Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พล.ต.อ.วัชรพล รับกฎหมายใหม่ ป.ป.ช. กำหนดกรอบเวลาในการไต่สวนคดีทุจริตให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี รับกดดันเจ้าหน้าที่ และประเทศไทยยังไม่เคยมีกฎหมายที่กำหนดกรอบระยะเวลาการทำหน้าที่ของผู้บังคับใช้กฎหมาย

วันที่ 24 ก.ค.2561 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวระหว่าง เป็นประธานเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปสู่การปฏิบัติและเป็นการเผยแพร่หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ตลอดจนการสร้างให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการผลักดันหลักสูตรฯ ให้เกิดเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตว่า ปัญหาทุจริตสำคัญมาก หลายรัฐบาลพยายามหยิบยกขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งดัชนีรับรู้การทุจริต (CPI ) คะแนนดูเหมือนดีขึ้น แต่ก็ยังห่างไกลจากหลายๆประเทศ เช่น สิงคโปร์ ยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ตั้งเป้าปี 2564 คะแนน CPI ได้มากกว่าร้อยละ 50 จึงถือเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะดัชนีชี้วัดมีหลายตัวมากมาย โดยเฉพาะดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางประชาธิปไตย ที่ทำให้คะแนนของไทยลดลง

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่มีผลบังคับใช้แล้วว่า มีบริบทการทำงานที่เข้มข้นขึ้น นำสู่ความคาดหวังของประชาชนที่อยากให้มีการทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่มีกำหนดกรอบระยะเวลาการทำหน้าที่ของผู้บังคับใช้กฎหมาย การรวบรวมพยานหลักฐาน คือ กำหนดระยะเวลาดำเนินการคดีต่างๆ ทำให้เสร็จภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มไต่สวน ถ้ายังไม่แล้วเสร็จสามารถขยายเวลาได้อีก 1 ปี หากเกินกว่านั้นต้องมีเหตุผล โดยให้ผู้บังคับบัญชา ระบุเหตุผลทำไมถึงล่าช้าด้วย ซึ่งเป็นความคาดหวังของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดกรอบระยะเวลาเพื่อต้องการเร่งรัดการปราบปรามการทุจริต นอกจากเอาผู้กระทำความผิดมารับโทษโดยเร็วแล้วยังต้องการป้องปราม ไม่ให้คนกล้ากระทำความผิดอีก

ประธานป.ป.ช. กล่าวว่า กรณีที่มีเหตุจําเป็นอันไม่อาจ ดําเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาได้ กฎหมายระบุ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจขยายระยะเวลาออกไปตามที่จําเป็นได้แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3 ปี เว้นแต่เป็นเรื่องที่จําเป็นต้องเดินทางไปไต่สวนในต่างประเทศ หรือขอให้หน่วยงานของต่างประเทศดําเนินการไต่สวนให้ หรือขอรับเอกสารหลักฐานจากต่างประเทศ จะขยายระยะเวลาออกเท่าที่จําเป็นก็ได้ ทั้งนี้ยอมรับว่า เป็นเรื่องเคร่งเครียดพอสมควรที่กฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่มีกรอบระยะเวลาหมด แต่ก่อนไม่มีระยะเวลา ซึ่งนอกจากกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.แล้ว แต่รวมไปถึงการทำงานของอัยการด้วย ที่ต้องส่งฟ้องภายใน 180 วัน ตั้งแต่วันรับสำนวน และหากพยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์ อัยการต้องตั้งคณะกรรมการร่วมภายใน 90 วัน ซึ่งยังหาข้อเท็จจริงไม่ได้อีก ป.ป.ช.มีอำนาจฟ้องคดีเอง เป็นต้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง โปรดเกล้าฯ พรป. ป.ป.ช. 200 มาตรา-ไม่นับอายุความจำเลยหลบหนี

อ่านฉบับเต็ม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า