Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็น – “ตายอย่างเดียวดาย” สิ่งสะท้อนภาพสังคมญี่ปุ่นที่ความสัมพันธ์ครอบครัวกำลังล่มสลาย

ที่ญี่ปุ่นมีคำว่า “โคะโดะกุชิ” (孤独死) ซึ่งหมายถึงผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตเพียงลำพังและเสียชีวิตในที่พักซึ่งอาจจะเป็นบ้านหรืออะพาร์ตเมนต์โดยที่ไม่มีใครรู้หรือสังเกตเห็นกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือหลายเดือน ส่วนใหญ่กว่าจะทราบก็เมื่อได้กลิ่นเหม็นเน่าหรือบางครั้งอาจถึงขั้นมีของเหลวหยดซึมลงไปที่ห้องอะพาร์ตเมนต์ชั้นล่าง

เวลานี้ญี่ปุ่นมีประชากรอายุเกิน 65 ปีประมาณ 34 ล้านคนหรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ชีวิตเพียงลำพัง เฉพาะในกรุงโตเกียว ตัวเลขผู้สูงอายุที่ “ตายอย่างเดียวดาย” เมื่อปี 2558 อยู่ที่ 3,116 คนเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อนถึงเกือบเท่าตัวและมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

มิยุ โคะจิมะ อายุ 24 ปีเป็นพนักงานหญิงเพียงคนเดียวและเป็นพนักงานที่มีอายุน้อยที่สุดของบริษัทแห่งหนึ่งที่รับทำความสะอาดบ้านหรืออะพาร์ตเมนต์ที่พบผู้เสียชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนแก่ที่เสียชีวิตอย่างเดียวดาย คนที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย หรือถูกฆาตกรรม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีคนแก่ที่ตายอย่างเดียวดาย

เธอต้องเข้าประชุมทุกเช้าเพื่อรับหมายงานและแบ่งหน้าที่กับทีมงานซึ่งชุดหนึ่งมีประมาณ 6 คนก่อนจะไปยังที่หมายเพื่อเก็บกวาดทำความสะอาดสถานที่หลังเจ้าหน้าที่ได้นำร่างผู้เสียชีวิตออกไปแล้ว สิ่งที่เธอต้องเก็บกวาดนอกจากข้าวของเครื่องใช้ที่ระเกะระกะ อาหารที่เน่าบูดแล้ว ยังอาจมีเศษผม เศษเนื้อ รวมไปถึงของเหลวที่ออกจากศพ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าพบการเสียชีวิตเมื่อไหร่ ส่วนใหญ่หลังจากเสียชีวิตประมาณ 1 หรือ 2 เดือน นานสุดที่เคยประสบมาคือ 8 เดือน บางครั้งยังพบซากสัตว์เลี้ยงที่น่าจะตายเพราะไม่มีคนให้อาหาร

นอกจากการทำความสะอาดแล้ว เธอยังต้องรวบรวมข้าวของที่คาดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ญาติอยากเก็บไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้เสียชีวิต “แต่หลายครั้งก็น่าเศร้าที่ญาติผู้เสียชีวิตไม่อยากได้ของพวกนั้น”

มิยุเล่าว่าตอนแรกที่เธอเริ่มงานนี้เมื่อ 2 ปีก่อน แฟนหนุ่มของเธอคัดค้านอย่างหนัก “เขา(แฟนหนุ่ม)ว่าฉันบ้าไปแล้ว ทั้งยังขู่ว่าฉันจะถูกผีหลอก แต่จะถูกหลอกได้ยังไงฉันไม่ได้ทำอะไรไม่ดีสักหน่อย โชคดีที่ตอนนี้เขาเข้าใจฉันแล้ว”

งานนี้เป็นเหมือนประตูที่ทำให้เธอเข้าใจความสัมพันธ์ของคน “การเสียชีวิตอย่างเดียวดายมักเกิดกับคนที่มีความสัมพันธ์กับครอบครัวย่ำแย่ พวกเขาไม่เป็นที่ต้องการของใคร ไม่มีใครให้หันหน้าไปหาได้ ฉันเห็นหลายคนไม่ได้สนใจการจากไปของคนในครอบครัวหรือแม้แต่พ่อแม่ตัวเอง บางคนไม่อยากแม้กระทั่งจะมองข้าวของของผู้เสียชีวิตที่เป็นเหมือนสิ่งย้ำเตือนความทรงจำและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน แต่จะตาโตขึ้นมาทันทีที่เห็นเงินสดหรือสิ่งมีค่าที่ผู้เสียชีวตเหลือทิ้งไว้”

สำหรับมิยุ “โคะโดะกุชิ” เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่กับผู้สูงอายุ “เรื่องนี้เกิดได้กับทุกคน สักวันคน ๆ นั้นอยากเป็นคุณหรือเป็นฉันก็ได้ โคะโดะกุชิไม่ได้เป็นแค่การตายคนเดียวแต่คือการตายอย่างเดียวดาย”

 

 

ที่มา  QZ  ALJAZEERA

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า