Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 16 พ.ค.2563 นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยา คือ ดูแลการเยียวยาของภาครัฐให้ครอบคลุมให้ทั่วถึงกับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม เพราะฉะนั้นมาตรการเยียวยาของภาครัฐตอนนี้ไม่ได้มีเฉพาะมาตรการ 5,000 บาท รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ ออกมาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เกิดความครอบคลุมกับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม ประชากรไทยประมาณ 66 ล้านคน โดยกลุ่มแรงงาน 40 ล้านคน กลุ่มแรงงาน แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 แรงงานในระบบที่ได้รับการเยียวยาผ่านสำนักงานประกันสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 11 ล้านคน

กลุ่มที่ 2 แรงงานอิสระ กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่ดูแล “โครงการเราไม่ทิ้งกัน”  มาตรการ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านเกณฑ์ประมาณ 15 ล้านคน โดยจะมีผู้ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมาย  16 ล้านคน

กลุ่มที่ 3 เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านคน โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่ดูแล  มาตรการเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือน เป็นต่อครอบครัว หัวหน้าครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ได้รับเงิน

กลุ่มที่ 4 มีประมาณ 3 ล้านคน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ อาทิ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการในหน่วยงานของท้องถิ่น ซึ่งวันนี้รัฐบาลดูแลท่านอยู่ โดยยังไม่มีการลดเวลาการทำงานหรือลดเงินเดือน  เมื่อนำทั้งกลุ่ม  1 – 4  รวมกันจะได้ตัวเลขประมาณ 40 ล้านคน  ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการดูแลแต่ละมาตรการอยู่แล้ว

กลุ่มที่ 5 กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ คนพิการ มีจำนวน 13 ล้านคน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำลังเสนอมาตรการเพื่อที่จะดูแลประชาชนกลุ่มนี้

กลุ่มที่ 6 กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจำนวนเต็มที่ 14.6 ล้านคน แต่วันนี้การเยียวยาของภาครัฐจะเน้นการเยียวยาที่จะไม่ซ้ำซ้อนกันระหว่างกลุ่ม ดังนั้นนำ 14.6 ล้านคนของผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ หักออกจากกลุ่มที่ 1 -4 ในกรณีที่มีความซ้ำซ้อน จะเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่มาตรการของภารรัฐยังลงไปไม่ถึงประมาณ 2.4 ล้านคน

กลุ่มที่ 7 คือ กลุ่มคนลงทะเบียนไม่สำเร็จ เป็นกลุ่มที่มีผู้มาร้องเรียนจำนวนมากที่กระทรวงการคลังและกรมประชาสัมพันธ์ ประมาณ 1.7 ล้านคน ภาครัฐดูแลอยู่ในขณะนี้

กลุ่มที่ 8 ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางสังคมกรณีฉุกเฉินประมาณ  1 ล้านคน ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีกลไกและระเบียบรองรับอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ลดความซ้ำซ้อนกลุ่มที่ 5 – 8 จะมีจำนวนเหลือไม่เกิน 12.5 ล้านคน และ กลุ่มที่ 8 อายุต่ำกว่า 18 ปี อีก 13.5 ล้านคน ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะดูแลประชาชนทุกกลุ่ม 66 ล้านคน  จากมาตรการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วและยังมีอีกหลายมาตรการที่จะเริ่มต้น

นายลวรณ กล่าวว่า รัฐบาลดูแลประชาชนผู้ประกอบการผ่านมาตรการอื่น ๆ อีก อาทิ กลุ่มประชาชน คือ การบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย  การป้องกันโรค  เพิ่มสภาพคล่องในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยยืดภาระการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา จากเดือนมีนาคมออกไปเดือนสิงหาคม  การชะลอการลดการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ด้านป้องกันโรค คือ หากป่วยโควิด-19 ตรวจฟรี รักษาฟรี แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกคน ดูแลทั้งการแพทย์ในทุก ๆ มิติ  นอกจากนี้  รัฐบาลเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินให้กับประชาชน  วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท สามารถกู้โดยไม่ต้องมีหลักประกันใด ๆ ที่ธนาคารออมสินและธกส. แห่งละ 2 หมื่นล้าน ซึ่งดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อเดือนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อพิเศษวงเงิน 50,000 บาทต่อคน ดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน โดยให้มีหลักประกันบ้างสามารถติดต่อที่ธนาคารออมสิน

กลุ่มของผู้ประกอบการ คือ ลดค่าใช้จ่ายการดูแลป้องกันโรคและเพิ่มสภาพคล่อง โดยการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือ การจ้างงาน โดยภาคธุรกิจที่รักษาระดับการจ้างงานไว้ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานไปหักค่าใช้จ่าย 3 เท่า เป็นแรงจูงใจให้ดูแลแรงงานและรักษาการจ้างงานไว้ นอกจากนี้ การยืดระยะเวลาการเสียภาษีนิติบุคคล จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายให้มีสภาพคล่องในมือมากขึ้นเช่นกัน การยกเว้นภาษีอากรนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด โดยสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ประกอบการคือ มาตรการเติมเงินรักษาสภาพคล่องให้กับธุรกิจคือ การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากปกติต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 วันนี้เสียร้อยละ 1.5 กระทรวงการคลังได้มีนโยบายที่ชัดเจน การขอคืน VAT ถ้ายื่นผ่านระบบ 15 วัน จะได้เงินคืน ถ้าหากยื่นเอกสารใช้เวลา 45 วัน  นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเตรียมเงิน 5 แสนล้านบาท สำหรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระจายลงไปธุรกิจต่างๆ

สำหรับการผ่อนคลายต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลต่อการเข้าถึงการบริการทางการเงินเป็นอย่างมาก โดยให้มีการผ่อนคลายมาตรการของการเป็นลูกหนี้ NPL ให้กลับมาเป็นลูกหนี้ที่ดี เพื่อให้สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินได้ ยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมดูแลคนทุกกลุ่ม ดูแลพี่น้องประชาชนอย่างถ้วนหน้าตามมาตรการที่เหมาะสมที่แตกต่างกันไป และพร้อมที่จะออกมาตรการดูแลอย่างทันท่วงทีให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมา รองรับได้อย่างทันท่วงทีและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการสามารถผ่านวิกฤติโควิด-19 นี้ไปได้ด้วยกัน

เมื่อถามว่า มาตรการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนบางรายได้รับ แจ้งว่าเป็นเกษตรกร ทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินกลัวว่าจะตกหล่นนั้น

นายลวรณ ชี้แจงว่า กระทรวงการคลังได้มีการส่ง SMS ไปยังผู้ลงทะเบียนโครงการ “เราไม่ทึ้งกัน” แจ้งว่าเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรนั้น ประมาณ 470,000 คนนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการปรับปรุงข้อมูลเรียบร้อย จะดำเนินการจ่ายเงินทั้งหมดได้พุธหน้า สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จประมาณ 1.7 ล้านคน นั้น ยืนยันว่าไม่ตกหล่น กระทรวงการคลังจะดูแลแน่นอน

อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ลงทะเบียนไม่สำเร็จและกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน เป็นคนละกลุ่มแตกต่างกัน เพราะกลุ่มผู้ลงทะเบียนไม่สำเร็จนั้น กระทรวงการคลังมีข้อมูลครบถ้วน สามารถดำเนินการต่อได้ ซึ่งขณะนี้ “โครงการเราไม่ทึ้งกัน” ปิดลงทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน จะต้องไปดูการช่วยเหลือจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐที่จะออกมา เพื่อมิให้ตกหล่นใครเลย สำหรับกลุ่มที่เป็นทั้งข้าราชการและเกษตรกรนั้น กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินตรวจสอบความซ้ำซ้อน และส่งข้อมูลชุดนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว เชื่อว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับบุคคลที่เดือดร้อนมีข้อร้องเรียน สามารถเดินทางไปธนาคารรัฐทุกแห่งได้ทุกสาขา ซึ่งปัญหาร้องเรียนส่วนใหญ่แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเลย ขอให้ดูมาตรการอื่น ที่รัฐบาลจะดูแลอาจไม่จำเป็นต้องเดินทางมา กลุ่มที่ 2 คือผู้ลงทะเบียนไม่สำเร็จประมาณ 1.7 ล้านคนแม้ว่าไม่มาร้องเรียน รัฐบาลกลับมาดูแล ไม่ตกหล่น กรณีกลุ่มบัญชีไม่ตรง ซึ่งหลายรายได้ไปผูกบัญชีพร้อมเพย์แล้ว ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีการโอนเงินให้กลุ่มนี้ วันอังคาร 700,000 คน และ วันพุธโอนให้กลุ่มที่เคยได้รับแจงเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตร อีก 400,000 คน และในวันจันทร์ 200,000 คน จากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน “

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า