Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″ background_layout=”light” text_orientation=”left” border_style=”solid”]

  • อ่านประวัติศาสตร์ที่ขาดหายในทัศนะรอมแพงท้าวทองกีบม้า สตรีต่างชาติเพียงคนเดียวในแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกล่าวขานถึงมากที่สุด
  • เหตุใดจึงยกย่องว่าเธอคือราชินีขนมไทยและความสวยของเธอเป็นที่พึงใจพระเจ้าเสือจนทำให้ไม่ถูกประหารชีวิตจริงหรือ ?
  • จากบุพเพสันนิวาสสู่พรหมลิขิตและฉากชีวิตของคนในตระกูลฟอลคอนอยู่ในไทย พม่า หรือว่าถูกเนรเทศไปจนหมดสิ้น !

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|26px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536651678_69425_9001.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

หุ่นขี้ผึ้ง “ท้าวทองกีบม้า” ณ หมู่บ้านญี่ปุ่น จ.พระนครศรีอยุธยา

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″ background_layout=”light” text_orientation=”left” border_style=”solid”]

ละครที่โด่งดังเป็นพลุแตกจนใครๆ ต้องพูดถึงในปีนี้ ต้องยกให้บุพเพสันนิวาสที่กวาดเรตติ้งอันดับ 1 นอกจากความบันเทิง ปรากฏการณ์ออเจ้ายังได้จุดประกายให้หลายคนหันมาสนใจประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาอย่างคึกคัก

เช่นเดียวกับเรื่องราวของ มารี กีมาร์ (ตองกีมาร์) หรือท้าวทองกีบม้า หญิงแกร่งเชื้อสายโปรตุเกส – ญี่ปุ่น ที่ถูกพูดถึง โดยเฉพาะช่วงประวัติศาสตร์ที่ขาดหาย หรือกล่าวไว้ไม่ตรงกัน ซึ่งนำมาสู่ข้อกังขาในปัจจุบัน

– เธอคือลูกที่เกิดจากชู้รักของแม่ แท้จริงพ่อของเธอคือบาทหลวง ?

– เธอเป็นเจ้าของต้นตำรับขนมไทยสมัยอยุธยาที่เรารู้จัก ?

– เธอคือผู้หญิงที่สวยที่สุดจนขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) หมายตาอยากได้มาครอบครอง ?

– เธอมีชีวิตที่ตกต่ำจนต้องเร่ร่อนขอทาน ?

ไม่ว่าความเป็นจริงจะเป็นอย่างไร แต่ข้อมูลที่บันทึกไว้ตรงกันคือ มารี กีมาร์ เป็นสตรีต่างชาติเพียงคนเดียวในแผ่นดินอยุธยาที่งดงาม อยู่ในศีลธรรม ยึดมั่นในพระเจ้า มีเมตตากรุณา ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกยาก นอกจากนี้ ชีวิตของเธอยังครบรส จากสูงสุด ลงต่ำสุด และกลับขึ้นไปรุ่งโรจน์อีกครั้งในช่วงบั้นปลายของชีวิต

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536652546_34332_9010.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”43px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|21px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

มารี กีมาร์ (Marie Guimar) หรือ มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) เกิดในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2201 มีพ่อเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมกับแขกเบงกอล ชื่อ ฟานิค (Fanick) แม่ชื่อ เออร์สุลา ยามาดา (Ursula Yamada) ลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส สืบเชื้อสายจากชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยพระเอกาทศรถ

บันทึกของบาทหลวงเดอแบส (Claude de Be’ze) กล่าวว่า บรรพบุรุษฝ่ายพ่อของมารี เป็นชาวญี่ปุ่นที่แต่งงานกับชาวโปรตุเกส และได้หลบภัยทางศาสนาจากเกาะญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2135 ไปอยู่ที่เวียดนาม ก่อนจะมาปักหลักที่อยุธยา เนื่องจากโชกุนฮิเดะโยชิ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินญี่ปุ่นในขณะนั้นได้ออกคำสั่งให้จับกุมชาวญี่ปุ่นที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์

เอกสารส่วนหนึ่งระบุว่า เธอมีผิวขาวผิดไปจากผู้เป็นพ่อ จึงมีเสียงซุบซิบว่า เออร์สุลา เป็นชู้กับบาทหลวง ทอมัส วัลกัวเนรา (Thomas Vulguaneira) อย่างไรก็ตาม บาทหลวงเดอแบสกลับเชื่อว่า มารีเป็นลูกของฟานิค เนื่องจากเธอมีสีผิวออกไปทางคล้ำละม้ายคล้ายกับฟานิค ซึ่งมีเชื้อสายเป็นแขกเบงกอล

อายุเพียง 16 ปี มารีก็แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน ขุนนางชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น ออกพระฤทธิ์กำแหง และต่อมาได้ขึ้นสู่จุดสูงสุดคือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ อัครมหาเสนาบดี ทำให้ชีวิตของมารีในช่วงนี้เต็มไปด้วยความมั่งคั่ง

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536593223_22410_ok8.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”30px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|17px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

อย่างไรก็ดี หลังแต่งงานได้ 6 ปี เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ประหารพระยาวิชาเยนทร์ ส่วนเธอถูกจับขัง ริบทรัพย์ และถูกจองจำนาน 2 ปี แต่ด้วยฝีมือการทำอาหารจึงถูกเกณฑ์ไปรับผิดชอบเครื่องคาวหวานในราชสำนักสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ และกลายมาเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องต้นในพระราชวัง

และนี่เองอาจเป็นที่มาของท้าวทองกีบม้า นามบรรดาศักดิ์ของข้าราชสำนักฝ่ายใน สังกัดวิเสทกลาง ภายใต้การบังคับบัญชาของท้าวอินสุริยา ซึ่งมีหน้าที่ประกอบเครื่องเสวยหรือเครื่องต้น ทองกีบม้า เป็นนามบรรดาศักดิ์ที่ไม่ปรากฏที่มาและความหมาย จึงมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาจาก ตองกีมาร์ สตรีผู้มีพรสวรรค์ด้านอาหารเป็นที่เลื่องลือในราชสำนักอยุธยาในขณะนั้นนั่นเอง

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536594756_53771_9002.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|16px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ปกนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ท้าวทองกีบม้า” ประพันธ์โดย รศ.คึกเดช กันตามระ

รศ.คึกเดช กันตามระ อดีตคณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ประพันธ์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ท้าวทองกีบม้า” ได้เล่าถึงความสามารถของมารี กีมาร์ ว่า ในคราวที่ต้องทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศส เชอรวาเลียร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ พ.ศ. 2228 ณ บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์โปรดให้สร้างขึ้น คณะราชทูตในครั้งนั้นมีผู้ติดตามมากถึง 200 คน จินตนาการได้เลยว่างานเลี้ยงรับรองคงยิ่งใหญ่ อลังการ และต้องตระเตรียมงานไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะ มารี กีมาร์ ที่ต้องทำอาหารมากถึง 300 อย่างในวันเดียว และในคราวต้อนรับคณะราชทูตลาลูแบร์ ก็ต้องเพิ่มอาหารเป็น 500 คน คิดดูว่าการเตรียมงานเลี้ยงรับรองจะยุ่งยากเพียงใด

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”1px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536594825_55691_9003.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”5px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์ สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบเรอเนสซองส์ ผสมผสานกับศิลปะไทย ก่อด้วยอิฐสองชั้น มีชั้นใต้ดิน ด้านหลังอาคารมีเตาอบขนมปังขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นครัวที่ท้าวทองกีบม้าใช้ปรุงอาหารต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยนั้น

 

ในมุมเรื่องอาหาร รอมแพง หรือ จันทร์ยวีร์ สมปรีดา ผู้ประพันธ์ บุพเพสันนิวาส ขยายความว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ “ทองกีบม้า” เป็นหนึ่งในสามของบรรดาศักดิ์ในวิเสทกลาง มีหน้าที่ประกอบอาหารหวานทุกชนิดทุกประเภท และมีกำหนดไว้ในตราสามดวง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่แน่ชัดว่า “ทองกีบม้า” เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด แต่ที่มีชื่ออย่างเด่นชัดอยู่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และท้าวทองกีบม้าที่เรารู้จักกันอาจเป็นผู้คิดค้นหรือเจ้าของต้นตำรับ ทองหยิบ ทองหยอด และ ฝอยทอง ฯลฯ หรือไม่ก็ได้

[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536650496_49224_9007.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

รอมแพง หรือ จันทร์ยวีร์ สมปรีดา ผู้ประพันธ์ “บุพเพสันนิวาส”

 

“จริงๆ แล้วในราชสำนัก นางกำนัลมีทั้งไทยและฝรั่ง แต่ที่ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเสียงเป็นไปได้ว่า เพราะเป็นบุคคลในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อบวกกับความดังในการทำขนม ทำให้หลายคนยกให้เธอเป็น ราชินีขนมไทย เป็นผู้คิดค้นหรือเปล่าไม่รู้ แต่จริงๆ แล้วขนมพวกนี้มีมานาน เข้ามาพร้อมชาวโปรตุเกส แต่ไม่รู้ชื่ออะไร”

จากการค้นคว้าของรอมแพงยังพบว่า ขนมโปรตุเกส มีลักษณะคล้ายๆ ทองหยิบ ซึ่งปัจจุบันยังมีขาย แต่มีลักษณะแบน “เป็นทองที่ยังไม่ได้หยิบ” จึงนำมาจินตนาการในบุพเพสันนิวาส โดยให้เกศสุรางค์อยากกิน แต่เพราะขนมร้อนจึงตกลงไปในถ้วยชา ทองที่ยังไม่ได้หยิบจึงกลายเป็นทองหยิบ ซึ่งลักษณะดังกล่าวยังไปคล้ายกีบม้าอีกด้วย

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”7px|0px|0px|0px” fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536594115_72174_ok5.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เหตุใดเรื่องราวของ มารี กีมาร์ จึงถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ รอมแพงให้ความเห็นว่า เพราะเธอแต่งงานกับผู้ที่มีอำนาจ และเป็นบุคคลสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ทำให้ถูกพูดถึง ไม่ใช่บันทึกถึงอย่างตั้งใจ แต่เป็นการบันทึกเล่าเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้นในยุคสมัยนั้น

อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องที่น่าฉงนอยู่ไม่น้อย หลังสามีถูกประหาร แต่เธอและครอบครัวกลับรอด !!!

ผู้ที่คว่ำหวอดในประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ให้ความเห็นต่างกันออกไป บ้างก็ว่าเพราะเป็นผู้หญิงไม่น่ามีพิษภัย บ้างก็ว่าอย่างน้อยเธอก็สนิทสนมและรู้จักกันดีกับพระเพทราชา แต่ที่น่าสนใจและพูดถึงกันมากก็คือ เพราะความงามที่เข้าตาขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ทำให้เธอรอดพ้นโทษประหาร พร้อมข้อเสนอที่ว่า หากยอมเป็นสนมจะพ้นโทษในทันที

“เรื่องความสวยเธอคงสวยกว่าคนในสมัยนั้นอยู่แล้ว คือขาวกว่าแน่นอนเพราะเป็นลูกครึ่ง แต่ไม่น่าเกี่ยวกับการที่พระเจ้าเสือชอบจึงไม่ประหาร เพราะถ้าดูในบริบทขณะนั้นน่าจะเป็นเรื่องของศาสนา เรื่องการเมือง เพราะเธอได้รับการยกย่องในเรื่องความศรัทธาของศาสนาเป็นอย่างมาก บาทหลวงจึงอาจหนุนหลังอยู่ หรืออาจเป็นการสร้างภาพลักษณ์ว่า รัชกาลใหม่ไม่ได้โหดร้ายกับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามไม่มีใครทราบเหตุผลที่แท้จริงว่า ทำไมเธอจึงไม่ถูกประหาร !”

[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536595229_82996_9005.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

 

ช่องว่างนี้ทำให้ผู้ประพันธ์ชื่อดังสามารถหยิบจินตนาการมาเติมเต็ม “ประวัติศาสตร์” ในนวนิยาย พรหมลิขิต ที่กำลังแต่งได้เป็นอย่างดี โดยให้เกศสุรางค์เป็นคนพูดให้พระเพทราชาและพระเจ้าเสือฉุกคิดว่า ควรมีทศพิธราชธรรม เพราะเธอไม่ได้ร้ายเหมือนสามี นอกจากนี้ ยังใช้ขนมหวานในงานแต่งของเกศสุรางค์มาเชื่อม เพื่อให้พระเพทราชากับพระเจ้าเสือซึ่งอยู่ในงานได้นึกถึงความอร่อย จนรับเข้ามาทำงานในห้องเครื่อง

“พระเจ้าเสือก็เช่นกัน ตอนแรกก็จะฉุดนางมาเป็นภรรยาให้ได้ แต่สุดท้ายก็ต้องรามือไป เพราะระลึกถึงคำพูดของเกศสุรางค์ ซึ่งก็ตรงกับพงศาวดาร ที่พระเพทราชาดุพระเจ้าเสือว่า ไม่ควรฉุดทองกีมาร์มาในวังเพื่อจะเอามาเป็นเมีย ซึ่งพระเจ้าเสือเองก็ย่อมเกรงพระทัยพ่อ”

พร้อมแง้มถึงละครพรหมลิขิตว่า ได้ศึกษาข้อมูลจากประชุมพงศาวดาร จดหมายเหตุฝรั่ง พงศาวดารเรื่องเล่า กฎหมายตราสามดวง ฯลฯ เพื่อทำให้เนื้อเรื่องมีสีสัน มีความเป็นชาวบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าท้ายสระ

ในส่วนของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลังจากที่เธอถูกจับขัง ริบทรัพย์ ชีวิตท้าวทองกีบม้าก็ตกต่ำจนถึงขีดสุด ถึงขั้นต้องขอทาน แต่ในทัศนะของรอมแพงเธอกลับเห็นต่าง
“ช่วงนั้นไม่น่าจะถึงขั้นเป็นขอทาน แต่อาจเป็นเพราะเมื่อออกมาจากคุกแล้วไม่มีเงินทอง เพราะโดนยึดไปหมด จึงมีความลำบาก อีกแง่คิดคือเธอคงอยากให้บาทหลวงช่วยทวงเงินให้ จึงต้องแสดงให้เห็นว่าลำบาก อันนี้ก็คาดเดาตามความน่าจะเป็น ฟันธงไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิงอย่างชัดเจน แต่ผลก็คือในยุคพระเจ้าท้ายสระก็ได้เงินกลับคืนมา”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536595010_59792_9004.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นี่คือเงินที่ฟอลคอนลงทุนไว้กับบริษัท เฟรนซ์ คัมปานี และได้คืนในปี พ.ศ.2260 โดยเธอได้รับเงินเลี้ยงชีพ 3,000 ฟรังซ์ และยังได้รับส่วนแบ่งผลกำไรเช่นเดียวกับหุ้นส่วนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม จากบันทึกของบาทหลวงโชมองต์ที่เข้ามาอยู่เมืองไทยในปี พ.ศ.2272 รัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระ กลับมองว่า เธอทำหน้าที่ไม่พ้นการเป็นทาส แม้ในช่วงนั้นเธอจะมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้คนกว่า 2,000 คน รวมทั้งเป็นผู้ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง ตลอดจนพระภูษา และฉลองพระองค์

ในบั้นปลายชีวิตของมารี กีมาร์ แม้หลายกระแสจะบอกว่า เธออยู่เลี้ยงแม่แก่ๆ ซึ่งเสียชีวิตในปี พ.ศ.2273 และไม่ทราบแน่ชัดว่าเธอเสียชีวิตเมื่อใด ทำให้เรื่องราวของตระกูลฟอลคอนปิดฉากลง แต่ที่จริงแล้ว ลูก 2 คน คือ ยอร์ช (George Phaulkon) และโยฮัน หรือ ฮวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) เป็นผู้สืบทอดตระกูลฟอลคอนมาจนถึงรัชกาลที่ 4

“ไม่แน่ใจว่ามีลูกหนึ่งหรือสองคน แต่ในนิยายเราให้มีสองคน คือยอร์ช กับโยฮัน ที่เป็นลูกแน่นอนคือยอร์ช ซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงนาวาเอกของฝรั่งเศส แต่งงานกับลูกครึ่งด้วยกันชื่อลูอีซ่า จดหมายเหตุบางฉบับบอกว่ายอร์ชมีลูกชื่อจอห์น อยู่ในอยุธยาจนเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้วถูกต้อนไปพม่าพร้อมลูกสาว ซึ่งภายหลังได้แต่งงานกับทหารพม่า จากนั้นยอร์ชได้หนีกลับมาเมืองไทยในสมัยกรุงธนบุรี และมีหลักฐานว่าตระกูลฟอลคอนมีทายาทสืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่รู้จักกันดีคือ “แองเจลิน่า” ที่แต่งงานกับ นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (นายหันแตร) ก่อนที่จะถูกเนรเทศออกจากสยามในเวลาต่อมา เป็นไปได้ว่าเชื้อสายของฟอลคอน ปัจจุบันอยู่ในต่างประเทศกันหมด แต่ก็เป็นไปได้อีกเช่นกันว่า เมื่อยอร์ชมีลูกสาวอีกหลายคน ลูกหลานของตองกีมาร์จึงน่าจะอยู่ทั้งที่พม่าและไทย”

และนี่คือความสนุกของประวัติศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าบางส่วนจะมาโลดแล่นอยู่ในโลกของละครพรหมลิขิตที่ออเจ้าทั้งหลายตั้งตารอ…รอมแพงบอกว่าอดใจรออีกนิด !

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536650820_60216_9009.jpg” _builder_version=”3.0.63″]
[/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ custom_padding=”27px|0px|54px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

(ขอบคุณภาพจาก medium, sites.google, Wongnai, deethongoona, findgrailsjobs, ละครบุพเพสันนิวาส)

 

บทความโดย: สัญญา จันทร์เหนือ
เรียนจบศิลปากร ทำงานเป็นนักโบราณคดีช่วงสั้นๆ จากนั้นเป็นนักวิชาการสังคมศึกษา เป็นผู้สื่อข่าวพิเศษที่มติชน และเข้าสู่งานอีเวนต์ ตำแหน่ง Creative Manager เป็นตำแหน่งสุดท้าย

 

อ่านข่าวอื่นได้ที่

เว็บไซต์: workpointnews.com

เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว

ยูทูบ: workpoint news

ทวิตเตอร์: workpoint news

อินสตาแกรม: workpointnews

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า