Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อาจารย์จากคณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า วิธีที่ทาง กทม. ใช้จัดการฝุ่นพิษ PM2.5 ในขณะนี้ไม่สามารถช่วยลด PM2.5 ได้จริง เนื่องจากการจะลดฝุ่น PM2.5 ได้ มีเพียงฝนที่ตกหนักมากแบบไม่ลืมหูลืมตา กับการฉีดน้ำพร้อมกันทั่วกรุงเทพฯ 30,000 จุดเท่านั้น  ส่วนการฉีดน้ำล้างถนนแบบที่ กทม. ทำอยู่ลดได้เพียงฝุ่นขนาดใหญ่หรือ PM10  และการทำฝนเทียมที่ตกไม่หนักแบบเฉพาะจุด ก็มีโอกาสที่จะชะล้าง PM2.5 ลงมาได้น้อย

ช่วงบ่ายวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา มีการจัดงาน “จุฬาฯ ฝ่าวิกฤตรับมือฝุ่น PM2.5” ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในงานได้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดฝุ่นพิษ PM2.5

รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลว่า ฝนที่จะช่วยลดค่าฝุ่นพิษ PM2.5 ในอากาศลงได้นั้น จะต้องเป็นฝนที่ตกหนักมากๆ เท่านั้น จึงจะสามารถช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่นพิษ PM2.5 ในอากาศลงได้ แต่ถ้าตกไม่หนักจะไม่สามารถช่วยลด PM2.5 ในอากาศได้ เนื่องจากโอกาสที่ฝนจะสัมผัสโดน PM2.5 แล้วชะล้างลงมามีน้อย

“ถ้าฝนตก ฝนตกหนักๆเลย เหมือนเวลาคุณเอาผ้าชุบน้ำ แล้วทำความสะอาดเช็ดโต๊ะ มันก็ไปใช่ไหม ก็คือต้องตกหนักๆ เลย คือตกไม่ลืมหูลืมตา แต่ถ้าตกนิดหน่อย ก็เหมือนเราเอาน้ำกระเด็นๆ  ฉีดฟ็อกกี้” รศ.ดร.ศิริมา ระบุ

เครื่องฉีดน้ำแบบ Jet เพื่อลดฝุ่น PM2.5 ประเทศอินเดีย

ส่วนการแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำจากภาคพื้นดินนั้น อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า การฉีดน้ำแบบที่ กทม. ทำอยู่ สามารถช่วยลดได้เฉพาะฝุ่นขนาดใหญ่ หรือ PM10 เท่านั้น ไม่สามารถช่วยลดฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ได้  แต่หากต้องการพ่นน้ำแบบที่ช่วยลด PM2.5 ได้จริง จะต้องใช้ Jet ทางวิศวกรรมแบบที่ใช้ในประเทศอินเดีย ซึ่งสามารถพ่นละอองน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ ซึ่งไอน้ำนี้จะไปจับตัวฝุ่น PM2.5 และชะล้างลงมาได้

“ถ้าคุณฉีด อย่างที่อินเดียเขาทำ ก็คือต้องใช้ Jet ทางวิศวกรรมทำได้ คือฉีดพ่นละอองฝอยให้มันเล็กกว่า 2.5 นึกออกไหม ให้มันไปติดแล้วก็ตกลงมา” อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ รศ.ดร.ศิริมา ยังแนะนำเพิ่มด้วยว่า หากต้องการลดความเข้มข้น PM2.5 ให้ได้ตามมาตรฐาน จาก 60 ไมโคกรัม/ลูกบาศก์เมตร เหลือ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามมาตรฐานของประเทศไทย จะต้องใช้การฉีดพ่นน้ำพร้อมกัน 30,000 จุดทั่วกรุงเทพฯ จึงจะสามารถช่วยลด PM2.5 ลงได้

“ถ้าจะเอา PM2.5 จากความเข้มข้น 60 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ลงมาเป็น 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามมาตรฐาน จะต้องใช้ตัวฉีดน้ำแบบที่ไม่ใช่ Jet ครอบคลุมพื้นที่ กทม. 50 เขต ประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตร ต้องใช้ประมาณ 20 ตัว/ตารางกิโลเมตร คูณเข้าไปก็ประมาณ 30,000 ตัว ฉีดพร้อมกันเลยนะ 30,000 ตัว สะอาดเรียบ” รศ.ดร.ศิริมา ระบุ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า