Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. เปิดสถิติ ‘มะเร็งปอด’ ภาคเหนือ ‘pm 2.5’ เป็นหนึ่งปัจจัยเสี่ยง นายกฯ ‘เศรษฐา’ สั่งยกระดับ 9 มาตรการแก้วิกฤติ จับคนเผา-ตัดสิทธิช่วยเหลือ

ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (9 เม.ย. 67) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวถึงปัญหาฝุ่น pm 2.5 ในหลายจังหวัดว่า ได้กำชับยกระดับการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าว ในช่วงสถานการณ์วิกฤติ ประจำปี 2567 โดยให้หน่วยงานต่างๆ บูรณาการการทำงาน ผ่าน 9 มาตรการ ได้แก่

1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยทหารในพื้นที่ ระดมกำลังลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการจับกุมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กับผู้ที่ลักลอบการเผาป่าทุกกรณี

2. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย กำกับดูแลกวดขันการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามอำนาจและหน้าที่อย่างเคร่งครัด

3. ให้กระทรวงมหาดไทย สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดชุดปฏิบัติการเฝ้าระวัง ลาดตระเวนในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผา

4. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศเขตความร่วมมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และประกาศ เวิร์คฟอร์ม โฮม (Work from home) ตามความจำเป็น เพื่อลดปัญหาการกระทบกับสุขภาพของประชาชน

5. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาตัดสิทธิ์การรับความช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐ หากตรวจพบการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง

6. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มความถี่ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อป้องกัน และบรรเทาสาธารสถานการณ์หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ให้เพียงพอต่อการช่วยเหลือดับไฟป่า

7. ให้กระทรวงสาธารณสุข จัดชุดเคลื่อนที่ เยี่ยมบ้านประชาชนเพื่อดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง และสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันแก่บุคคลกลุ่มเสี่ยง

8. ให้สำนักงานงบประมาณ พิจารณาสนับสนุนงบกลางให้แก่จังหวัดให้ทันต่อการแก้ไขปัญหาในช่วงสถานการณ์วิกฤติ ปี 2567 ตามความเหมาะสมและเร่งด่วน

9. กรณีหมอกควันข้ามแดน ขอให้กระทรวงการต่างประเทศ ยกระดับความร่วมมือเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง เมียนมา และสปป.ลาว ให้ลดการเผาป่าอย่างทันที พร้อมตั้งเคพีไอ (KPI) ให้ชัดเจน

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 67 นพ.สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคมะเร็งปอดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขในภาคเหนือ โดยพบว่า มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่นๆ กล่าวคือภาคเหนือพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดรายใหม่ เฉลี่ยปีละ 2,487 ราย/ปี หรือประมาณวันละ 7 ราย และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดเฉลี่ยปีละ 1,800 ราย/ปี หรือประมาณวันละ 5 ราย ทั้งนี้ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุ มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดที่สูงในภาคเหนือ มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญหลายประการ

ขณะที่ นพ.วีรวัต อุครานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง กล่าวว่า โรคมะเร็งปอดเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกันทั้งพันธุกรรม หรือการได้รับสารก่อมะเร็งต่างๆ ปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคมะเร็งปอดที่สำคัญเกิดจากการสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือสอง นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงอื่นได้แก่ การสัมผัสก๊าซเรดอน การสัมผัสแร่ใยหิน การสัมผัสรังสี ควันธูป และมลภาวะทางอากาศต่างๆ ซึ่งฝุ่น pm 2.5 จัดอยู่ในส่วนนี้

โดยสำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer หรือ IARC) ได้กำหนดให้มลภาวะทางอากาศเป็นสารก่อมะเร็ง กลุ่มที่ 1 หมายถึงมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ถึงปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง นอกจากนี้มีการศึกษาหากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วยกับการสัมผัส pm 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดร้อยละ 40 เทียบกับประชากรทั่วไป

ทั้งนี้สรุปได้ว่า pm 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยง หนึ่งในการเกิดมะเร็งปอดไม่ใช่สาเหตุเพียงอย่างเดียว และในปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างเจาะจงว่า ในผู้ป่วยคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งปอดนั้นเป็นจากสาเหตุใด เนื่องจากกระบวนการเกิดโรคมะเร็งมีหลายกระบวนการเกิดได้จากหลายปัจจัย การรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด โดยที่สำคัญที่สุดยังเป็นเรื่องของการรณรงค์การหยุดสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือ 2 การหลีกเลี่ยงการก่อมลภาวะทางอากาศ เช่น ควันธูป และมลภาวะต่างๆ หากต้องอยู่ในสถานที่มีฝุ่น pm 2.5 เฉลี่ยสูงควรใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ เช่นหน้ากาก N 95 หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดิน หายใจ เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า