Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือแพทย์หญิงไทยได้รางวัลที่ 1 ประเภทงานวิจัย วิธีใช้เลเซอร์รักษาโรคศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย

วันที่ 7 มี.ค. 61 มีรายงานว่า รศ. (พิเศษ) พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย และตัวแทนของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย รวมทั้งเป็นตัวแทนของแพทย์จากประเทศไทย เข้าร่วมส่งผลงานวิจัยในงาน “ISHRS Poster Awards 2017” (International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS) หรือสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ

โดยส่งบทความพิเศษ เพื่อการนำเสนองานวิจัย (ประเภทโปสเตอร์) ในหัวข้อวิจัย “Proteomic Analysis in Dermal Papilla from Male Androgenetic Alopecia After Treatment with Low Level Laser Therapy” ซึ่ง สมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ เป็นสมาคมด้านการแพทย์ระหว่างประเทศแห่งแรก ในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการศึกษาสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดฟื้นฟูเส้นผม โดยจะมีการจัดงานประชุมทางวิชาการขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการปลูกผม ให้เกิดประโยชน์กับคนไข้สูงสุด

และในปีนี้ แพทย์ไทยสามารถคว้ารางวัลที่ 1 ในประเภทงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของโปสเตอร์ ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย ในการยืนยันประสิทธิภาพของกระบวนการยิงด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เพื่อขจัดปัญหาโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม

รศ. (พิเศษ) พญ.รัชต์ธร กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิธีในการรักษาโรคผมบางศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia, AGA) ซึ่งปกติแพทย์จะใช้ 2 วิธีในการรักษา คือ การให้ยากิน หรือยาทา แต่วิธีใหม่ล่าสุดที่ได้นำเข้ามาใช้คือ Low Level Laser Therapy (LLLT) หรือการใช้เลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำในการกระตุ้นให้หนังศีรษะสร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีการเริ่มใช้มานานแล้ว แต่ในต่างประเทศเพิ่งจะได้ตีพิมพ์งานวิจัยถึงประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างเส้นผมออกมาในปี 2017 นี้เอง

แต่สำหรับประเทศไทย และแถบเอเชียเองยังไม่มีงานวิจัยออกมา ซึ่งด้วยสีผมของคนเอเชียที่ต่างออกไปจากงานวิจัยตัวดังกล่าว งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ชายไทยที่เป็นโรคผมบางศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรมมาเพื่อศึกษาว่าการให้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำนั้นมีผลต่อส่วนใดของผมในระดับโมเลกุล โดยการตัดรากผมไปตรวจก่อนเริ่มการรักษา หลังจากนั้นก็จะให้คนไข้เริ่มทำการรักษาและตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจสอบว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าการใช้เลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำในการกระตุ้นให้หนังศีรษะสร้างเส้นผมนั้นให้ผลดีที่ 24 สัปดาห์ โดยความสำเร็จครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการศึกษาในประเทศไทย

“นอกจากงานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถยืนยันประสิทธิภาพในการรักษาด้วยเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำแล้ว ยังมีงานวิจัยต่อยอดนำเอาเซลล์เส้นผมมาเพาะเลี้ยงต่อ เพื่อศึกษาว่าแสงดังกล่าวมีผลต่อเซลล์ที่เพาะเลี้ยงหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการทดลองลึกลงไปถึงระดับโมเลกุลต่อไป” รศ. (พิเศษ) พญ.รัชต์ธร กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า