสัดส่วนเป็น 8.1% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่คนส่วนใหญ่ที่เหลือของประเทศ 91.1% มีความมั่งคั่งต่ำกว่า 3.25 แสนบาท

ข้อมูลจาก Oxfam [http://secincy.org/wp-content/uploads/2017/05/Click-here.pdf ]
Credit Suisse. Global Wealth Databook 2017

ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาของประเทศไทย โดยจากข้อมูลการถือครองที่ดินในประเทศไทยระบุว่า มีคนไทยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ในขณะที่คนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ไม่มีที่ดินในครอบครองเลย
และหากดูเฉพาะกลุ่มคนที่มีที่ดิน ก็จะพบความเหลื่อมล้ำอยู่ในนั้นอีก โดยที่ดินที่มีโฉนด 80% ของประเทศเป็นของคนส่วนน้อยเพียง 5% ในขณะที่คนไทยที่เหลืออีก 20% ครอบครองที่ดินคิดเป็นพื้นที่เพียงแค่ 20%
สำหรับคนไทยที่มีที่ดินนั้น กว่าครึ่งมีที่ดินเพียงผืนเล็กๆ ไม่เกิน 1 ไร่ อีก 22% มีที่ดินขนาด 1-2 ไร่ ส่วนคนไทยที่มีที่ดินเกิน 5 ไร่คิดเป็นสัดส่วน 28% ของคนที่มีที่ดินทั้งหมด
ข้อมูลจาก ดวงมณี เลาวกุล. (2556). การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย

นอกจากความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และทรัพย์สิน การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมก็แตกต่างกันมากด้วย
สำหรับข้าราชการ หากดูงบประมาณปี 2562 โดยรวม “งบประมาณค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ” “งบประมาณสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” และ “งบประมาณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ” จะได้รวมกันทั้งสิ้น 348,607 ล้านบาท คิดเฉลี่ยคร่าว ๆ แล้วข้าราชการทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคนจะได้รับสวัสดิการเฉลี่ยตกคนละ 58,101 บาท
ในขณะที่ฝั่งประชาชน หากรวมเงิน “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” “เงินสมทบกองทุนประกันสังคม” และ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” รวมเป็นเงินงบประมาณ 249,359 ล้านบาท แต่ประชาชนผู้ใช้สวัสดิการในส่วนนี้ทั่วประเทศมีถึง 53.5 ล้านคน หรือหารเฉลี่ยแล้วตกคนละ 4,660 บาทเท่านั้น
ข้อมูลจาก Decharut Sukkumnoed[https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1874702932621649&set=a.528358730589416&type=3 ]

การศึกษาถือเป็นหนทางออกสำคัญที่หลายคนหวังว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ ลงได้ แต่จากข้อมูลที่สำรวจโดยยูเนสโกพบว่า แม้จะมีนโยบายเรียนฟรี มีเงินอุดหนุนรายหัว แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของเด็กยากจนก็ทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงๆ ได้ โดยจากสถิติชี้ว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนที่สุด 20% ของประเทศ มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยแค่ประมาณ 5% เท่านั้น เทียบกับเด็กที่มาจากครอบครัวร่ำรวยที่สุด 20% แรก ได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย 100%
ข้อมูลจาก งานสัมมนาระดับนานาชาติเปิดตัวรายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจําปี 2559

 
ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้จะเก็บในอัตราเท่ากัน 7% ทุกสินค้า แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อเทียบต่อชิ้นสินค้าแล้ว ดูเหมือนว่าผู้มีรายได้น้อยที่ต้องซื้อสินค้าใช้ทีละชิ้นเป็นหน่วยย่อยๆ จะต้องเสียภาษีมากกว่า
การซื้อของทีเดียวในปริมาณมากๆ ทำให้ซื้อสินค้าแบบเหมาโหลได้ในราคาที่ถูกกว่า และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคิด 7% จากราคาขายส่งดังกล่าวก็ย่อมถูกลงไปด้วย เปรียบเทียบกับการซื้อทีละหน่วย
แม้จะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากัน แต่เนื่องจากสินค้าขายปลีกมีมักขายในราคาแพงกว่า ทำให้เมื่อคำนวณตัวเงินภาษีที่ต้องจ่ายออกมาแล้ว การซื้อสินค้าทีละชิ้นทำให้ผู้ซื้อต้องเสียภาษีมากกว่า
อินเตอร์เน็ตเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ในยุคที่รัฐบาลเรียกว่ายุค 4.0 หากจะมีความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นใหม่ที่สุดก็คงเป็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงพื้นที่นี้
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2558 ระบุว่าครัวเรือนที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย 10% ในกลุ่มนี้มีเพียง 1% เท่านั้นที่มีอินเตอร์เน็ตบ ในขณะที่ครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุด 10% มีอินเตอร์เน็ตถึงครึ่งหนึ่
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า