SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/368696290392713/?v=368696290392713

เผชิญความจริงด้วยความเข้าใจ ผู้ป่วยมะเร็งไม่จำเป็นต้องให้คีโมทุกคน การให้ยาเคมีบำบัด (คีโม) เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคด้วย และหากต้องให้คีโม ระหว่างนั้นควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?

ปีที่ผ่านมา (2561) คนไทยป่วยเป็นมะเร็งเกิน 1 แสนคน การให้เคมีบำบัด (คีโม) ถือเป็นส่วนหนึ่งในการรักษา ส่วนให้คีโมแล้วจะรอดชีวิตหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระยะและชนิดของโรค โดย นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ (หมอบัว) ศัลยกรรมแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้าง สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.ศิริราช ให้คำแนะนำ 5 ข้อสำคัญในการรับมือระหว่างการคีโม ได้แก่

  1. ดูแลตัวเองให้ดี

ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าจะออกกำลังกายให้ออกกำลังกายเบาๆ อย่างเหมาะสม ถ้าเป็นไปได้ก็เป็นการออกกำลังกายที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายสดชื่น และช่วยให้ผลข้างเคียงของเคมีน้อยลงด้วย เช่น อย่างน้อยวันนึงควรจะดื่ม 1.5 – 2 ลิตร ส่วนอาหาร ควรเป็นอาหารที่ใหม่ สด สุก สะอาด ทานอาหารให้หลากหลาย บางท่านช่วงที่ให้เคมีไม่ทานเนื้อเลย อาจจะขาดโปรตีนบางตัวไปก็ได้ และหากต้องออกไปสถานที่สาธารณะต้องป้องกัน เช่น ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันมลภาวะ หรือไปโรงพยาบาลก็ต้องป้องกันการติดเชื้อจากเราไปสู่คนอื่น และจากคนอื่นมาที่เราด้วย

  1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เคมีบำบัดออกฤทธิ์ทั้งร่างกายเรา ดังนั้น ต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทั้งหมด อาทิ สีลูกตา ผิวหนังเราเป็นยังไง สีอุจจาระ สีปัสสาวะเราเป็นยังไง น้ำหนักตัวเราเป็นยังไง ชั่งแล้วบันทึกไว้ทุกวัน ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลง เราสามารถบอกแพทย์ผู้รักษาได้ทันท่วงที

3. ทำใจให้สบาย คนดูแลต้องเข้าใจ

คนที่ได้เคมีบำบัด หรืออยู่ระหว่างรับการรักษาจะพบภาวะซึมเศร้ามาก หรือบางคนอาจจะมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ ผู้ที่ให้การดูแลต้องเข้าใจเขา เนื่องจากภาวะที่คนไข้รู้ว่าเป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มจากปฏิเสธก่อน เช่น ฉันกินมังสวิรัติทำไมถึงเป็นมะเร็ง ทำไมฉันไม่สูบบุหรี่ทำไมเป็น ซึ่งคุณหมออยากจะให้ทำใจรับให้ได้ว่า นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเรา เมื่อเราทำใจได้แล้ว เราถึงจะสู้กับเขาได้

  1. เลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรร่วม

หมอบัวแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ไม่แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพรควบคู่กัน แต่ถ้าสมมติจะใช้จริงๆ ให้นำยาตัวนั้นมาให้คุณหมอที่รักษาดูว่า ยาตัวนี้ให้ผู้ป่วยทานได้ไหม เพราะทีมแพทย์จะเสียใจมาก หากนัดคนไข้มารักษา นัดมาผ่าตัด นัดมาแล้ว คนไข้หายไป แล้วเจอคนไข้อีกที อีก 6 เดือนข้างหน้า ปีนึงข้างหน้า ปรากฏว่าไปรับยาอย่างอื่นมา หรือไปรักษาวิธีอื่นมา ปรากฏมะเร็งระยะ 1 กลายเป็นระยะ 4 หรืออาจไปเสียชีวิตข้างนอก

  1. เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

การที่คนไข้มะเร็ง 1 คน เดินเข้ามาในโรงพยาบาล บุคลากรการแพทย์ที่มาดูแลคนไข้คนนึงนั้นเยอะมาก ซึ่งคุณหมอกล่าวว่า ทีมแพทย์อยากจะช่วยให้ทุกคนพ้นจากภาวะตรงนั้นไปได้ แต่ทีมแพทย์อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะช่วยได้ ต้องอาศัยความเชื่อมั่น เชื่อใจของคนไข้ ต้องอาศัยกำลังใจของคนไข้และคนรอบข้างด้วย

“อยากให้มั่นใจว่า มะเร็ง รู้ไว รักษาทัน หายได้แน่นอนครับผม” หมอบัว กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า