SHARE

คัดลอกแล้ว

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เปิดเผยในการแถลงข่าวประจำวันของกระทรวงสาธารณสุข ถึงมาตรการดำเนินกิจการธุรกิจประเภทต่างๆ ในช่วงที่เริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ ของธุรกิจ 12 กิจการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้งหลังจากที่พบผู้ติดเชื้อลดลงแล้ว ดังนี้

1. ตลาดสด ตลาดนัด แผงลอย

ก่อนลูกค้าเข้าตลาด
– กำหนดตำแหน่งในการวางร้านหรือแผง เพื่อลดความแออัดและโอกาสในการติดเชื้อ
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือ แอลกอฮอล์  ให้บริการ หน้าทางเข้าตลาดหรือร้านค้า
– ในสถานที่ปิด ต้องมีอากาศ อาจเปิดประตูให้มีการระบายหรือหาหมุนเวียนพัดลม ระบายอากาศอย่างน้อย 1 – 2 ตัว
– และเพื่อความรวดเร็วในการเลือกชื้อสินค้า ควรจำกัดเวลาลูกค้าในแต่ละรอบ
ระหว่างอยู่ในร้าน
– พนักงานทุกคนสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดเวลาที่ให้บริการ
– ให้ลูกค้าเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรในการรอคิว กำหนด จำนวนคนให้ไม่แน่นเกินไป
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการบนโต๊ะอาหาร
– ให้ความรู้เรื่องการกินร้อนและใช้ช้อนกลาง (ช้อนฉัน) ในร้าน
ระหว่างการซื้อ-ขาย
– 
มีจุดบริการเจลล้างมือก่อนให้ ลูกค้าหยิบจับเลือกสินค้า หรือ หน้าร้านค้ามีจุดบริการถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งก่อนหยิบจับ ของสด เช่น ผักผลไม้
– ลดการให้ลูกค้าหยิบจับสินค้า ใช้การพูด สั่งแล้วพ่อค้าแม่ค้าหยิบสินค้าให้
– มีแผงหรือพลาสติกกั้นระหว่างลูกค้ากับ สินค้าเพื่อป้องกันน้ำลายหรือสารคัด หลั่งอื่น ๆ ตกลงไปในอาหาร
ระหว่างการคิดเงิน
– ใช้บริการจ่ายเงินผ่าน QR code หรือ Internet Banking
– ไม่สัมผัสเงินโดยตรง ใช้ตะกร้าหรือถุง เป็นวิธีในการรับ-ทอนเงิน และต้องทำความสะอาดตะกร้าทุกครั้งหลังใช้
– ทำความสะอาดเงินหลังจากเลิกขาย เช่น ฉีดแอลกอฮอล์ ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสเงิน
หลังลูกค้าออกจากตลาด
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการบริเวณทางออกหรือที่ชำระเงิน
– หมั่นทำความสะอาดร้านหรือโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ ทุกชั่วโมงที่มีคนหมุนเวียนเข้า-ออก

2. ร้านตามสั่ง ร้านกาแฟ ที่อยู่นอกห้างสรรพสินค้า

ก่อนลูกค้าเข้าร้าน
– เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรในการรอคิว
– กำหนดจำนวนคนให้ไม่แน่นเกิน อาจจำกัดเวลารับลูกค้าเป็นรอบๆ
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ให้บริการ หน้าทางเข้าร้าน
– ในสถานที่ปิด ต้องมีอากาศ อาจเปิดประตู
– ให้มีการระบายหรือหาหมุนเวียนพัดลม ระบายอากาศอย่างน้อย 1 – 2 ตัว
– อนุญาตเฉพาะลูกค้าที่มีหน้ากาก อนามัยหรือหน้ากากผ้าเข้าร้าน
– คัดกรองผู้ใช้บริการ โดยสอบถาม อาการ หรือวัดอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน
ระหว่างอยู่ในร้าน
– พนักงานทุกคนสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือ ตลอดเวลาที่ให้บริการ
– จัดที่นั่งให้ห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตรหรือมีฉากกั้นระหว่างโต๊ะ
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการบนโต๊ะอาหาร
– ให้ความรู้เรื่องการกินร้อนและใช้ช้อนกลาง (ช้อนฉัน) ในร้าน
ระหว่างการปรุงอาหาร
– แยกช้อนชิมและไม่ใช้ตักอาหารโดยตรง ควรมีช้อนกลางไว้ตัก แยกอาหารมาใส่ช้อนชิมก่อน หรือใช้ช้อนชิมแบบใช้แล้วทิ้ง
– สวมถุงมือเฉพาะเวลาต้องจับวัตถุดิบและในการปรุงอาหารเท่านั้น หากต้องทำกิจกรรมอย่างอื่นต้องถอดถุงมือออก และเปลี่ยนถุงมือใหม่เมื่อกลับมาในขั้นตอนการปรุงอีกครั้ง
ระหว่างการคิดเงิน
– ใช้บริการจ่ายเงินผ่าน QR code หรือ Internet Banking
– ทำความสะอาดเงินหลังจากเลิกขาย เช่น ฉีดแอลกอฮอล์
– ไม่สัมผัสเงินโดยตรง ใช้ตะกร้าหรือถาดเป็นวิธีในการรับ-ทอนเงิน และต้องทำความสะอาดตะกร้าทุกครั้งล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสเงิน
หลังลูกค้าออกจากร้าน
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการบริเวณทางออกหรือที่ชำระเงิน
– หมั่นทำความสะอาดร้านหรือโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ ทุกชั่วโมงที่มีคนหมุนเวียนเข้าออกร้าน

3. ร้านค้าปลีก

ก่อนลูกค้าเข้าร้าน
– ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรในจุดให้บริการต่างๆ เช่น แคชเชียร์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ให้บริการ ก่อนเข้าร้าน หรือ จับสินค้าในร้าน
– อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เข้าใช้บริการเท่านั้น
– จำกัดจำนวนลูกค้าในแต่ละชั่วโมง ซึ่งอาจทำได้จากการให้ผู้ใช้บริการนัดหมายไว้ล่วงหน้าหรือรับบัตรคิว
– ทำความสะอาดร้านหรือจุดสัมผัสต่างๆ ด้วยแอลกอฮอล์ก่อนเปิดร้าน
ระหว่างอยู่ในร้าน
– พนักงานทุกคนสวมหน้ากากอนามัย และถุงมือตลอดเวลาที่ให้บริการ
– ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการเว้นระยะ อย่างน้อย 1 เมตร ตลอดเวลา
– ในห้องปิด ต้องมีอากาศ อาจเปิดประตูให้มีการระบาย หรือหาหมุนเวียนพัดลมระบายอากาศอย่างน้อย 1-2 ตัว
– หน้าร้านค้ามีจุดบริการถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งก่อนหยิบจับสินค้าของสด เช่น ผักผลไม้
ระหว่างการคิดเงิน
– ใช้บริการจ่ายเงินผ่าน QR code หรือ Internet Banking
– ทำความสะอาดเงินหลังจากเลิกขาย เช่น ฉีดแอลกอฮอล์
– ไม่สัมผัสเงินโดยตรง ใช้ตะกร้าหรือถาดเป็นวิธีในการรับ-ทอนเงิน และต้องทำความสะอาดตะกร้าทุกครั้งล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสเงิน
หลังลูกค้าออกจากร้าน
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการบริเวณทางออกหรือที่ชำระเงิน
– หมั่นทำความสะอาดร้านหรือโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ ทุกชั่วโมงที่มีคนหมุนเวียนเข้าออกร้าน

4. ผู้จัดกิจกรรมในสวนสาธารณะ เช่น โยคะ ไทเก๊ก

ก่อนเริ่มกิจกรรม
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือ
– แอลกอฮอล์ (70%) ให้บริการ ที่จุดลงทะเบียนหรือจุดรวมตัว
– อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า เข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น
– ทำความสะอาดพื้นที่กิจกรรมโดยรอบ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และจุดที่มีการใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด
– กำหนดพื้นที่ในการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วมทุกคนให้ชัดเจน โดยให้พื้นที่ของแต่ละคนมีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
– คัดกรองผู้เข้าร่วมทุกคน โดยสอบถาม อาการ หรือวัดอุณหภูมิก่อนเริ่มกิจกรรม
ระหว่างทำกิจกรรม
– งดการสนทนาที่ไม่จำเป็นเพื่อลดการกระจายเชื้อ
– ลดการสัมผัสส่วนต่าง ๆ ระหว่างผู้เข้าร่วมหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง
– ผู้เข้าร่วมต้องปฎิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองเท่านั้น
หลังจบกิจกรรม
– ทำความสะอาดพื้นที่กิจกรรมโดยรอบ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และจุดที่มีการใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด
– หลังจากจัดการทุกอย่างเสร็จสิ้น แล้ว ชำระล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
– เก็บขยะมูลฝอยในพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่โดยรอบด้วยถุงมือยาง หรือใช้ปากคีบด้ามยาว ใส่ถุงขยะปิดให้มิดชิด แล้วรวบรวมที่จุดทิ้ง

5. ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย

ก่อนลูกค้าเข้าร้าน
– จำกัดจำนวนคนในร้าน ไม่ให้มีการนั่งรอ แต่อาจจะเป็นการโทรนัด
– ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในร้าน
– แบบที่ใช้แล้วทิ้งไม่ได้ ควรมีการทำความสะอาดเมื่อมีลูกค้าใหม่ทุกครั้ง
– อาจะมีช่วงเวลาเปิด-ปิดระหว่างวันเพื่อทำความสะอาด
– ให้บริการเฉพาะการตัด สระ ไดร์และใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ระหว่างช่างตัด
– พนักงานทุกคนต้องสวมหน้ากาก และ Face Shield ตลอดเวลา
– จัดที่นั่งและที่นอนสระ ให้ห่างกันอย่างน้อย 1.5 เมตร
– พนักงานต้องล้างมือทุกครั้งหลังให้บริการลูกค้าแต่ละราย
– งดการพูดคุยและสนทนา ระหว่างให้บริการ
– ในห้องปิด ต้องมีอากาศ อาจเปิดประตู ให้มีการระบายหรือหาหมุนเวียนพัดลมระบายอากาศอย่างน้อย 1 – 2 ตัว
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการในบริเวณร้าน
หลังลูกค้าออกจากร้าน
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ให้บริการบริเวณทางออกหรือที่ชำระเงิน
– หมั่นทำความสะอาดร้านหรือโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ ทุกชั่วโมงที่มีคนหมุนเวียนเข้าออกร้าน
– ใช้บริการจ่ายเงินผ่าน QR code หรือ Internet Banking

6. บริการตัดขน รับฝากสัตว์เลี้ยง

ก่อนลูกค้าเข้าร้าน
– ลูกค้าที่จะเข้าใช้บริการต้องทำการนัดหมาย ล่วงหน้าเท่านั้น เพื่อจำกัดจำนวนลูกค้า
– ทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยงในร้าน แบบที่ใช้แล้วทิ้งไม่ได้ ควรมีการทำความสะอาดทุกครั้งหลังให้บริการเสร็จ
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ให้บริการ หน้าทางเข้าร้านหรือเคาน์เตอร์
– อนุญาตให้ลูกค้าที่มีหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเข้าร้านเท่านั้น
– คัดกรองผู้ใช้บริการ โดยสอบถามอาการ หรือวัดอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน
ระหว่างให้บริการ
– พนักงานทุกคนต้องสวมหน้ากาก ถุงมือและ Face Shield ตลอดการให้บริการ
– ลูกค้าที่นั่งรอและพนักงาน ต้องเว้นระยะให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
– งดการพูดคุยและสนทนาที่ไม่จำเป็นระหว่างพนักงานกับลูกค้า
– ในห้องปิด ต้องมีอากาศ อาจเปิดประตูให้มีการระบายหรือหาหมุนเวียนพัดลม ระบายอากาศอย่างน้อย 1 – 2 ตัว
หลังลูกค้าออกจากร้าน
– หมั่นทำความสะอาดร้านหรือโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ทุกชั่วโมงที่มีคนหมุนเวียนเข้าออกร้าน
– ใช้บริการจ่ายเงิน Internet Banking หากจำเป็นต้องรับเงินสด ควรมีอุปกรณ์รับเงิน เช่น ถาดในการรับทอนเงิน
– ล้างมือและทำความสะอาดมือและจุดสัมผัสด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ หลังให้บริการทุกครั้ง

7. สนามกอล์ฟ

ก่อนลูกค้าออกรอบ
– อนุญาตเฉพาะผู้ที่มีหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าออกรอบเท่านั้น
– คัดกรองผู้ใช้บริการ โดยสอบถามอาการ หรือวัดอุณหภูมิก่อนออกรอบ (กรณีชาวต่างชาติ อนุญาตเฉพาะผู้ที่พำนักในประเทศมากกว่า 14 วัน)
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์ให้บริการ บริเวญจุดทางเข้าต่างๆ
– จองเวลาออกรอบอย่างน้อย 7 วันล่วงหน้า และจำกัดผู้ใช้บริการ โดยเว้นช่วงระยะการออกรอบ 15 นาที
– ทำความสะอาดห้องน้ำหรือจุดสัมผัสต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ทุกชั่วโมง
ระหว่างออกรอบ
– ทุกคนในสนามเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร
– งดการรวมกลุ่มของนักกอล์ฟ พนักงานและแคดดี้
– พนักงานบริการทุกคนสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดเวลาการออกรอบ
– นักกอล์ฟต้องเป็นผู้ขับรถเอง หยิบจับอุปกรณ์กอล์ฟด้วยตนเองเท่านั้น ในกรณีจำเป็น แคดดี้สามารถหยิบบริเวณหัวไม้กอล์ฟส่งให้นักกอล์ฟได้
– งดการสนทนาที่ไม่จำเป็น เพื่อลดการกระจายเชื้อ
– แคดดี้ทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ บน รถกอล์ฟโดยใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนใช้
หลังออกรอบ
– ใช้บริการจ่ายเงินผ่าน QR code หรือ Internet Banking
– พนักงานและนักกอล์ฟต้องทำความสะอาดร่างกายตนเองก่อนออกจากสนาม
– ทำความสะอาดบริเวณต่างๆ ที่นักกอล์ฟใช้ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือแอลกอฮอล์

8. สนามกีฬากลางแจ้ง เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู

ก่อนเริ่มใช้สนาม
– มีที่ให้ล้างมือ หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์ให้บริการ
– ที่จุดลงทะเบียนหรือหน้าทางเข้าอนุญาตให้เฉพาะคนที่มีหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น
– ทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องเล่นออกกำลังกาย ทุกครั้งก่อนใช้งาน
– คัดกรองผู้เข้าร่วมทุกคน โดยสอบถามอาการ หรือวัดอุณหภูมิก่อนเริ่มกิจกรรม
– จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละชั่วโมง อาจทำได้โดยการให้นัดหมายล่วงหน้า 2 – 3 วันก่อนใช้งานสนาม
ระหว่างเข้าใช้สนาม
– งดการสนทนาที่ไม่จำเป็นเพื่อลดการกระจายเชื้อ
– ลดการสัมผัสส่วนต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้บริการหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง
– เจ้าหน้าที่ต้องใส่หน้ากากอนามัยและ ถุงมือตลอดเวลาที่ให้บริการในสนาม
– ทุกคนในสนามเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร งดการรวมกลุ่มของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
หลังใช้สนามเสร็จ
– เก็บขยะมูลฝอยในพื้นที่สนามและพื้นที่ โดยรอบด้วยถุงมือยางหรือใช้ปากคีบด้ามยาว ใส่ถุงขยะปิดให้มิดชิด แล้วรวบรวมที่จุดทิ้งขยะ
– ใช้บริการจ่ายเงิน Internet Banking หากจำเป็นต้องรับเงินสด ควรมีอุปกรณ์รับเงิน เช่น ถาดในการรับทอนเงิน
– หลังจากจัดการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ชำระล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
– ทำความสะอาดห้องน้ำ พื้นที่กิจกรรมโดยรอบหรือจุดสัมผัสต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ทุกชั่วโมง

9. โดยสารสาธารณะ เช่น เรือ รถเมล์

ผู้โดยสารที่ต้องพึ่งพาการเดินทางสาธารณะ เช่น รถเมล์ เรือ เครื่องบิน กับพนักงานบริการที่ต้องทำงานและเสี่ยงที่จะติดเชื้อ

ระหว่างรอเดินทาง (สำหรับผู้โดยสาร)
– สวมหน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้าก่อนขึ้นยานพาหนะ
– พกอุปกรณ์ฆ่าเชื้อไว้ใช้ระหว่างเดินทางหรืออุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
– ระหว่างรอ ให้เว้นระยะห่างกับผู้โดยสารท่านอื่นๆ อย่างน้อย 1 เมตร
– งดการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ณ จุดรับบริการ
ระหว่างเดินทาง (สำหรับผู้โดยสาร)
– งดการพูดคุยกันเองและผ่านโทรศัพท์ระหว่างโดยสารบนยานพาหนะ
– นั่งหรือยืนในจุดที่กำหนดไว้ ไม่ใกล้ชิดกับผู้โดยสารคนอื่นๆ
– ลดการสัมผัสส่วนต่างๆ ของยานพาหนะขณะโดยสาร
– ใช้บริการจ่ายเงิน Internet Banking หากจำเป็นต้องรับเงินสด ควรมีอุปกรณ์ รับเงิน เช่น ถาดในการรับทอนเงิน
หลังจากถึงที่หมาย (สำหรับผู้โดยสาร)
– ล้างมือหลังจากลงจากยานพาหนะและเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อก่อนทำกิจกรรมอื่นๆ

ก่อนรับผู้โดยสาร (สำหรับพนักงานบริการ)
– ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างสำหรับผู้โดยสารที่จุดรับบริการและบนยานพาหนะให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
– วัดอุณหภูมิพนักงานและผู้โดยสาร ก่อนขึ้นยานพาหนะ โดยต้องมีอุณหภูมิไม่เกิน 37.5 จึงจะใช้บริการได้
– อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีหน้ากาก อนามัยหรือหน้ากากผ้า เข้าใช้บริการเท่านั้น
– จำกัดจำนวนผู้โดยสารบนยานพาหนะ เพื่อลดความแออัด
– ทำความสะอาดตนเอง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและจุดสัมผัสบนยานพาหนะด้วยแอลกอฮอล์ 70% ก่อนให้บริการ
ระหว่างส่งผู้โดยสาร (สำหรับพนักงานบริการ)
– พนักงานทุกคนสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดเวลาที่ให้บริการ
– มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ให้บริการแก่ผู้โดยสารบนยานพาหนะ
– ใช้บริการจ่ายเงินผ่าน QR Code กรณีต้องรับเงินสด ควรมีอุปกรณ์รับเงินเช่น ถาด ในการรับทอนเงิน
– ลดการสัมผัสกับผู้โดยสารโดยตรง รวมถึงจุดสัมผัสต่างๆ ของยานพาหนะ ขณะให้บริการ
หลังส่งผู้โดยสาร (สำหรับพนักงานบริการ)
– ทำความสะอาดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงจุดที่ผู้โดยสารใช้บริการทุกครั้ง ก่อนให้บริการในรอบถัดไป

10. แท็กซี่

ก่อนเรียกและขึ้นรถ (สำหรับผู้โดยสาร)
– สวมหน้ากากอนามัย
– พกอุปกรณ์ฆ่าเชื้อไว้ใช้ระหว่างเดินทางหรืออุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
– วางแผนการใช้บริการให้ไม่ขึ้นไปแออัดบนรถ ควรโดยสารครั้งละไม่เกิน 3 คน เพื่อลดความเสี่ยง
ระหว่างเดินทาง (สำหรับผู้โดยสาร)
– งดการสนทนาที่ไม่จำเป็น เพื่อลดการกระจายเชื้อ
– ลดการสัมผัสส่วนต่างๆ ของรถขณะโดยสารหากมีการสัมผัส ให้ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทันที
หลังลงจากรถ (สำหรับผู้โดยสาร)
– ล้างมือหลังจากลงจากรถและเช็ด แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อบริเวณจุดที่มีการสัมผัสบนยานพาหนะ
– จ่ายค่าโดยสารโดยใช้บริการ Internet Banking หลีกเลี่ยงการ สัมผัสเงินสด

ก่อนรับผู้โดยสาร (สำหรับคนขับแท็กซี่)
– ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่าง สำหรับผู้โดยสารที่ต่อคิวรอขึ้นรถแท็กซี่
– กำหนดจำนวนผู้โดยสารที่สามารถนั่งได้ใน 1 คัน ไม่ควรมีคนนั่งเกิน 3 คน (ไม่รวมคนขับ)
– มีบริการเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ  บนรถให้บริการลูกค้า
ระหว่างส่งผู้โดยสาร (สำหรับคนขับแท็กซี่์)
– งดการพูดคุยและสนทนาที่ไม่จำเป็น ระหว่างมีผู้โดยสารบนรถ
– เปิดเครื่องปรับอากาศและแง้ม หน้าต่างเล็กน้อยตลอดทางเพื่อให้ อากาศถ่ายเท
– ทำพลาสติกหรือฉากกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร แยกโซนให้ชัดเจน
หลังส่งผู้โดยสาร (สำหรับคนขับแท็กซี่)
– ใช้บริการจ่ายเงิน Internet Banking หากจำเป็นต้องรับเงินสด พี่แท็กซี่ควรมีอุปกรณ์รับเงิน เช่น กระปุกหรือตะกร้า ในการรับทอนเงิน
– ล้างมือและทำความสะอาดรถ ที่จับประตูด้วยแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่มีโอกาสจอดพักรถ
– หากสามารถตั้งประตูรถให้เปิด-ปิดอัตโนมัติได้จะช่วยลดการสัมผัส

11. วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

(สำหรับผู้โดยสาร)
– ยืนต่อคิวเว้นระยะห่างจากคนข้าง หน้า 1 เมตร
– สวมหน้ากากอนามัย
– เตรียมหมวกกันน็อคส่วนตัว หรือหมวกคลุมผมพลาสติกเพื่อหลีกเลี่ยงหมวกที่ใช้ร่วมกัน
– พกอุปกรณ์ฆ่าเชื้อไว้ใช้ระหว่างเดินทางหรืออุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
– ใส่อุปกรณ์ป้องกัน ตลอดเวลาขณะเดินทาง

– งดการสนทนาที่ไม่จำเป็น เพื่อลดการกระจายเชื้อ
– ลดการสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของวินขณะโดยสาร หากมีการสัมผัสยานพาหนะ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสบนใบหน้าโดยเด็ดขาด
– ล้างมือหลังจากลงจากรถและเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อบริเวณจุดที่มีการสัมผัสบนยานพาหนะ
– จ่ายค่าโดยสารโดยใช้บริการ Internet Banking หลีกเลี่ยงการสัมผัสเงินสด

(สำหรับวินมอเตอร์ไซค์)
– พกอุปกรณ์ฆ่าเชื้อไว้ใช้ระหว่างเดินทางหรืออุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
– ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่าง สำหรับผู้โดยสารที่ต่อคิวรอขึ้นรถมอเตอร์ไซค์
– เช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ที่เบาะนั่ง ราวจับและหมวกกันน็อคก่อนให้บริการทุกครั้ง
– สวมหน้ากากอนามัย และสวมหมวกกันน็อคก่อนให้บริการ
– บริการแจกถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งหรือที่สามารถนำกลับไปทำความสะอาดเวลาต้องหยิบจับสิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่นหรือไม่มั่นใจในความสะอาด

 

12. รถไฟฟ้า

ก่อนขึ้นรถไฟฟ้า
– มีจุดทำความสะอาดและคัดกรอง เช่น มีจอวัดอุณหภูมิผู้ที่มีไข้ มีที่กดแอลกอฮอล์ หรืออุโมงค์ฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐาน
– ผู้โดยสารทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ไม่ใส่ห้ามขึ้น
– ส่งเสริมการใช้บัตรส่วนตัว หรือ App บนมือถือ แทนตั๋ว ยกเลิกการกดซื้อบัตรโดยสารจากตู้อัตโนมัติ หรือมีพนักงานยืนประจำเพื่อช่วยกดสั่งซื้อแทน
– กำหนดจำนวนผู้โดยสารที่สามารถรับได้ในแต่ละตู้โดยสาร (อาจใช้ Sensor ในการตรวจ มีเสียงร้องเมื่อคนแน่น)
– ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างสำหรับผู้โดยสารที่ต่อคิวรอขึ้นรถไฟ
ระหว่างการเดินทาง
– มี่ที่กั้นระหว่างผู้โดยสาร เพื่อลดการติดเชื้อและกำหนดจำนวนผู้นั่งที่ชัดเจนในแต่ละตู้โดยสาร
– กำหนดตำแหน่งในการยืน และบังคับให้สวมถุงมือสะอาดในการจับราว เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ
– งดการพูดคุยกันเองและผ่านโทรศัพท์ ระหว่างมีผู้โดยสารบนรถ
– จัดหาแอลกอฮอล์ไว้ให้บริการในทุกตู้โดยสาร
หลังออกจากรถไฟฟ้า
– ทำความสะอาดทุกตู้โดยสารทุกครั้งที่มีโอกาสจอดพักรถ
– ทำความสะอาดบัตรโดยสารใหม่ทุกครั้งที่มีการหมุนเวียนมาใช้ใหม่
– เพิ่มความถี่ในการวิ่งของรถไฟเพื่อลดความแออัดและโอกาสในการติดเชื้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก เปิดเมือง ปลอดภัย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า