Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

85 วันไทยไม่พบการติดเชื้อภายในประเทศ แต่เมื่อวานกลับพบหญิงไทย 2 รายตรวจพบเชื้อโควิด-19 หลังจากเข้ากักตัวครบ 14 วันและเดินทางกลับภูมิลำเนาไปแล้ว กระทรวงสาธารณสุขตั้งโต๊ะแถลงด่วนช่วงค่ำวานนี้ เพื่อคลายความตระหนกของประชาชนพร้อมกับยืนยันว่าโอกาสเป็นการระบาดในประเทศรอบสองน้อยมาก เพราะเป็นซากเชื้อ

ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย หญิงหญิงไทยเดินทางกลับจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อหลายเดือนก่อน เข้าตรวจเชื้อกักตัวใน State Quarantine ครบ 14 วันจากนั้นเดินทางกลับภูมิลำเนาใช้ชีวิตตามปกติ และเมื่อจะกลับไปทำงานต่างประเทศอีกครั้งจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อตรวจขอใบรับรองแพทย์พบเชื้อ

ผู้ติดเชื้อรายที่ 1 หญิงไทยอายุ 34 ปี
2 มิ.ย. เดินทางกลับมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่มีอาการป่วย
5 มิ.ย. ผลตรวจเชื้อครั้งแรก เป็นผลกำกวม (Inconclusive) ตรวจซ้ำ
13 มิ.ย.  ผลตรวจเชื้อ ไม่พบเชื้อ กักตัวต่อจนครบ 14 วัน และเดินทางกลับ จ.ชัยภูมิ
17 ส.ค. เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อตรวจสุขภาพนำใบรับรองแพทย์ไปทำงานต่างประเทศ
18 ส.ค. ผลตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่อยู่ในระดับน้อย  แทพย์ทำการตรวจภูมิคุ้มกันพบซากเชื้อ

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เป็นการติดเชื้อตั้งแต่ครั้งก่อน ไม่ได้ติดเชื้อใหม่ ไม่มีความเสี่ยงที่จะแพร่โรคต่อผู้อื่น เหมือนซากเชื้อ แพร่โรคไม่ได้

ผู้ติดเชื้อรายที่ 2 หลฺงไทยอายุ 35 ปี
4 พ.ค. เดินทางกลับมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่มีอาการป่วย กักตัวครบ 14 วันแล้ว ตรวจเชื้อ 2 ครั้งไม่พบการเชื้อ จากนั้นเดินทางกลับ จ.เลย
16 ส.ค. เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อตรวจสุขภาพเตรียมไปต่างประเทศ
18 ส.ค. ผลตรวจสุขภาพพบสารพันธุกรรม แพทย์นำตัวเข้าดูแลที่โรงพยาบาลรามา เพื่อตรวจซ้ำคาดว่าจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์

ล่าสุดกรมควบคุมโรคได้ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำแก่ผู้อยู่ใกล้ชิดในครอบครัวและชุมชน ทำการสอบสวนเบื้องต้นเพื่อให้ได้ประวัติเสี่ยงให้คำแนะนำให้เฝ้าระวังอาการ ปฏิบัติตัวป้องกันโรค ต่อไป

ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การพบเชื้อโควิด-19 ในผู้ที่พ้นการกักกันโรคแล้ว 14 วัน มีความเป็นไปได้ดังนี้

1. ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะเป็น 2-7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้น้อยมากถึง 21 วัน ดังนั้น ในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรคและ 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกัน การกระจายโรค

2. การตรวจพบเชื้อหลังจาก 14 วันไปแล้ว ก็เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วง 14 วัน ที่อยู่ในสถานที่กักกัน เช่น ในเรือสำราญ ดังนั้นในสถานที่กักกัน จึงเคร่งครัด ไม่ให้มีการพบปะกัน ระหว่างผู้ที่กักกันด้วยกัน หรือบุคคลภายนอก

3. ผู้ป่วยนั้นมาติดเชื้อในประเทศไทย โอกาสนี้เป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้ไม่พบการติดต่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 80 วันแล้ว

4. มีความเป็นไปได้ที่ผู้นั้นติดเชื้อมาจากต่างประเทศ หรือป่วยอยู่ต่างประเทศแล้ว และเมื่อมาถึงเมืองไทย เชื้อมีปริมาณน้อย ในบางช่วงก็ตรวจไม่พบ และต่อมา หรือบางช่วง ก็ตรวจพบ อย่างเช่นการระบาดในรอบแรกของไทย ไทยได้ทำการศึกษาร่วมกับสำนักการแพทย์และสำนักอนามัย กทม. พบว่า ก่อนกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อแล้ว หลังจากนั้นติดตามก็ยังมีการพบเชื้อ แต่เชื้อมีปริมาณน้อยมาก

ในการติดตามระยะยาวที่ทำการศึกษา จำนวน 212 คน พบว่าในช่วง 4-12 สัปดาห์ หลังจากที่มีอาการ และผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว ก็ยังตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 6.6 ของผู้ป่วย เผยแพร่ในวารสาร https://www.biorxiv.org/…/10.1…/2020.07.17.208439v1.full.pdf

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สธ. พบผู้ติดเชื้อโควิด 2 คนที่รามาฯ ระบุโอกาสน้อยที่จะเป็นการติดเชื้อในประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า