Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกรัฐมนตรี  ให้ความมั่นใจ ฐานะการเงินด้านต่างประเทศแข็งแกร่ง ปัจจุบันมีเงินสำรองระหว่างประเทศ เกือบ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ชำระหนี้ต่างประเทศเหลือร้อยละ 4 ของจีดีพี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคของประเทศว่า ที่ช่วงที่ผ่านมา เกิดปัญหาที่ส่งผลต่อค่าเงิน ราคาหุ้น และราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในหลายประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก

ช่วงแรกเกิดวิกฤติในประเทศเวเนซุเอลา จากปัญหาในประเทศ และลุกลามจนเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ในเดือนสิงหาคมสูงขึ้น 200,000 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่า จะสูงขึ้นได้ถึง 1,000,000 เปอร์เซ็นต์ในสิ้นปีนี้ ช่วงเดือนมิถุนายน ประเทศอาร์เจนติน่า ประสบปัญหาเงินทุนไหลออก และค่าเงินอ่อนลงต่อเนื่อง จนต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 60 เพื่อพยายามดึงดูดนักลงทุน ( อ่านข่าว : วิกฤติเงินเฟ้อเวเนฯ เข้าขั้นโคม่า คาดไม่เกินสิ้นปีทะลุ 1 ล้าน% )

หลายประเทศประสบปัญหา “ภาวะการขาดดุลแฝด” ด้านแรกคือ การขาดดุลการคลังของรัฐบาล เพราะรัฐบาลมีการใช้จ่ายสูงกว่ารายได้มากเกินไป ทำให้ต้องชดเชยโดยการกู้ยืมอย่างต่อเนื่อง มักเป็นผลจากความต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สูงเกินความจำเป็น ส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศปรับสูงขึ้น จึงต้องประสบปัญหาเงินเฟ้อ หรือเงินเสื่อมมูลค่าในอัตราที่สูง

อีกด้าน คือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หมายถึงการที่รายได้สุทธิจากการขายสินค้าและบริการกับต่างประเทศติดลบ เพราะมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าสูงกว่าที่ขายสินค้าส่งออก ทำให้ต้องสูญเสียงเงินสำรองระหว่างประเทศออกไป การขาดดุลแฝด นี้ได้บั่นทอนความมั่นคงด้านการคลัง ส่งผลต่อขีดความสามารถของประเทศในการรองรับความเสี่ยง และลดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้มีการนำเงินทุนออกจากประเทศเหล่านี้ และเงินตราของประเทศก็ได้อ่อนค่าลงมาในช่วงที่ผ่านมา

 

ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลประทบมากนัก เห็นได้จากค่าเงินอ่อนลงไม่มากนัก และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ปรับลดลงมากนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ประเทศไทยได้รับบทเรียนจากปี 40 ที่ทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน ธนาคารพาณิชย์ต่างตั้งอยู่บนความพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้มีความเข้มแข็งทุกภาคส่วน

ที่สำคัญในด้านต่างประเทศ เรามีปริมาณ “เงินสำรองระหว่างประเทศ” ในระดับสูง ล่าสุด ณ เดือนสิงหาคม เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ที่เกือบ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่า อยู่ในระดับที่สูงมาก เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของไทย และเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศของไทย พบว่า มีเงินสำรองระหว่างประเทศ สูงกว่าหนี้ระยะสั้น ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ในวันนี้หนี้ต่างประเทศของรัฐบาล ได้ทยอยคืนจนเหลือเพียง ร้อยละ 4 ของ GDP

เงินสำรองระหว่างประเทศ หมายถึง สินทรัพย์ทุกทุกประเภทของธนาคารกลางที่อยู่ในหลายสกุลเงิน โดยมากมักเป็นสกุล ดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึง ยูโร, ปอนด์สเตอร์ลิง และ เยน ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักประกันให้กับค่าเงินของประเทศเจ้าของทุนสำรอง

รวมทั้ง พยายามปรับโครงสร้างให้เป็นการกู้ยืมระยะยาวมากขึ้น เป็นการกู้ภายในประเทศมากขึ้น ฐานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งนี้ เป็นผลมาจากการสะสมความมั่งคั่งของประเทศ การส่งออกสินค้า และบริการที่เติบโตสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้กับไทยได้อย่างต่อเนื่อง

ภาคเอกชนและธนาคารพาณิชย์ ที่มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง รวมถึงการดำเนินนโยบายภาครัฐอย่างระมัดระวังมีวินัยทางการเงิน-การคลัง โดยจะเห็นได้ว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศ เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 41 อยู่ในกรอบที่เรากำหนดไว้ และถือว่า เป็นระดับที่ดีกว่าหลักเกณฑ์สากล ที่กำหนดว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะไม่ควรสูงเกิน ร้อยละ 60 ของขนาดเศรษฐกิจของประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า