SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 11 ธ.ค. 61 มีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับสำคัญลงในราชกิจจานุเบกษา โดยเนื้อหาคือการอนุญาตให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ หลังจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ถูกระงับไปด้วยคำสั่งและประกาศของ คสช. หลายฉบับ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปลดล็อคบางส่วนในวันนี้ แต่ทางพรรคการเมืองก็ยังไม่สามารถหาเสียงได้

โดยในคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 เรื่อง “การให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง” ฉบับที่ประกาศวันที่ 11 ธ.ค. 61 นั้น ในรายละเอียดเป็นการยกเลิกคำสั่งและประกาศของ คสช. รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ โดยการยกเลิกแต่ละฉบับ ส่งผลปลดล็อคการทำกิจกรรมทางการเมืองดังต่อไปนี้

1. ยกเลิก “คำสั่ง คสช. ที่ 10/2557” (เฉาะ 2. ในข้อ 1) ส่งผลให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งปัจจุบันสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ สามารถกลับมาทำธุรกรรมทางการเงินได้ตามปกติ หลังจากที่ถูกคำสั่งดังกล่าวนี้ห้ามทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2557

2. ยกเลิก “คำสั่ง คสช. ที่ 26/2557” การยกเลิกคำสั่งดังกล่าวนี้ทำให้ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ซึ่งถูกสั่งระงับการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันทางการเงินต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2557 สามารถกลับมาทำธุรกรรมทางการเงินได้อีกครั้ง

3. ยกเลิก “ประกาศ คสช. ฉบับที่ 39/2557” ส่งผลให้ผู้ที่เคยถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัว และต้องยอมเซ็นยินยอมเงื่อนไขการปล่อยตัว ว่าจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ อีก สามารถกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม บุคคลกลุ่มนี้หากต้องการเดินทางออกนอกประเทศ ยังคงจำเป็นต้องขออนุญาต คสช.

4. ยกเลิก “ประกาศ คสช. ฉบับที่ 40/2557” ส่งผลให้คนที่เคยถูกกักตัวด้วยกฎอัยการศึกในช่วงต้นของการรัฐประหารในปี 2557 สามารถกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อีกครั้ง แต่หากต้องการเดินทางออกนอกประเทศ ก็ยังคงต้องขออนุญาต คสช. ก่อนเช่นเดียวกัน

5. ยกเลิก “ประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557” ซึ่งข้อนี้สำคัญที่สุด เพราะเป็นการปลดล็อคให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองได้

6. ยกเลิก “คำสั่ง คสช. ที่ 80/2557” ส่งผลให้นักการเมืองทั้งสิ้น 18 คน ได้แก่ 1. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 2. วิโรจน์ เปาอินทร์ 3. ชูศักดิ์ ศิรินิล 4. วันมูหะมัดนอร์ มะทา 5. พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ 6. จตุพร พรหมพันธุ์ 7. ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 8. ธิดา โตจิราการ 9. วีระกานต์ มุกสิกพงศ์ 10. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 11. จุติ ไกรฤกษ์ 12. ศิริโชค โสภา 13. นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ 14. ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ 15. สุเทพ เทือกสุบรรณ 16. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย 17. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และ 18. สมศักดิ์ โกศัยสุช กลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างไม่ผิดกฎหมายได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากคนกลุ่มนี้ต้องการเดินทางออกนอกประเทศ ก็ยังคงต้องขออนุญาตจาก คสช. ก่อนเช่นเดิม

7. ยกเลิก “คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558” (เฉพาะข้อ 12) ส่งผลให้การชุมนุมเกิน 5 คนไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป

8. ยกเลิก “คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560” (เฉพาะข้อ 4, 5 และ 7) ส่งผลให้นับตั้งแต่นี้ไป การดำเนินการต่างๆ ของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการประชุมใหญ่พรรค การจัดตั้งสาขาพรรค การประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง กิจกรรมเหล่านี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต คสช. อีกต่อไป

9. ยกเลิก “คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561” (เฉพาะข้อ 6) โดยคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ห้ามพรรคการเมืองไม่ให้ “ติดต่อสื่อสารกับผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ภายในพรรคการเมืองและสมาชิกของพรรคการเมืองตน” ทางออนไลน์ ในลักษณะที่เป็นการหาเสียง ฉะนั้นแล้วการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ก็อาจหมายความว่าพรรคการเมืองสามารถติดต่อกับ “สมาชิกพรรค” ทางออนไลน์ ในลักษณะที่เป็นการหาเสียงได้แล้ว

อ่านคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง “การให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจการทางการเมือง” ฉบับเต็มได้ ที่นี่

หมายเหตุ : Infographic นี้ ผลิตขึ้นในวันที่ 11 ธ.ค. 2561

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า