SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานเอกอัครราชทูตอย่างน้อย 8 ประเทศ เคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดีย พูดถึงกรณี วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทยที่ถูกบังคับสูญหายเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการหายไป นอกจากนี้องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนหลายแห่งออกแถลงการณ์เนื่องในวันดังกล่าวและรณรงค์เรียกร้อง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมาณและบังคับสูญหาย

วันที่ 4 มิถุนายน 2564 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร, สวีเดน, นอร์เวย์, เดนมาร์ก, เยอรมนี, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดียในประเด็นการบังคับสูญหาย เนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีนักกิจกรรมไทย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหายไปจากกรุงพนมเปญตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2563

“เหยื่อของ #การบังคับบุคคลให้สูญหาย อาจเป็นคนที่คุณรัก หรือเป็นคนที่สู้เพื่อปกป้องสิทธิของผู้อื่น
การ #อุ้มหาย ยังมีอยู่จริง คดีที่ไม่ได้รับการคลี่คลายนำไปสู่การลอยนวลพ้นผิด และสร้างบรรยากาศความกลัวที่ทำให้ผู้อื่นไม่กล้าพูดความจริง (1)” ทวิตเตอร์ของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยระบุ “สหราชอาณาจักรจริงจังในการปกป้องนักสิทธิมนุษยชนทุกแห่งบนโลก เราสนับสนุนข้อเรียกร้องของ UN ให้ทุกประเทศปกป้องทุกคนจากการบังคับสูญหาย และดำเนินการเร่งด่วนเพื่อค้นหาความจริงและนำความยุติธรรมมาสู่เหยื่อและครอบครัว (จบ)”

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดีย “ลองจินตนาการดูว่าจะเป็นเช่นไรหากคนที่ท่านรักจู่ ๆ ก็หายตัวไป
ท่านจะรู้สึกอย่างไร? ท่านจะคิดถึงเขาไหม? ท่านจะร่ำร้องเพื่ออยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นไหม? ท่านจะทำทุกวิถีทางไหมที่จะตามหาเขา? ท่านจะเรียกร้องขอความยุติธรรมหรือไม่? น่าเศร้าใจที่มีหลายแสนคนในอย่างน้อย 85 ประเทศทั่วโลกได้หายตัวไปในระหว่างที่เกิดความขัดแย้งหรือมีการปราบปราม
การบังคับบุคคลให้สูญหายไม่ใช่แค่อาชญากรรมต่อเนื่องเท่านั้น ผู้เสียหายโดยมากจะถูกทรมานหรือสังหารโดยตัวแทนของรัฐหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับคำสั่งจากรัฐ ทั้งนี้ การบังคับบุคคลให้สูญหายทำให้ผู้เสียหายเจ็บปวดแสนสาหัส ส่วนครอบครัวและญาติก็ทุกข์ทรมานใจไปจนชั่วชีวิต
การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นเรื่องที่มิอาจยอมรับได้และขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ครอบครัวของผู้เสียหายและสังคมมีสิทธิที่จะทราบความจริงว่าได้เกิดอะไรขึ้นกับคนที่พวกเขารัก”

รำลึกครบรอบ 1 ปีวันเฉลิม 

เหตุการณ์การหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อปี 2563 สร้างแรงสะเทือนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ในคืนเกิดเหตุ #saveวันเฉลิม พุ่งทะยานขึ้นเทรนทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง มีการเรียกร้องให้ผู้มีชื่อเสียงกล่าวถึงเรื่องนี้

บรรยากาศของการครบรอบ 1 ปีเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้า โดยครอบครัวของวันเฉลิมและนักกิจกรรม ร่วมสวมเสื้อฮาวายที่หน้ากระทรวงยุติธรรม ใส่หน้ากากวันเฉลิม พร้อมยืนถือป้าย #หนึ่งปีต้องมีความยุติธรรมให้วันเฉลิม เป็นเวลา 12 นาที เพื่อรำลึกถึง 12 เดือนที่วันเฉลิมได้หายตัวไป

สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ร่วมกับแอมเนสตี้ ประเทศไทย และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม  ยื่นหนังสือแก่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

สิตานันท์ระบุว่าทางการไทยและทางการกัมพูชาควรมีคำตอบให้ญาติหลังผ่านไปหนึ่งปี เธอชี้ว่า “หลักฐานนั้นชัดเจนมาก และบ่งบอกได้ว่าวันเฉลิมอยู่ที่นั่นจริงและหายไปจากที่นั่นจริง” ส่วนในการยื่นหนังสือครั้งนีคาดหวังว่าจะได้รับความจริงใจของรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาว่าจะให้คำตอบเราอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาหนึ่งปีแล้ว”

สิตานันท์กล่าวเพิ่มเติมว่าเธอได้รับการยืนยันจากสํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติว่ามีกรณีนี้เกิดขึ้นจริง แต่ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลไทย และได้เปิดเผยอีกว่า ขณะอยู่ระหว่างการไต่สวนคดีที่กัมพูชาในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ตนถูกผู้พิพากษาถามว่าจะเรียกร้องค่าเสียหายเท่าไหร่ ซึ่งผิดวิสัยจากการเป็นคดีอาญาและถูกห้ามไม่ให้เผยแพร่เรื่องนี้ อีกทั้งยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่ามีการคุกคามพยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอเรียกร้องให้ทางการไทยให้เริ่มการสอบสวนอย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง โดยให้อัยการสูงสุดร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ เริ่มการสอบสวนอย่างเป็นทางการต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ตามมาตรา 20 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบกับมาตรา 3 และมาตรา 21 พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และเพื่อประกันความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของการสอบสวนครั้งนี้ ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการสอบสวนครั้งนี้ด้วย

เธอระบุว่าถึงเวลาแล้วที่ทางการไทยต้องเข้ามาทำหน้าที่ และดำเนินการสอบสวนอย่างรอบด้าน อย่างไม่ลำเอียง และเป็นอิสระต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายซึ่งเกิดขึ้นกับพลเมืองของตนเองในระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยชาวไทยหลายคนถูกบังคับให้สูญหายในประเทศเพื่อนบ้าน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสอบสวนที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล

ส่วนช่วงเย็นกิจกรรมรำลึกการครบรอบ 1 ปีจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กทม.

พร้อมกันนี้ตลอดทั้งวันมีการรณรงค์พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหายพร้อมกับรณรงค์การดำเนินการทางกฎหมายในกรณีของวันเฉลิม พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า เป็นกฎหมายที่กระทรวงยุติธรรมเกี่ยวข้อง จากการอ้างถึงการขอให้มีคำสั่งสารให้เป็นบุคคลสาบสูญนั้น สามารถระบุได้ว่ากฎหมายเราไม่เพียงพอต่อการจัดการเรื่องการบังคับให้สูญหาย โดยทางกระทรวงยุติธรรมได้มี พ.ร.บ. ชื่อเดียวกันกับที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสามพรรคการเมืองได้เสนอเข้าไปในสภาแล้ว ในฐานะตัวแทนของนักการเมืองคนหนึ่ง และเป็นตัวแทนของผู้ช่วยรัฐมนตรี ขอให้ท่านช่วยติดตามเรื่องการนำ พรบ.ชื่อเดียวกันทั้งสี่ฉบับเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเป็นวาระเร่งด่วน”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า