Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิจัยพบระดับโปรตีน TLR2 ในเนื้องอกผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรก เชื่อมโยงกับอัตราการเสียชีวิต ชี้เป็นความก้าวหน้าสำคัญที่จะช่วยให้ตรวจพบโรคได้เร็วขึ้น และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย 

มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก รวมถึงในประเทศไทย จากสถิติของกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund – WCRF) ในปี 2020 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดรวมทั้งสิ้น 2,206,771 คน เป็นอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม 

สาเหตุที่อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดมากขนาดนี้ เป็นเพราะมะเร็งปอดมักจะถูกตรวจพบเมื่อเลยระยะแรกของโรคไปแล้ว ซึ่งช้าเกินไปที่จะทำการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้ผู้ป่วยกว่า 90% มีโอกาสเสียชีวิตหลังจากพบโรคภายในระยะเวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น 

ล่าสุด มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh), มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London), มหาวิทยาลัยกันตาเบรีย (University of Cantabria) ในสเปน, สภาวิจัยแห่งชาติสเปน (Spanish National Research Council) และ มาโย คลินิก (Mayo Clinic) จากสหรัฐฯ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด และพบความก้าวหน้าสำคัญที่อาจช่วยให้สามารถตรวจพบโรคมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ของโรค เพื่อทำการรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น

โดยผลการวิจัยพบว่า อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย มีความเชื่อมโยงกับระดับของโปรตีนที่มีชื่อว่า TLR2 ซึ่งอยู่ในเนื้องอกตั้งแต่ตรวจพบมะเร็งในระยะแรกๆ ผู้ป่วยที่มีระดับโปรตีน TLR2 สูง จะมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับโปรตีนต่ำ

นักวิจัยอธิบายว่า TLR2 เป็นโปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เซลล์หยุดการเจริญเติบโต และหลั่งสารเคมี รวมถึงโปรตีนชนิดอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนโรคมะเร็งปอด และช่วยยับยั้งโรคเอาไว้ โดยโปรตีนตัวนี้จะพบแค่ในมะเร็งปอดระยะแรกๆ เท่านั้น และไม่พบอีกในมะเร็งระยะท้ายๆ จึงนำไปสู่การทดลองให้สารกระตุ้นโปรตีน TLR2 ในหนูทดลอง และพบว่าสามารถช่วยลดการพัฒนาของเนื้องอกมะเร็งในปอดได้ 

จากการทดลองดังกล่าว นักวิจัยพบข้อบ่งชี้ว่า โปรตีน TLR2 มีส่วนช่วยในการควบคุมกลไกการป้องกันของร่างกายบางส่วนเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์เป็นมะเร็ง การค้นพบครั้งนี้จึงอาจช่วยให้สามารถตรวจพบโรคและทำการรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากที่มีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่เพียง 6% เมื่อตรวจพบมะเร็งในระยะท้ายๆ แต่หากสามารถพบโรคได้เร็วขึ้น อัตราการรอดชีวิตอาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 50% 

ดร.เฟรเซอร์ มิลลาร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ระบบทางเดินหายใจแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระกล่าวว่า “ผมคิดว่าการค้นพบนี้น่าตื่นเต้นจริงๆ ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องเกี่ยวกับชีววิทยาของมะเร็งปอดในระยะแรกมากนัก เมื่อเราทำความเข้าใจกับกระบวนการนี้ได้มากขึ้น เราก็จะสามารถระบุแนวทางรักษาแบบใหม่สำหรับโรคร้ายแรงนี้ได้”

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังต้องมีการศึกษาและการทดลองทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าวิธีการให้สารกระตุ้นโปรตีน TLR2 ที่ได้ผลในหนูทดลอง จะมีประสิทธิภาพในมนุษย์ด้วยหรือไม่  

 

ที่มา News Medical, World Cancer Research Fund

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า