Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ผ่านมามีข้อถกเถียงเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากมาย เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้คนไทยไม่รักษาสุขภาพเพราะหาหมอฟรี หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้คนไปโรงพยาบาลมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ฯลฯ

ซึ่งข้อถกเถียงเหล่านั้นมีทั้งเรื่องที่เป็น “ความจริง” และ “ไม่เป็นจริง”

วันนี้ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงอยากพาผู้อ่านไปสำรวจดูว่า ข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างไร

“เพราะรักษาฟรี คนเลยมาหาหมอโดยไม่จำเป็น” ความเชื่อนี้เกิดจากมุมมองต่อโรคที่แตกต่างกันระหว่างหมอและคนไข้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย พบว่าคนไข้ที่มาโรงพยาบาลเกิน 99% คิดว่าตัวเอง “จำเป็นมากถึงปานกลาง” ที่ต้องมาหาหมอ แต่เนื่องจากคนไข้ไม่สามารถประเมินอาการป่วยของตัวเองได้อย่างแม่นยำว่าป่วยหนักแค่ไหน จึงเลือกไปหาหมอไว้ก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ในมุมมองแพทย์จึงรู้สึกว่าหลายครั้งคนไข้มาหาหมอโดยไม่จำเป็น

ผลการศึกษาจากรายงานวิจัย โครงการความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์ (goo.gl/jwqMWp) ระบุว่าผู้ป่วยนอกกว่าร้อยละ 71.8 คิดว่าอาการป่วยของตนเองมีความ “จำเป็น” ต้องหาหมอมาก อีก 27.6% คิดว่าตัวเองมีความจำเป็น “พอสมควร” ที่ต้องหาหมอ มีเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้นที่คิดว่าตนเอง “ไม่จำเป็น” ต้องมาหาหมอก็ได้ ดังนั้นในมุมมองของคนไข้เกือบทั้งหมด ล้วนคิดว่าตนเองไปหาหมอเพราะจำเป็นจริงๆ

แต่ในมุมของแพทย์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการประเมินอาการป่วยมากกว่า กลับมองว่ามีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 38.9 เท่านั้น ทื่ “จำเป็น” ต้องมาหาหมอ การประเมินความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันระหว่างคนไข้และหมอเช่นนี้เอง ที่เป็นที่มาของความรู้สึกที่ว่า “เพราะรักษาฟรี คนไทยเลยมาหาหมอโดยไม่จำเป็น”

ทว่าการประเมินระดับความเจ็บป่วยของตนเองอย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป ดังนั้นเมื่อไม่สบายทางเลือกที่ดีที่สุดในความคิดคนไข้คือ ไปหาหมอ

การให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลสามารถช่วยลดจำนวนคนไข้ที่มาหาหมอได้จริง แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหา เพราะจำนวนคนไข้ที่ลดลงไม่ได้มีแค่ผู้ป่วยที่ “ไม่จำเป็น” ต้องหาหมอเท่านั้น หากยังทำให้ผู้ป่วยที่มีความ “จำเป็น” ต้องมาหาหมอลดลงด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีรายได้น้อยจะได้รับผลกระทบข้างเคียงนี้รุนแรงที่สุด

รายงานวิจัย โครงการความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์ (goo.gl/jwqMWp) ได้ศึกษาผลกระทบของ “การร่วมจ่ายแบบอัตราเดียว” พบว่าจะช่วยลดจำนวนคนไข้ที่มาหาหมอลงได้จริง โดย ณ อัตราร่วมจ่าย 200 บาท ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 จะไม่มาหาหมอ และเมื่อเจาะดูเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยสุด 20% สุดท้ายของประเทศ (รายได้เฉลี่ย 2,305 บาท/เดือน) พบว่าคนกลุ่มนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งจะไม่มาหาหมอหากต้องร่วมจ่ายในอัตราดังกล่าว

ดังนั้นการร่วมจ่ายอาจทำให้คนไข้ยากจนเข้าไม่ถึงสิทธิ์รักษาพยาบาลถ้วนหน้า ทั้งที่มีความจำเป็น

การรักษาภาวะมีบุตรยาก ผสมเทียม ผ่าตัดแปลงเพศ ทำศัลยกรรมเพื่อความงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ล้วนไม่ใช่การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน และไม่ใช่ความเจ็บป่วยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือชีวิตของคนไข้ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา บริการทางการแพทย์เหล่านี้จึงไม่รวมอยู่ในสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า

อ้างอิง ebook.dreamnolimit.com/nhso/004

ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าขยายสิทธิ์คุ้มครองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันแทบจะครอบคลุมบริการด้านสาธารณสุขเกือบทั้งหมด รวมถึงโรคเรื้อรังและโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เอชไอวี/เอดส์ มะเร็งทุกประเภท เบาหวาน ฯลฯ โดยสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ความคุ้มครองตั้งแต่ขั้นตรวจวินิจฉัยโรค รักษา ติดตามอาการ และค่ายา

นอกจากนั้นยังมีกองทุนเฉพาะโรค เช่น กองทุนไต, กองทุนเอดส์ วัณโรค และผู้ติดเชื้อ, กองทุนดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องเผชิญวิกฤติการเงินจากค่ารักษาพยาบาล

อ่านเพิ่มเติม goo.gl/QovqcG : สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า รักษาได้ทุกโรค

นอกจากสถานพยาบาลของรัฐมากกว่า 11,000 แห่งแล้ว ประชาชนยังสามารถใช้สิทธิ์รักษาฟรีในสถานพยาบาลของเอกชนอีก 530 แห่ง โดยในจำนวนนี้มีโรงพยาบาลเอกชนอยู่ 35 แห่ง ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า [1]

และสำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ เช่น หายใจเร็ว หอบรุนแรง เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ตัวเย็น เหงื่อแตก หมดสติแล้วไม่หายใจ ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย [2]

อ้างอิง
[1] goo.gl/B45KhR
[2] goo.gl/jWoBc6

ในปีงบประมาณ 2561 มีโรงพยาบาลเอกชนเพียง 35 แห่งเท่านั้น ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำและรับงบเหมาจ่ายรายหัวจาก สปสช. โดยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทยอยออกจากระบบปีละ 1-2 แห่ง ทำให้จากที่เคยมีโรงพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพ 44 แห่งในปี 2555 ปัจจุบันจึงเหลือเพียง 35 แห่ง

โรงพยาบาลเอกชนที่ออกจากระบบมองว่างบเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับจาก สปสช. ไม่คุ้มค่า

อ้างอิง goo.gl/B45KhR

ความเชื่อที่ว่า “เพราะรักษาฟรี คนไทยจึงไม่ดูแลสุขภาพ” นั้น ไม่เป็นความจริงและไม่มีหลักฐานใดๆ รองรับ มิหน้ำซ้ำงานวิจัยที่ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมจริงของคนไทยยังพบว่า หลังจากมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไทยดูแลสุขภาพดีขึ้น

งานวิจัยเรื่อง The impact of Universal Health Coverage on health care consumption and risky behaviours: evidence from Thailand พบว่าหลังจากมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คนไทยดูแลสุขภาพตัวเองดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนมีโครงการฯ โดยเห็นได้จากการที่คนไทยไปหาหมอเพื่อตรวจสุขภาพประจำปีบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง

นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยดังกล่าวยังพบด้วยว่าหลังจากมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไทยไม่ได้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพแย่ๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเบียร์ดื่มเหล้า หรือเมาแล้วขับ เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

อ้างอิง goo.gl/AcsyTn

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า