Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บ้านดั่งฝันบ้านที่เจ้าของบ้านฝันว่าอยากมีบ้านที่แสนอบอุ่นสักหลัง

วันนี้เราจะพาไปดูการชุบชีวิตบ้านเก่าอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี นำมารีโนเวทบนพื้นที่ดิน 37 ตารางวา ที่เปลี่ยนจากทาวน์เฮ้าส์หลังเดิม ที่มีหน้าตาเหมือนกันไปหมดให้กลายเป็นบ้านหลังใหม่ดั่งฝันของครอบครัว

เจ้าของบ้านหลังนี้เป็นคู่คุณลุงคุณป้าทำอาชีพหมอและพยาบาลพร้อมกับลูกชายหนึ่งคน มีความฝันที่อยากจะมีบ้านหลังใหม่ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างไปจากทาวน์เฮ้าท์หลังติดกัน แต่ไม่อยากย้ายที่อยู่ ไม่อยากจะซื้อบ้านใหม่ จึงตัดสินใจเลือกวิธีการรีโนเวทบ้านครั้งใหญ่ ชุบชีวิตให้บ้านกลับกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

โดยบ้านหลังนี้ออกแบบภายใต้โจทย์การใช้งานและความต้องการ 4 ข้อของเจ้าของบ้านคือ
1. ต้องการให้มีแสงธรรมชาติเข้ามาในแต่บ้าน แต่ยังสามารถสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวจากบ้านหลังอื่นได้
2. ต้องการที่เก็บของที่มากเพียงพอสำหรับคนชอบเก็บของเยอะ
3. ต้องมีครัวเล็กในทุกชั้นของบ้านเนื่องจากเป็นคนรักความสะอาด
4. เป็นมิตรกับผู้สูงอายุในอนาคต

เรามาดูกันดีกว่าว่าการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบ้านทาวน์เฮ้าส์หลังนี้จะสร้างความประทับใจให้ครอบครัวนี้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเพื่อน ๆ สามารถนำเอารายละเอียดที่น่าสนใจในการออกแบบไปปรับใช้ได้ในอนาคต

ออกแบบโดย : Cooper Studio
Photo : Cooper Studio

ถาปนิกเล่าให้เราฟังว่าครอบครัวเจ้าของบ้านมีสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 3 คน เป็นคู่คุณลุงประกอบอาชีพเป็นหมอและคุณป้าประกอบอาชีพพยาบาล มีความฝันที่จะอยากทำบ้านใหม่ ให้ไม่เหลือเค้าโครงเดิมของบ้านเก่าอยากให้บ้านมีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากทาวน์เฮ้าส์หลังข้าง ๆ ที่หน้าตาเหมือนกันอย่างกับฝาแฝด หลังจากทำความรู้จักและความต้องการของเจ้าของบ้านไปขั้นตอนต่อไปคือการสอบถามรายละเอียด พฤติกรรมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เพื่อนำไปใช้ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ !!

เริ่มจากทางเข้า

เดิมเมื่อเปิดประตูเข้ามาในบ้านสถาปนิกเล่าว่าจะพบกับห้องรับแขกที่กลายเป็นห้องเก็บของ โซฟารับแขกกลายเป็นแหล่งที่วางของครบครัน พื้นที่บริเวณแรกของบ้านกลายเป็นพื้นที่ ๆ มีการใช้งานน้อยที่สุดเพราะ

1. รกไม่น่าอยู่

2.ไม่มีความเป็นส่วนตัวที่เพียงพอจึงไม่มีการใช้งานพื้นที่บริเวณห้องนี้เลยก่อนที่จะรีโนเวท
การเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มขึ้นจากการแบ่งพื้นที่บริเวณชั้นหนึ่งให้มีจุดเปลี่ยนถ่ายของบ้านให้เป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น พื้นที่นี้จึงกลายเป็นห้องรับแขกห้องที่ 1 สำหรับแขกผู้มาเยือน บริเวณประตูหน้าต่างเดิมถูกรื้อถอนออกเปลี่ยนเป็นช่องกระจกเพื่อเพิ่มแสงสว่างเข้ามาภายในทำให้ดูสว่าง ไม่มืดอึมครึมสร้างบรรยากาศที่โปร่งโล่งกว่า

ห้องรับแขกกับห้องครัว

เมื่อตรงเข้ามาในตัวบ้านจะพบกับห้องอเนกประสงค์ห้องหนึ่งที่รวมเอาห้องรับแขกและห้องครัวเข้ามาไว้ด้วยกัน หลายคนคงจะสงสัยว่ามีห้องรับแขกบริเวณหน้าบ้านแล้วทำไมยังต้องมีในบ้านอีกนั้นเป็นเพราะ คุณป้ามีเพื่อนและแขกเยอะ การมีห้องรับแขก 2 ห้องเป็นเหมือนการแบ่งระดับความสนิทของผู้มาเยือน ถ้าสนิทขึ้นมาหน่อยก็ให้เข้าพักมาในตัวบ้าน แต่ถ้าไม่สนิทก็ให้นั่งรอบริเวณห้องรับแขกด้านหน้าก็เพียงพอ

บริเวณด้านหลังของบ้านสถาปนิกเลือกที่จะทำสวนหลังบ้านเล็ก ๆ พร้อมทั้งแอบเอาต้นไม้เข้ามาใส่ในบริเวณเพื่อเพิ่มสีสันให้กับบ้านดูมีธรรมชาติมากขึ้น

เฟอร์นิเจอร์ไม้สีน้ำตาลและพนังลายหินอ่อน

บริเวณโซนห้องครัวเดิมมีแค่เค้าท์เตอร์สีขาวโล้น ๆ แขวนอยู่ จึงทำการเปลี่ยนตู้ที่มีชั้นเก็บของมากขึ้นกว่าเดิม เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่เข้ากันได้ดีกับผนังหินอ่อนด้านหลังสร้างลูกเล่นให้ห้องครัวอีกทั้งยังทำความสะอาดง่าย
บ้านตอบโจทย์ผู้สูงอายุ สำหรับโจทย์ต้องเป็นมิตรกับผู้สูงอายุนั้น สถาปนิกเลือกใช้พื้นที่มีลักษณะนิ่มไม่แข็ง ไม่ลื่น ทำให้มีความนุ่มเท้ามากขึ้นเวลาเดิน ป้องกันอุบัติเหตุหกล้ม เหมาะสำหรับผู้สูงอายุอีกทั้งบริเวณห้องน้ำ ถูกออกแบบมาให้กว้างเพียงพอที่รถเข็นจะกลับรถได้ภายในอีกด้วย

มุมห้องนั่งเล่นบริเวณชั้น 2

สถาปนิกเล่าให้ฟังว่าเดิมห้องนั่งเล่นบริเวณชั้นสองนั้นรกมาก มีข้าวของวางกระจัดกระจายเต็มไปหมด ทั้งจาน ชาม แก้วน้ำ เพราะเจ้าของบ้านไม่อยากที่จะลงเอาไปเก็บที่ชั้นล่างจึงเลือกที่จะวางทิ้งไว้ กลายเป็นโจทย์ให้สถาปนิกต้องคิดที่จะแก้ไข

วิธีการแก้ไขคือ สถาปนิกเลือกที่จะออกแบบให้มีครัวเล็กบริเวณชั้นสอง ด้วย เพื่อที่จะสามารถทำการเก็บจานชาม แก้วน้ำ อีกทั้งยังสามารถล้างมือได้ตลอดเวลาจากนิสัยความเคยชินความสะอาดของหมอและโรงพยาบาล การมีครัวเล็กที่ห้องนั่งเล่นบริเวณชั้นสองจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของครอบครัวนี้เป็นอย่างมาก

การบ้านที่สถาปนิกมีให้กับเจ้าของบ้านคือ การแนะนำหนังสือเกี่ยวกับการจัดบ้านของ มาริเอะ คนโดะ ตามหนังเรื่องฮาวทูทิ้ง เพื่อที่จะทำให้เขาสามารถจัดระเบียบบ้าน จัดระเบียบชีวิตได้ดีมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มตู้เก้บของนาดใหญ่เข้าไปเพื่อช่วยเก็บของคุณป้าและคุณลุงที่มีของจำนวนมาก

สีที่เจ้าของบ้านต้องการนั้นมีเพียงแค่สีขาวและสีไม้ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ จึงเลือกเป็นเฟอร์นิเจอร์สีขาวให้เข้าตรงกับความต้องการของเจ้าของบ้าน
(แต่สถาปนิกแอบบอกกับเราว่าตอนสร้างออกมาหน้าตาบ้านเหมือนโรงพยาบาลขนาดย่อม ๆ เลยทีเดียว จึงแอบแต่งเติมต้นไม้ เฟอร์นิเจอร์สีอื่นเข้ามาไม่ให้ดูเป็นโรงพยาบาลมากนัก)

 

โถงบันไดเป็นอีกสิ่งที่น่าพูดถึงสำหรับบ้านหลังนี้เพราะ บ้านหลังนี้ไม่ได้อยู่เพียงแค่คุณลุงกับคุณป้าแต่มีลูกชาย ที่ถึงวัยต้องการความเป็นส่วนตัว
สถาปนิกจึงเลือกใช้วิธีการที่บันไดสามารถเดินตรงขึ้นไปยังบริเวณชั้น 3 เข้าห้องได้เลย โดยไม่ผ่านสายตาของพ่อแม่ อีกทั้งเวลามีแขกมาเยี่ยมลูกชายก็สามารถเดินตรงขึ้นไปที่ห้องรับแขกของลูกชายบริเวณชั้น 3 ได้เลยโดยที่ไม่ต้องไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของคุณลุงคุณป้าอีกหนึ่งสิ่งที่สถาปนิกเล่าให้ฟังว่า เขาเลือกเพิ่มรูปภาพ งานศิลปะ ในการตกแต่งที่โถงบันไดเพราะ อยากจะให้คุณลุงคุณป้าได้มีเรื่องของศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยสถาปนิกเชื่อว่า งานศิลปะจะทำให้ชีวิตคนเรามีรสมีชาติมากขึ้น นอกจากจะเป็นการตกแต่งแล้วยังสามารถเป็นแกลลอรี่เล็ก ๆ ให้คุณลุงคุณป้าได้ปรับเปลี่ยนรูปตามความชอบตามความต้องการได้

ระเบียงบ้านบริเวณชั้นสอง จากเดิมที่เป็นพื้นที่ ๆ ไม่ถูกใช้งาน กลายเป็นที่ทิ้งขยะบ้างที่อยู่อาศัยของนกบ้าง กลายเป็นแค่หลังคารถบ้าง
ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวเล็ก ๆ ด้วยเหตุที่ เดิมเจ้าของบ้านอยากปลูกต้นไม้ ปลูกพืชผักสวนครัวแต่ไม่มีที่จะปลูกสถาปนิกจึงเลือกใช้พื้นที่บริเวณชั้นสองของบ้านให้เป็นมุมพืชผักสวนครัว สร้างกิจกรรมยามว่างให้กับคุณลุงคุณป้าวัยเกษียณ

บริเวณโถงบันไดเดิมค่อนข้างที่จะมืด จึงเลือกใช้การเจาะช่องแสงบริเวณด้านบนของบันได ให้แสงสาดส่องลงมาที่บันไดทำให้บ้านสว่างมากขึ้น ในตอนกลางวัน

Facade พระเอกของบ้าน

สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Facade ถ้าให้อธิบายอย่างง่ายคือ เปลือกนอกอาคารใช้สำหรับตกแต่ง จากพฤติกรรมของเจ้าของบ้านที่มีการปิดม่านอยู่ตลอดเวลา ทำให้สถาปนิกสงสัยและได้คำตอบว่าเหตุที่ปิดม่านเพราะ ด้วยความที่เป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ ก็จะมีบ้านตรงข้ามที่เขาสามารถมองเห็นว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

เจ้าของบ้านไม่ต้องการแบบนั้นจึงเลือกที่จะปิดตลอดวลาแต่จริง ๆ แล้วชอบแสง
กลายเป็นโจทย์ที่ต้องคิดว่าแล้วจะทำยังไงให้แสงเข้ามาในตัวบ้านและยังมอบความเป็นส่วนตัวให้กลับบ้านได้

การแก้โจทย์ของสถาปนิกจึงเลือกใช้ Facade บริเวณด้านหน้าของตัวตึกเพื่อนเป็นฉากบังสายตาชั้นหนึ่ง สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับบ้านมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถให้แสงลอดผ่านเข้ามาภายใน เพิ่มความสว่างทำให้ครอบครัวนี้สามารถที่จะเปิดหน้าต่างรับแสงและทำกิจกรรมในบ้านได้อย่างไร้กังวล
นอกจากตัวFacade จะบังตาแล้วยังสามารถเลือกที่จะเปิดหรือปิดตามความต้องการ ณ เวลานั้น ๆ ได้อีกด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า