Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

(ภาพประกอบ)

จากเหตุการณ์ หญิงสาวดื่มสุรามึนเมา จ้างวินมอเตอร์ไซต์ ให้ขับรถมาจอดกลางสะพานพระราม 8 แล้วไลฟ์สด ก่อนตกจากสะพานช็อกสังคม ! ตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ท่าทีของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ คือ “คนขับวินจยย.” ที่หญิงคนนี้จ้าง ตามที่เขาอ้างว่า ให้ช่วยไลฟ์สดในเฟซบุ๊ก ปฏิบัติตัวเหมาะสมแล้วหรือไม่

ขณะที่ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กเตือน เหตุการณ์เช่นนี้ คนถ่ายคลิป คนยืนดู ไม่ยอมเข้าไปช่วย หยุดเหตุการณ์ร้าย ปล่อยให้เค้าตาย “คุณอาจ..ผิดกฎหมายมีโทษถึงจำคุกได้”

ตามกฎหมาย มาตรา 374 ที่ระบุว่า ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • เกิดคำถามชวนคิด ถ้าเราเจอเหตุการณ์แบบ “สาวไลฟ์สดบนสะพาน พระราม 8” จะช่วยเขาได้อย่างไรบ้าง พร้อมๆ กับเสียงเตือนในฐานะพลเมืองที่ดีด้วยว่า ถ้าไม่ช่วยอาจผิดกฎหมาย

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ได้มีโอกาสสอบถามความรู้ที่ถูกต้องทางด้านสุขภาพจิตจาก นายแพทย์ ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ซึ่งคุณหมอได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้ว่า การช่วยเหลือคนที่กำลังประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวตาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ เป็นเรื่องของมนุษยธรรม ควรจะให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว เพียงแต่กฎหมาย (ม.374) เป็นตัวช่วยสนับสนุนว่า ให้ทำเพราะเป็นหน้าที่ของความเป็นพลเมือง ถ้าไม่ทำ ก็อาจจะมีความผิดตามกฎหมายได้ เป็นพื้นฐานที่ต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่ช่วยเพราะจะผิดกฎหมาย แต่เป็น มนุษยธรรม !! (ต้องช่วย ไม่ใช่ แค่ต้องช่วยเพราะกลัวผิดกฎหมาย )

(ภาพประกอบ)

ส่วนเรื่องการช่วยเหลือเมื่อเจอคนมีปัญหาสุขภาพจิต นพ.ยงยุทธ บอกว่า มีหลักปฐมพยาบาลเบื้องต้น  ให้ใช้หลัก “3 ส.” ดังนี้

  1. สอดส่องมองหา      เมื่อเห็นใครมีปัญหา เราควรความรู้สึกว่า เราช่วยเหลือเขาได้ก็ควรจะช่วย
  2. ใส่ใจรับฟัง    ส่วนใหญ่คนมีความทุกข์ อันดับแรก ต้องการมีคนรับฟัง ถ้าเราฟังว่าเขามีปัญหาอะไร อยากให้ช่วยอะไรบ้าง คนเราพอมีคนคุยด้วย มีคนฟัง ความหยั่งคิดจะมากขึ้น เพราะการที่คนเราคิดแต่อยู่ในสมองตัวเองก็จะมีแต่คิดวนเวียน อาจจะตัดสินใจทำอะไรไม่ถูก แต่พอมีคนเป็นคู่สนทนาด้วย การมองปัญหาจะเปลี่ยนไป จะมีสติมากขึ้น มีการรู้ตัวมากขึ้น การใส่ใจรับฟังเป็นเรื่องที่สำคัญ
  3. ส่งต่อเชื่อมโยง เราต้องหาทางให้คนเหล่านี้เข้าถึงบริการ ทางด้านสุขภาพจิต เช่น พาเขาไปส่งโรงพยาบาล เพราะว่า ที่รพ.จะมีแผนกฉุกเฉินที่ดำเนินงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และทางรพ.สามารถขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือ บุคลากรทางด้านสุขภาพจิตให้เข้ามาช่วยเหลือได้

“เราต้องเข้าไปให้ถึงตัวเขา พูดคุยกับเขา ไม่ให้เขาทำพฤติกรรมที่ดูสุ่มเสี่ยง เช่น ปีน” นพ.ยงยุทธ ระบุถึงวิิธีการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม ในเคสแบบสาวไลฟ์สดสะพานพระราม 8

  • แล้วถ้าเขาขอร้องให้เราช่วยไลฟ์สด เราต้องช่วยเขาไหม

“ มันไม่ได้อยู่ในหลักการ 3 ส.เนอะ! เอาเป็นว่า ประชาชนใช้หลักการ 3 ส. แล้วสำคัญที่สุด คือ ข้อ 3 ส่งต่อเชื่อมโยง เพราะเป็นตัวช่วยที่แท้จริง รีบเรียกแท็กซี่ช่วยพาเขาไป รพ.จะได้ให้หมอช่วยดู พาไปรพ.ใกล้ที่สุด ซึ่งแถวนั้นก็มีรพ.เยอะ ” นพ.ยงยุทธ

  • มีคนเคยพูดว่า คนที่อกหักไม่ได้อยากฆ่าตัวตาย แค่ประชด จริงไหม

การฆ่าตัวตาย และการพยายามฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สลับซับซ้อน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ในแต่ละบุคคลก็มีสาเหตุที่สลับซับซ้อนของแต่ละคนเอง แล้วเหตุมันมาประจวบเหมาะ ทำให้เขาตัดสินใจที่จะทำร้ายตัวเอง ไม่ใช่จากเหตุใดเหตุหนึ่ง ไม่ใช่มีปัญหาอกหักแล้วจะฆ่าตัวตาย

“ถ้าเขามีปัญหาอกหักด้วย มีปัญหาการงานด้วย มีปัญหาเรื่องดื่มสุรา ซึ่งทำให้ขาดสติในการตัดสินใจด้วย หรืออยู่ในบรรยากาศ ของการที่รู้สึกเปรียบเทียบที่ตัวเอง แบบว่า คนอื่นเขามีความสุข ฉันแย่อะไรอย่างนี้ แค่นี้ตั้ง 4 -5 อย่างแล้ว มันประจวบกันถึงทำให้คนเราตัดสินใจ ไม่มีใครฆ่าตัวตายจากเหตุๆเดียว นี่เป็นหลักทางสุขภาพจิต”

(ภาพประกอบ)

อีกอย่าง การที่เราไปพาดหัวข่าวว่า เพราะอกหักรักคุด มันไม่ดี เพราะมันทำให้พวกที่ล่อแหลมอยู่แล้ว คือ มีปัญหาหลายอย่างอยู่แล้ว และหนึ่งในปัญหาของเขาคือ อกหักรักคุด จะคิดว่า สิ่งนี้เป็นทางออกของชีวิต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะอกหักรักคุดหรอก มันมีปัญหาอื่นร่วมด้วย เพียงแต่อาจมีเรื่องนี้คนรับรู้หรือโดดเด่นขึ้นมา รวมทั้งการดื่มสุรา เพราะคนไทยจำนวนมากตัดสินใจทำลายชีวิตตัวเอง โดยมีปัจจัยสำคัญร่วมตัวอื่นๆ ขณะที่อยู่ในอาการเมามาย เพราะในขณะนั้นความสามารถในการตัดสินใจของคนเรามันลดหย่อนลงไป

  • คุณหมอฝากทิ้งท้าย ถึงคนที่กำลังมีปัญหาทุกข์ใจ หรือ คนที่อาจต้องไปประสบเหตุเช่นนี้

เราต้องพยายามช่วยกันป้องกันการดื่มสุรา ในการงานสังสรรค์ต่างๆ เพราะสุรา เป็นพื้นฐานทำให้เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย ซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน แล้วเมื่อมีปัญหา ทุกวันนี้สามารถขอคำปรึกษา ที่รพ. หรือ สายด่วนได้มาก ดังนั้นการที่มีคนช่วยเราคิดดีกว่า จมปลักอยู่กับปัญหาคนเดียว และถ้าเราเจอใครมีปัญหา ก็ช่วยเหลือโดยใช้หลัก 3ส. และสุดท้าย ต้องไม่ส่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

การส่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสม กลายเป็นทำให้บรรยากาศในโซเชียลมีเดียเป็นไปในด้านลบ กลายเป็นเราใช้เครื่องมือนี้ ในด้านของการเผยแพร่ภาพที่ไม่พึงปรารถนา เพราะฉะนั้นหลักที่สำคัญ คือ เราไม่ควรจะผลิตสื่อแบบนี้ และถ้าเราเห็นสื่อแบบนี้ก็ไม่ควรจะส่งต่อ ถ้าเห็นสื่อที่มีคนส่งมาควรตักเตือน หรือ 2 ไม่ 1 เตือน

แต่ทุกวันนี้เราอาจไม่เข้าใจหลัก 2 ไม่ 1 เตือนนี้ เราผลิตสื่อโดยไม่รู้ตัว เช่น คนที่ผลิตสื่ออันนี้ คือไปยอมถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งๆที่เขาไม่ควรจะทำ เขาควรจะทำ 3ส.ไม่ใช่ไปถ่ายภาพให้ แล้วคนที่รับสื่อนี้มาก็ยังส่งต่อให้คนอื่นอีก ซึ่งควรทำ 2 ไม่ แล้วยิ่งกว่า ถ้าใครส่งให้เรา เราควรจะเตือนไปด้วยว่าภาพพวกนี้ไม่ดี จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่ดี เกิดบรรยากาศทางสังคมที่ไม่ดี

ถ้าช่วยกันตั้งแต่ไม่ดื่มสุรา ไม่ว่าเราหรือใครมีปัญหาใช้หลัก 3 ส. และอย่าใช้สื่อโซเชียลในทางลบ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีมากๆ สำหรับอุทาหรณ์ที่เราได้รับจากเรื่องราวครั้งนี้

 

ขอบคุณภาพ FB : นายแพทย์ ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า