Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
1

 

  • งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดคิดค้นเครื่องตรวจสอบบุคคลชอบเพศเดียวกันได้ถูกต้องมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์
  • โดยสามารถแยกเกย์และผู้ชายออกจากกันได้ถูกต้องถึงร้อยละ 81 และสามารถแยกเลสเบี้ยนและผู้หญิงได้ถูกต้องถึงร้อยละ 74
  • อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

 

งานวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คิดค้น Artifical Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถตรวจสอบว่าบุคคลใดเป็นบุคคลชอบเพศเดียวกัน ผ่านการวิเคราะห์ใบหน้าจากภาพ ถูกตีพิมพ์ในวารสารด้านบุคลิกภาพจิตวิทยาและสังคม กล่าวถึงการใช้เครื่องตรวจสอบ “gaydar” ได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์

มีการเก็บข้อมูลใบหน้าผู้ชายและผู้หญิงกว่า 35,000 ภาพบนเว็บไซต์หาคู่ของสหรัฐฯ ซึ่งทีมวิจัยได้ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ลักษณะใบหน้าของแต่ละบุคคลด้วยการใช้ Deep Neural networks ซึ่งหมายถึงระบบคณิตศาสตร์เชิงซับซ้อนที่สามารถวิเคราะห์ภาพได้โดยใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่เป็นพื้นฐาน

 

2

 

ตามรายงานระบุว่า เครื่องที่เกิดจาก AI นี้ สามารถสแกนภาพและสรุปได้ว่าใครชอบเพศเดียวกันบ้างได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถแบ่งผู้ชายและเกย์ได้ถูกต้องร้อยละ 81 และแบ่งผู้หญิงและเลสเบี้ยนได้ถูกต้องร้อยละ 74  แต่ถ้าให้มนุษย์แบ่งจะสามารถแบ่งผู้ชายและเกย์ได้ถูกต้องร้อยละ 61 ขณะที่แบ่งผู้หญิงออกจากเลสเบี้ยนได้เพียงร้อยละ 54 เท่านั้น

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ตพบว่า เกย์และเลสเบี้ยนมีแนวโน้มที่มีลักษณะแตกต่างกัน รวมทั้งการแสดงออกและสไตล์ เมื่อเทียบกับผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ ข้อมูลระบุว่า ส่วนมากเกย์จะมีจมูกที่ยาวกว่า หน้าผากกว้างกว่า หรือขากรรไกร (กราม) ที่แคบกว่าผู้ชาย ส่วนเลสเบี้ยนจะมีขากรรไกร (กราม) ใหญ่กว่า และมีหน้าผากเล็กกว่า เมื่อเทียบกับผู้หญิง

ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ไปสอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศของบุคคลบุคคลหนึ่งนั้น อาจเกิดจากการได้รับฮอร์โมนหรือยีนส์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด อาจไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ก็เป็นได้ แต่ว่ายังมีข้อจำกัดในการพิจารณาบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่นๆ ได้ เช่น บุคคลข้ามเพศและไบเซ็กชวล รวมทั้งบุคคลผิวสี เพราะไม่ได้รวมอยู่ในงานวิจัยด้วย

 

3

 

ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของจริยธรรมและการละเมิดความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล และอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลกลุ่มนี้ที่อยู่ในสังคมที่ยังไม่เปิดรับ หรืออยู่ในประเทศที่มีกฎหมายลงโทษกลุ่มคนรักร่วมเพศ

มีนักวิชาการบางคนตั้งคำถามว่านี่เป็นการใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิดหรือไม่ หรือแม้แต่เราจะได้ประโยชน์อะไรจากสิ่งนี้?

 

ที่มา: theguardianCNBC

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า