Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนสร้างกำแพงยักษ์กั้นน้ำทะเลเพื่อป้องกันไม่ให้เมืองหลวงจมบาดาล แต่หลายคนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย กำลังจมทะเลเร็วกกว่าเมืองอื่น ๆ ในโลก จากปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน หลายพื้นที่ทรุดลงไปแล้ว 4 เมตรในช่วง 40 ปีนี้ บางจุดทรุดถึงปีละ 20 ซม. ในช่วงหลายปีมานี้ กรุงจาการ์ตาเผชิญปัญหาน้ำท่วมหนัก บางปีน้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร เกิดความหวั่นวิตกว่าหากสถานการณ์ไม่ได้รับการแก้ไข อีกไม่ช้ากรุงจาการ์ตาอาจจมทะเล รัฐบาลอินโดนีเซียเองก็มองเห็นวิกฤตินี้และพยายามหาทางจัดการ ซึ่งก็กลายเป็นที่มาของการเปิดตัวโครงการ Great Garuda หรือโครงการเพิ่มความสูงและความแข็งแกร่งให้กับทำนบกั้นน้ำบริเวณชายฝั่งอ่าวจาการ์ตารวมถึงสร้างกำแพงยักษ์เพื่อกั้นน้ำทะเลโดยกำแพงจะตั้งห่างจากชายฝั่งประมาณ 24 กิโลเมตร อภิมหาโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2557 แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อสร้างเนื่องจากยังหาข้อสรุปที่ลงตัวเรื่องการออกแบบไม่ได้

Victor Coenen จากบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมบอกว่าการยับยั้งภาวะแผ่นดินทรุดเป็นเรื่องจำเป็นก็จริงแต่เป็นงานที่ต้องใช้เวลาอาจจะ 15 หรือ 20 ปีซึ่งแปลว่าในระหว่างนี้กรุงจาการ์ตาควรหาทางป้องกันน้ำท่วม แต่ก็ต้องคิดด้วยว่าการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลทำให้ไม่มีพื้นที่สำหรับการระบายน้ำเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม “คำถามคือกำแพงกั้นน้ำทะเลควรอยู่ห่างจากชายฝั่งแค่ไหน ควรสร้างใหญ่แค่ไหน แล้วจะใช้กำแพงที่ว่านี้นานแค่ไหน”

Ahmad Marthin Hadiwinata ตัวแทนสหภาพชุมชนชาวประมงดั้งเดิมของอินโดนีเซีย แสดงความกังวลว่า “รัฐบาลกำลังบีบให้ชาวประมงจนตรอกเพราะกำแพงยักษ์จะทำให้การออกเรือทำได้ยาก แถมยังเสี่ยงว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งจะถูกไล่ที่ด้วย รัฐบาลไม่สนใจจะมาคุยกับชาวบ้าน ไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในพื้นที่” คาดว่าจะมีชาวประมงอย่างน้อย 25,000 คนได้รับผลกระทบจากโครงการนี้

สาเหตุหลักที่ทำให้กรุงจาการ์ตาเผชิญวิกฤติแผ่นดินทรุด คือการสูบน้ำบาดาลมาใช้ตามอำเภอใจเพราะไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้น้ำบาดาล Nila Ardhianied ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของอินโดนีเซียกล่าวว่า “ท่อน้ำประปาในกรุงจาการ์ตาครอบคลุมการใช้งานของผู้คนแค่หนึ่งในสาม ที่เหลือประมาณร้อยละ 65 จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องสูบน้ำบาดาลมาใช้ แต่นั่นยังไม่แย่เท่าการที่ภาคธุรกิจทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และบริษัทเอกชนรวมถึงที่ทำการของรัฐบางแห่งที่แม้จะมีระบบท่อน้ำประปา แต่กลับสูบน้ำบาดาลมาใช้กันเป็นว่าเล่นเพราะน้ำบาดาลเป็นอะไรที่ฟรีและเชื่อกันไปเองว่ามีเหลือเฟือ สูบเมื่อไหร่ก็มี ซึ่งถ้าไม่แก้ไขความคิดนี้หรือไม่มีกฎข้อบังคับ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาแผ่นดินทรุดที่ต้นเหตุได้”

อันที่จริง กรุงจาการ์ตาไม่ใช่ที่แรกที่เผชิญปัญหาแผ่นดินทรุด กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นก็เคยประสบปัญหานี้ จุน ฮะยะกะวะ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือไจก้าพูดถึงการแก้ปัญหาของกรุงโตเกียวว่า “โตเกียวเริ่มตั้งกฎข้อบังคับการใช้น้ำบาดาลช่วงทศวรรษ 1960 หลังจากนั้นประมาณ 10 ปีก็สามารถหยุดยั้งการทรุดตัวของแผ่นดินได้ ถ้าทางการกรุงจาการ์ตาสามารถห้ามการใช้น้ำบาดาลทั้งหมดได้อย่างเด็ดขาด เชื่อว่าไม่นานก็น่าจะเห็นผล”

 

ที่มา ChinaDailyAsia

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า