Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – เมื่อหาในประเทศไม่ได้ ชายจีนจึงหันไป “สั่งซื้อ” เจ้าสาวจากต่างประเทศ กระตุ้นให้เกิดปัญหาการล่อลวงและลักพาตัวหญิงสาวเพื่อป้อน “ใบสั่งซื้อ”

แม้จะมีคนเคยพูดว่า “ความรักตีค่าเป็นเงินไม่ได้” แต่อาจไม่ใช่ที่ประเทศจีน ประเทศที่กำลังประสบภาวะขาดแคลนผู้หญิงจากนโยบายลูกคนเดียวที่ทำให้มีแต่ผู้ชายเต็มประเทศ ตัวเลขของทางการจีนคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 จีนจะมีผู้ชายในวัยแต่งงานมากกว่าผู้หญิงถึง 30 ล้านคน

ที่จีนยังมีธรรมเนียมมอบสินสอดให้ครอบครัวเจ้าสาว ดูเหมือนตัวเลขสินสอดระยะหลังจะทะยานขึ้นมาก ผลการศึกษาพบว่าผู้ชายในปักกิ่งอาจต้องจ่ายค่าสินสอดถึงประมาณ 1 ล้านบาทเพิ่มจากประมาณ 5 หมื่นบาทเมื่อ 4 ปีก่อน ส่วนในต่างจังหวัดเช่นที่มณฑลอันฮุย เงินสินสอดเวลานี้อยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาทเพิ่มจากประมาณ 1 หมื่นบาทเมื่อ 4 ปีก่อน เมื่อเงินไม่พอ การมองหาเจ้าสาวจากต่างประเทศอย่างเช่นจากยุโรปตะวันออกผ่านบริษัทจัดหาคู่ก็เกิดขึ้น แต่สำหรับคนในชนบทรายได้น้อยทางเลือกที่ทำได้คือ “สั่งซื้อเจ้าสาว” จากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะจากเมียนมา กัมพูชา ลาวและเวียดนามซึ่งค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 แสนบาท ถูกกว่าการแต่งงานกับคนชาติเดียวกันหลายเท่า จึงกระตุ้นให้เกิดการค้ามนุษย์เพื่อหาหญิงสาวมาป้อน “ใบสั่งซื้อ” โดยใช้สารพัดวิธีไม่ว่าล่อลวงหรือแม้กระทั่งลักพาตัว

May Khine Oo คือหญิงเมียนมาที่เป็นหนึ่งในเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ ตอนนั้นเธออายุ 17 ปีกำลังนั่งรถไฟกลับบ้านหลังจากไปเยี่ยมยาย สามีภรรยาคู่หนึ่งเข้ามาพูดคุยชักชวนไปทำงาน แม้จะปฏิเสธข้อเสนอรายได้งามแต่เธอรับน้ำดื่มจากสองคนนั้นมาดื่ม จากนั้นเธอก็หลับไป ตื่นขึ้นมาอีกทีก็เลยสถานีที่ต้องลงไปไกลมากและด้วยความที่ไม่มีเงินติดตัวจึงต้องยอมไปทำงานตามข้อเสนอเพื่อหาเงินกลับบ้าน และนั่นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของฝันร้ายที่ยาวนานถึงเกือบ 13 ปี เธอถูกพาตัวไปจีนและถูกบังคับให้แต่งงาน 2 ครั้ง หลังจากพยายามหนีอยู่หลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับความช่วยเหลือ เวลานี้ May Khine Oo ในวัย 30 ปีได้กลับไปอยู่กับครอบครัวที่บ้านเกิดพร้อมลูกในท้องกับสามีคนที่สอง ส่วนลูกสองคนกับสามีคนแรกยังอยู่ที่ประเทศจีน “ฉันอยากแนะนำพ่อแม่ทุกคนไม่ให้ปล่อยลูกเดินทางเพียงลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่ไปด้วย และอยากใช้ประสบการณ์ของตัวเองเป็นตัวอย่างบอกเด็กผู้หญิงทุกคนว่าอย่าเชื่อใจคนแปลกหน้า”

ถึงแม้ทางการจีนจะยืนยันว่าพยายามกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์อยู่ แต่ฟิล โรเบิร์ตสัน จากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch มองว่าจำเป็นต้องมีมาตรการจัดการอย่างเป็นระบบแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ “ปัญหานี้ดูจะกำลังได้รับการกวาดล้างแต่จริง ๆ แล้วถูกกวาดไปอยู่ใต้พรมมากกว่า”

 

 

ที่มา SCMP  TheDiplomat

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า