Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับธนาคารออมสิน เปิดตัว “หลักสูตรการสร้างกรอบแนวคิดธุรกิจใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development, ESG and Business Model Development Programme” ซึ่งเป็นหลักสูตรเพิ่มความรู้และเสริมสร้างทักษะจำเป็นเกี่ยวกับ ESG ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ และธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้รู้จักทำธุรกิจใหม่ตามทิศทางหรือแนวโน้มกระแสโลกที่ให้ความสนใจเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” สามารถทำธุรกิจที่หารายได้แต่ยังให้ความใส่ใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหลักสูตรประกอบด้วยบทเรียนออนไลน์ 10 วิชา และ 7 กรณีศึกษาจากองค์กรทางสังคมและธุรกิจไทย รวมถึงตัวอย่างสตาร์ทอัพจากโครงการ GSB Smart Startup Company

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเริ่มรุนแรงจนเข้าขั้นวิกฤต อีกทั้งยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ทั้งการทุจริต คอรัปชั่น หรือแม้แต่ภัยความมั่นคงทางไซเบอร์ ที่ล้วนส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้น การทำธุรกิจที่มุ่งเน้นเฉพาะผลกำไรและการลดต้นทุนอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ทั้งในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศไทยได้กำหนดกติกาใหม่ให้ธุรกิจหรือบริษัทจดทะเบียนต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG และเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงาน ESG อย่างโปร่งใส เพื่อให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ESG จึงกลายเป็นเทรนด์ที่มาแรงและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากภาคธุรกิจและนักลงทุนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญและเห็นว่า ESG สามารถช่วยบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน และอาจสร้างโอกาสการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนได้ในระยะยาว

ดร.กริชผกา กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG ยังคงเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการจำนวนมากไม่เข้าใจ ดังนั้น NIA โดยสถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) จึงร่วมกับธนาคารออมสินจัดทำและพัฒนา “หลักสูตรการสร้างกรอบแนวคิดธุรกิจใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development, ESG and Business Model Development Programme” เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับ ESG เน้นเรื่องการทำธุรกิจใหม่ตามกระแส “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยมีประเด็นหลักคือการทำธุรกิจที่หารายได้แต่ยังให้ความใส่ใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทำยังไงถึงจะได้ไอเดียของธุรกิจที่สนับสนุนสังคมให้ดีขึ้น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และก็ยังสร้างรายได้ในตัว ซึ่งประกอบไปด้วยบทเรียนออนไลน์
10 วิชา และ 7 กรณีศึกษาจากองค์กรทางสังคมและธุรกิจไทยที่มีการดำเนินงานด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรมและน่าสนใจ รวมถึงตัวอย่างสตาร์ทอัพจากโครงการ GSB Smart Startup Company เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งวิชาการและกรณีศึกษา ทั้งภาคธุรกิจและสตาร์ทอัพ

นายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs Start up กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ

ด้านนายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs Start up กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ กล่าวว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารออมสินตระหนักถึงการมุ่งเน้นดำเนินธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมให้เกิดการปรับตัวของภาคธุรกิจตามแนวทางของ ESG ดังนั้น การที่ภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ หรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามแนวทาง ESG นอกจากจะช่วยยกระดับให้โลกดียิ่งขึ้นในทุกมิติแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างโอกาสเติบโตในระยะยาวให้กับธุรกิจ และยังช่วยต่อยอดไปได้ไกลถึงมิติใหม่ ๆ ในการลงทุน เพราะปัจจุบันนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานตามกรอบแนวคิด ESG

“ธนาคารออมสิน และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงร่วมกันจัดหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของESGภายใต้ชื่อหลักสูตรการสร้างกรอบแนวคิดธุรกิจใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development, ESG and Business Model Development Programme จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเพื่อร่วมขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้มีการเติบโตอย่างเกื้อกูลแก่ทุกฝ่าย ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และนำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในอนาคต

สำหรับ หลักสูตรการสร้างกรอบแนวคิดธุรกิจใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่าง NIA และธนาคารออมสิน จากปี 2566 ที่ได้มีการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์ม NIA Academy MOOCs ในหัวข้อ “การเป็นผู้ประกอบการและการพัฒนาธุรกิจใหม่ Entrepreneurship and New Business Development” ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีจากผู้สนใจทั้งนักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงผู้ประกอบการ โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมออนไลน์กว่า 30,000 ราย ที่ได้รับการพัฒนาความรู้และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตนเอง และนำไปพัฒนาธุรกิจที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีศักยภาพ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า