Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รูปที่ 1

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ที่มี พลเอกอักษรา เกิดผล เป็นหัวหน้าคณะฯ ในฐานะ party A จะได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการกับกลุ่มผู้เห็นต่าง (มาราปาตานี) หรือ Party B โดยมี นายซัมซามิน  ผู้อำนวยความสะดวกเข้าร่วมด้วย เพื่อประกาศพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) และจัดตั้งสำนักงานในการทำหน้าที่เชิงธุรการ Safe house ขึ้นในพื้นที่ จชต. ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล

ซึ่งทั้ง 2 จุด มีการนำเสนอข้อมูลออกมาแล้วโดยการเปิดเผยของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า “เจาะไอร้อง” จะเป็นอำเภอนำร่องในการกำหนดเป็นพื้นที่ปลอดภัย ส่วน Safe House นั้น ก็มีการเปิดเผยข้อมูลจากพื้นที่ว่า น่าจะจัดตั้งขึ้นที่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐไทย จำนวน 7 คน และตัวแทนปาร์ตี้ บี หรือกลุ่ม มาราปาตานี จำนวน 7 คน มาทำงานร่วมกัน ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพื่อคัดเลือก คณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่ปลอดภัย หรือ JAC จำนวน 19 คน โดยประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่จำนวน 15 คน มาจากกลุ่ม 4 เสาหลัก, กลุ่มเยาวชน และสตรี ส่วนอีก 4 คนเป็นตัวแทนจากฝ่ายรัฐ และมาราปาตานี ฝ่ายละ 2 คน จากนั้นจะเริ่มทำงานในพื้นที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ จะใช้เวลา 4 เดือน ในการจัดเตรียมพื้นที่ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ก่อนจะเริ่มประเมินผลพื้นที่ปลอดภัยเป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม “โดยตัวชี้วัดสำคัญ คือ การลดเหตุรุนแรง และระหว่างนั้นหากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น จะต้องพิสูจน์ทราบให้ได้ว่า ใครเป็นผู้ก่อเหตุ หากพิสูจน์ไม่ได้จะยกเลิกเป็น Safety Zone”

นับว่าเป็น “รูปธรรม” สำคัญในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ จชต. นับแต่เหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง หรือ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กองพลพัฒนาที่ 4  บ้านปิเหล็งใต้ ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส  เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 รวมระยะเวลากว่า 14 ปี

รูปที่ 2

บทสรุปของโต๊ะพูดคุยสันติสุข ที่เกิดขึ้นแบบเปิดหน้า น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงาน หลังจากสร้างความไว้เนื้อเชื่อในระหว่าง 2 ฝ่าย มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง แม้จะมีคำถามตามมาว่า โต๊ะเจรจา จะสามารถดับไฟใต้ ที่ลุกโชนมาหลายปีให้ค่อยดับมอดลงได้หรือไม่  หรือในที่สุดก็เป็น “ยุทธวิธี” ของโจรใต้ ในการแยกกันเดิน รวมกันตี  เพื่อเป้าหมายในการปลดปล่อยพื้นที่ จชต. ตามแนวทางของขบวนการก่อความไม่สงบ แต่ก็เป็นแนวทางของรัฐบาลไทย ที่มีความมุ่งหมายใช้หลายวิธีการในการทำให้ไฟใต้ยุติลงให้ได้

ข้อสันนิษฐานว่า องค์กรนำในการต่อสู้แต่ละยุคมีการเปลี่ยนแปลงไป ในอดีตกลุ่มพูโลมีบทบาทในการก่อเหตุ และเข้าสู่กระบวนการพูดคุยมาแล้ว ไม่ได้เพิ่งเกิดในขณะที่มี บีอาร์เอ็น-โคออร์ดิเนท มีบทบาทนำ

  • เราลองมาย้อนดูข้อมูลว่า ที่ผ่านมามีการพูดคุยสันติสุข หรือ เจรจาสันติภาพทั้งแบบที่เก็บข้อมูลได้ มากี่ครั้งแล้ว  (ยังไม่นับการประสานงานทางลับอีกหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน) !!

ตั้งแต่อดีต – ปัจจุบัน รัฐบาลไทยและกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงผู้ก่อความไม่สงบ (แล้วแต่นิยามของเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละช่วง) ที่ปัจจุบันใช้คำว่า “ผู้เห็นต่างในพื้นที่ จชต.” ได้มีความพยายามในการเจรจากันเพื่อยุติปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ จชต. ซึ่งในห้วงที่ผ่านมาปรากฏการเจรจาตั้งแต่ ปี 2534 เป็นต้นมา จำนวน 16 ครั้ง ใน 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, สวิสเซอร์แลนด์, ซีเรีย และอียิปต์

ย้อนดูตัวบุคคล และเนื้อหาข้อเรียกร้องที่มีเนื้อหาหลักๆ ไม่ต่างจากข้อเรียกร้องในครั้งที่ 1 มากนัก ก่อนที่จะเข้าสู่โหมด “สันติสุขบนโต๊ะเจรจา” ซึ่งยังไม่นับสถานการณ์ในพื้นที่ที่ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน และมีส่วนที่ “ปิดลับ” ในเงามืดอยู่อีกหลายส่วน (หมายเหตุ : ยศ และตำแหน่ง ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ขณะนั้น )

ครั้งที่ 1 เมื่อ 8 พ.ย.34  ณ โรงแรมมาวา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มี พ.ท.ชรินทร์ อมรแก้ว เป็นผู้แทนฝ่ายไทย และ ดร.อูมาร์ บิน มูฮัมหมัด สมาชิกพูโลเก่าเป็นผู้แทนฝ่ายขบวนการ ผลการเจรจา กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง มีการเสนอเงื่อนไขจำนวน 20 ข้อ คือ 1. รัฐบาลต้องให้การรับรองการจัดตั้งคณะกรรมการสูงสุดของชาวมลายูภาคใต้ของประเทศไทย อันประกอบด้วย 5 จังหวัด โดยประชาชนชาวมลายูเป็นผู้เลือก 2. รัฐบาลต้องให้อำนาจการปกครองและคณะกรรมการสูงสุดของชาวมลายูภาคใต้ของไทย เพื่อบริหารงานปกครองทั่วทั้งจังหวัดภาคใต้ตามแนวทางอิสลาม

3. คณะกรรมการสูงสุดของชาวมลายูภาคใต้ของไทย ต้องให้อยู่ภายใต้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลหรือกองทัพ นี่เป็นหลักเกณฑ์ / ธรรมนูญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ 4. ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ต้องมาจากประชาชนชาวมลายู เพื่อดูแลความปลอดภัยในภาคใต้ของไทย  5. ภาษามลายูต้องเป็นภาษาราชการอันดับสอง รองจากภาษาไทย

ให้รับรองว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติในภาคใต้ของไทย 7. ต้องจัดตั้งศาลอิสลามเพื่อพิจารณาคดีตามกฎหมายอิสลามขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ปัญหาใดที่เกี่ยวข้องกับคนมุสลิมเพื่อความเป็นธรรมต้องขึ้นศาลอิสลาม 8. การพัฒนาของภาคใต้ที่จะมีขึ้น ต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสูงสุดของชาวมลายูภาคใต้ของไทย 9. ภาษีรายได้ของประเทศที่ได้รับจากภาคใต้ของไทย ต้องกระจายรายได้เพื่อการพัฒนาในภาคใต้เป็นจำนวนร้อยละ 80

พ.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ พบกับ ตวนกูบีรอ ปกอตอนีลอ แกนนำพูโลเก่า ที่ประเทศซีเรีย

ภาษามลายู ต้องเป็นหนึ่งในหลักสูตรภาคบังคับที่ทุกโรงเรียนรัฐบาลในภาคใต้ของไทยต้องจัดให้มีการเรียนการสอน 11. การศึกษาศาสนาอิสลามต้องเป็นหลักสูตรบังคับสำหรับนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม 12. การพัฒนาสังคมภาคใต้ต้องเป็นไปตามระบบสังคมแบบอิสลาม 13. การค้าประเวณี การค้ายาเสพติดให้โทษ และการเล่นการพนันต้องขจัดให้หมดสิ้นไปในภาคใต้ของไทย 14. ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากคนมลายู และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดใน 5 จชต. ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของคณะกรรมการสูงสุดของชาวมลายูภาคใต้ของไทย 15. รัฐต้องจัดให้มีช่องโทรทัศน์และวิทยุสำหรับรายการเพื่อชาวมลายู ที่พูดภาษามลายู

พ.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ กับ ตวนกูบีรอ ปกอตอนีลอ ที่ประเทศซีเรีย

ชาวมลายู มีสิทธิที่จะจรรโลงวัฒนธรรมให้เข้มแข็งและรัฐ ต้องให้ชาวมลายูมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์มลายูและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาวมลายู 17.นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและเสรีภาพของชาวมลายูอิสลาม ในภาคใต้ของไทยทุกคนพร้อมครอบครัวต้องให้ได้รับการกลับเข้ามาอยู่ที่ภูมิลำเนาเป็นพลเมืองไทย โดยไม่มีประวัติอาชญากรรมติดตัวแต่อย่างใด 18.นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและเสรีภาพของชาวมลายูอิสลาม ในภาคใต้ของไทยทุกคนต้องให้เข้ารับราชการตามคุณวุฒิการศึกษาของแต่ละคน 19. นักต่อสู้ทุกคนที่มีฐานะเป็นนักรบหรือได้รับการฝึกด้านการทหารและเคยเป็นสมาชิกกองกำลังผู้ต่อสู้ ต้องให้ได้เป็น จนท. ด้านความมั่นคงของรัฐในภาคใต้โดยปริยาย 20. นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและเสรีภาพของชาวมลายูอิสลามในภาคใต้ของไทยทุกคนที่กลับมาอยู่ยังภูมิลำเนา ต้องได้รับการจัดสรรที่ดินให้คนละ 10 เอเคอร์ บ้านพักพร้อมเงินบำรุงขวัญ โดยเงื่อนไขทั้งหลายนี้ต้องกราบบังคมทูลเสนอต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากพระองค์เป็นลายลักษณ์อักษร

ครั้งที่ 2 ระหว่าง 9-12 เม.ย.36 ณ โรงแรมเมอรีเดียนเดอแคร์กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยมีผู้ประสานงานกับรัฐบาลอียิปต์ ผู้แทนฝ่ายไทย ประกอบด้วย พ.อ.อกนิษฐ์  หมื่นสวัสดิ์ หัวหน้าคณะฯ, พ.ท.อภิไธย สว่างภพ, พ.ท.ชรินทร์ อมรแก้ว เลขานุการ ตัวแทนฝ่ายขบวนการ ประกอบด้วย นายกาเบร์  อับดุลเราะฮ์มาน, ตวนกูบีรอ กอตอนีลอ เลขาธิการองค์การปลดปล่อยสหปัตตานีเสรี (พูโล เก่า, หัวหน้าคณะ), นายอาบูยาเซร์ ฟิกรี ฝ่ายการเมืองและต่างประเทศ, นายอารีเฟน คาน ฝ่ายเศรษฐกิจ, นายอับดุลกอเดร์ มูฮัมมัด ฝ่ายปฏิบัติการ

ตวนกูบีรอ ปกอตอนีลอ แกนนำพูโลเก่า

นอกจากนั้นยังมีการเจรจาทางลับ ระหว่างเจ้าหน้าที่กองทัพภาคที่ 4 กับสมาชิกระดับแกนนำของพูโลเก่า (ประกอบด้วย ตวนกูบีรอฯ, วาซอ จำปากอ, รุสลัน ยามูแรแน และ มะ เปอร์ลิส) ทำให้เกิดความระแวง และขัดแย้งภายในพูโล มากขึ้น

ครั้งที่ 3 ระหว่าง 12-16 เม.ย.37 ณ กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ผู้แทนฝ่ายไทย ประกอบด้วย พ.อ.อกนิษฐ์  หมื่นสวัสดิ์ หัวหน้าคณะ, พ.ท.ชรินทร์ อมรแก้ว เลขานุการตัวแทนฝ่ายขบวนการ ได้แก่ นายกาเบร์ อับดุลเราะฮ์มาน ตนกูบีรอ กอตอนีลอ, นายอาบูยาเซร์ ฟิกรี, นายอารีเฟน คาน, นายฮัมกา ยูโซ๊ะ, นายซูเบร์  ฮูเซ็น, นายอับดุลมายิด อารีเฟน

พ.อ. อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์

ครั้งที่ 4 ระหว่าง 14-15 ม.ค.45 สถานที่ ณ อาคารที่ประชุม/สัมมนา ของทางการมาเลเซีย บูกิตเปอตาลิง กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตัวแทนฝ่ายไทยประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ได้แก่ พล.อ.วิชิต  ยาทิพย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พ.อ.ปิยพันธ์  สีดอกบวบ, พ.อ.อกนิษฐ์  หมื่นสวัสดิ์ รองเสนาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนแยก2 (รอง เสธ.กอ.รมน.ภาค 4 สย.2 /พตท.43) ตัวแทนฝ่ายขบวนการคณะตัวแทนเบอซาตู 5 คน (คาดว่าเป็นชื่อพราง) ได้แก่ นายมูฮัมหมัดฟาตาห์ อับดุลฮาซิส เดินทางมาจากประเทศสวีเดน ตัวแทน “เบอซาตู” นายอาบู นิดาล เดินทางมาจากประเทศซีเรีย, นายอาลี มัสอูด (ไม่ทราบชื่อจริง)

ครั้งที่ 5 วันที่ 28 ธ.ค.48 สถานที่/ผู้ประสานงานกงสุลกิตติมศักดิ์ (ดาโต๊ะ ชาซ์ริลเอสเคย์ อับดุลละห์) ณ สถานกงสุลไทย เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ตัวแทนฝ่ายไทยมี พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล เป็นหัวหน้าคณะ  ตัวแทนฝ่ายขบวนการ ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายประชาชนในพื้นที่ จชต. ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์/ผู้ต้องสงสัยว่า เป็นสมาชิกผู้ก่อเหตุ 9 คน  เช่น นายสุไลมาน (ไม่ทราบนามสกุล)  นายรอสะลี (ไม่ทราบนามสกุล)

รูปที่ 3

ครั้งที่ 6 วันที่ 27 ม.ค.49 และ 14 ก.พ.49  มีการปกปิดทั้งตัวแทนฝ่ายไทย และฝ่ายขบวนการ ฝ่ายขบวนการยื่นข้อเสนอ อนุญาตให้ ร.ร.เอกชน ใช้ภาษามาเลย์เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้, พิจารณาพิเศษในเรื่องการศึกษา เช่น ให้โควต้าเรียนสถาบันการศึกษาชั้นสูง, การนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดทั้งในไทยและมาเลเซีย โดยมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งผู้แทนพิจารณานิรโทษกรรมอย่างเหมาะสม, การจัดตั้งศาลยุติธรรม เพื่อสอบสวนการกระทำอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำเกินกว่าเหตุและละเมิดสิทธิมนุษยชน การตั้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบการดำเนินการที่สมบูรณ์

ครั้งที่ 7 ห้วงปี 50-51 สถานที่และผู้ประสานงาน ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมี HRC (Human Rights Center) เป็นผู้ประสานงาน ตัวแทนฝ่ายไทย ประกอบด้วย นางจิราพร  บุนนาค รองเลขาธิการสมช.ขณะนั้น, นายสมเกียรติ บุญชู ผอ.กองยุทธศาสตร์ความมั่นคง สมช., นายมาร์ค  ตามไท อจารย์มหาวิทยาลัยพายัพ ตัวแทนฝ่ายขบวนการฯได้แก่ นายกัสตูรี มะห์โกตา ฝ่ายต่างประเทศ พูโลใหม่, นายอาซูดิง กลุ่ม BNPP, นายนาจิบ ไม่ทราบนามสกุล/Mujahidin, นายอาบูยาเซร์ ฟิกรี พูโลเก่า, นายอับดุลมายิด อารีเฟน พูโลเก่า, นายฮัมการ์ ยูโซ๊ะ พูโลเก่า, อุสตาซ ซอและ ไม่ทราบนามสกุล พูโลเก่า

ครั้งที่ 8 – 9 ห้วงปี 50-51 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมี HRC(Human Rights Center) เป็นผู้ประสานงาน ตัวแทนฝ่ายไทย นายสมเกียรติ บุญชู ผอ.กองยุทธศาสตร์ความมั่นคง สมช., นายมาร์ค ตามไท ตัวแทนฝ่ายขบวนการ ได้แก่ นายกัสตูรี มะห์โกตา ฝ่ายต่างประเทศพูโลใหม่, นายอาซูดิง ไม่ทราบนามสกุล BNPP, นายนาจิบ ไม่ทราบนามสกุล/Mujahidin

กัสตรี มะห์โกตา ฝ่ายต่างประเทศ พูโลใหม่

ครั้งที่ 10 ห้วงปี 50-51 ที่กรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมี HRC (Human Rights Center) เป็นผู้ประสานงาน ตัวแทนฝ่ายไทย ประกอบด้วย นายสมเกียรติ  บุญชู ผอ.กองยุทธศาสตร์ความมั่นคง สมช., นายมาร์ค  ตามไท ตัวแทนฝ่ายขบวนการ, นายกัสตูรี มะห์โกตา ฝ่ายต่างประเทศ พูโลใหม่, บาบอมิ แลกาวะ บีอาร์เอ็น –โคออร์ดิเนท

ครั้งที่ 11 ห้วงเดือน ก.พ.50 สถานที่ ณ กรุงจากาตาร์ อินโดนีเซีย ตัวแทนฝ่ายไทย ได้แก่ พล.ต.ปิยะพันธ์ สีดอกบวบ ตัวแทนฝ่ายขบวนการไม่เปิดเผยชื่อจริง

ครั้งที่ 12 ระหว่าง 21-28 มิ.ย.51  สถานที่ ณ ประเทศ เยอรมัน และ สวีเดน ผู้ประสานคือมูนิธิฟรีดริช เนามัน (Friedrich Naumann Foundation : FNF) ตัวแทนฝ่ายไทย (ที่ปรึกษา รมว.กห.) พล.อ.อุดมชัย  องคสิงห์, พล.ท.พีรพงษ์  มานะกิจ, พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร, พล.ท.ไวพจน์  ศรีนวล, พล.ต.พงศธร  ฉายกำเนิด, พล.ต.จําลอง คุณสงค์ เป็นต้น ตัวแทนฝ่ายขบวนการที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหลายกลุ่ม

ครั้งที่ 13 วันที่ 18 ก.พ.54 ไม่ระบุสถานที่ ตัวแทนฝ่ายไทย คือ นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต.ในขณะนั้น ตัวแทนฝ่ายขบวนการไม่ระบุตัวตน เป็นการพบปะไม่เป็นทางการ

ครั้งที่ 14  ระหว่าง 3 – 5 มี.ค.54 ณ เมืองจาการ์ต้า อินโดนีเซีย นาย Michael Vatikiotis ตัวแทน HDC (Humanitarian Dialogue Centre) ประจำสิงคโปร์เป็นผู้ประสานงาน ตัวแทนฝ่ายไทย มีจำนวน 5  คน นำโดยคณะของ สมช. 3 คน (นำโดย นายสมเกียรติ บุญชู / รองเลขาธิการสมช.), กองทัพบก 1 นาย (พล.ท.อกนิษฐ์  หมื่นสวัสดิ์) และจาก กระทรวงการต่างประะเทศ(กต.) 2 คน ตัวแทนฝ่ายขบวนการขบวนการเคลื่อนไหวปัตตานี นำโดย นายกัสตูรี  มะห์โกตา จากพูโล และอุสตาซ ฮารน จากบีอาร์เอ็น –โคออร์ดิเนท

ครั้งที่ 15 ระหว่าง 7-8  เม.ย.54  ตัวแทนฝ่ายไทย  ได้แก่ นายสมเกียรติ  บุญชู พล.ท.อกนิษฐ์  หมื่นสวัสดิ์ตัวแทนฝ่ายขบวนการ ได้แก่ นายกัสตูรี มะห์โกตา ฝ่ายต่างประเทศ พูโลห้าดาว, อุสตาซ ฮารน บีอาร์เอ็น – โคออดิเนท

28 ก.พ.2556 พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสมช. ในขณะนั้น ลงนามพูดคุยสันติภาพ กับ นายฮัสซัน ตอยิบ รองเลขาธิการบีอาร์เอ็น ที่โรงเรียนตำรวจสันติบาลมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในช่วงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นการเจรจาครั้งที่ 16

ครั้งที่ 16 วันที่ 28 ก.พ. 56  สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ กลุ่ม BRN (BarisanRevolusiNasionalMelayuPatani) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย โดยมีผู้เกี่ยวข้องในพิธีลงนามในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ได้แก่ ตัวแทนฝ่ายไทย ประกอบด้วย พล.อ.นิพัทธิ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหมขณะนั้น, พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช., พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย อเนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ตัวแทนฝ่ายขบวนการ ได้แก่ นายฮาซัน ตอยิบ หัวหน้าฝ่ายประสานงานต่างประเทศ, นายอาวัง ยะบะ ฝ่ายประสานงานขบวนการฯ กับ จนท.มาเลเซีย, นายอับดุลเลาะ สามามะ หน.อูลามา จว.น.ธ., นายอับดุลเราะมาน  ยะบะ หน.ฝ่ายความมั่นคงขบวนการฯ โดยมีสักขีพยาน คือ ดาโต๊ะ โมฮัมหมัด ตายุดดีน บิน อับดุลวาฮับ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาเลเซีย

โดยสาระสำคัญในข้อตกลงทั่วไป ในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพระบุว่า “รัฐบาลไทยกำหนดให้เลขาธิการทั่วไปแห่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ณ ที่นี้หมายถึง พรรค A) เป็นหัวหน้าคณะในการสนับสนุนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เรายินดีที่จะร่วมสร้างสันติภาพกับประชาชน ผู้มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างระหว่างรัฐ (ณ ที่นี้หมายถึง พรรค B) เพื่อเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนการแก้ปัญหาในพื้นที่ชายแดนใต้ภายใต้กรอบและรัฐธรรมนูญของไทย ในขณะที่มาเลเซียยินดีที่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ ซึ่งทั้งนี้มาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะถูกมอบให้กับผู้ร่วมผลักดันกระบวนการสันติภาพจนกว่ากระบวนการนี้จะเสร็จสิ้น”

ก่อนจะเข้าสู่การดำเนินการของ คณะพูดคุยสันติสุข จชต. ที่นำโดย พลเอก อักษรา เกิดผล ที่ดำเนินการมาหลายปี ในช่วงที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) ขึ้นมาบริหารประเทศนำไปสู่ที่การเตรียมประกาศพื้นที่ Safety Zone ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้.

 

 

  • หมายเหตุรูปที่ 1-3 พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมคณะเดินทางไปหารือ กับ กลุ่มมาราปัตตานี ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียหลายครั้ง ก่อนบรรลุข้อตกลงในการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) และ จัดตั้ง safe house สถานที่ประสานงานการพูดคุยสันติสุขใน จ.ปัตตานี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า