Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หนังสือบันทึกลับจากทุ่งใหญ่

หากย้อนไปเมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย. ปี 2516 เหตุการณ์ที่ข้าราชการระดับบิ๊ก และนักธุรกิจจำนวน 50-60 คน ถูกเปิดโปงว่า ได้เข้าไปล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้กลายเป็นข่าวโด่งดัง ที่สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก และเมื่อรัฐบาลแสดงท่าทีปกป้องกลุ่มบุคคลที่ถูกเรียกว่า “พรานบรรดาศักดิ์” อย่างเต็มที่ ก็เหมือนน้ำมันที่ราดลงบนกองไฟ ทำให้สถานการณ์ยิ่งลุกลามบานปลาย จนนำไปสู่การแสดงพลังของประชาชนและนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16

โดยจุดเริ่มต้นของกรณีนี้ มาจากข่าวเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2516 มีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่าขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ต่อมาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจาก 5 มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ได้มีการเข้าไปสังเกตการณ์และพบข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และนักธุรกิจ จำนวน 50-60 คน ตั้งแคมป์ล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร

ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ที่ตกและพบซากสัตว์ป่าจำนวนมาก ก็คือ 1 ใน 2 ลำ ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าว !

ต่อมาได้มีการเผยแพร่ภาพถ่ายและหลักฐานที่ยืนยันว่า มีการเข้าไปล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ทางรัฐบาลกลับอ้างว่า เป็นการเข้าไปปฏิบัติราชการลับ ก็ทำให้กระแสความไม่พอใจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก

กลุ่มนักศึกษาที่เข้าไปสังเกตการณ์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร เเล้วพบซากสัตว์

และในวันที่ 16 พ.ค. 16 ทางศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมและอภิปรายถึงกรณีการล่าสัตว์ในทุ่งใหญ่นเรศวรอย่างดุเดือด มีผู้เข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมากกว่าหมื่นคน ก่อนจะมีการออกหนังสือ “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” ที่เปิดโปงเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเจาะลึก ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือ 5,000 เล่ม หมดเกลี้ยงในเวลาอันรวดเร็ว และเมื่อมีการพิมพ์เพิ่มกว่าอีกแสนเล่ม ก็จำหน่ายหมดในเวลาไม่นานนัก

โดยหนังสือเล่มนี้ เรียกกลุ่มข้าราชการและนักธุรกิจที่เข้าไปล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวรว่า “พรานบรรดาศักดิ์” นอกจากข้อมูลเชิงลึกแล้ว ยังมีการเสียดสีรัฐบาลอย่างเจ็บแสบ โดยเฉพาะการล้อเลียน จอมพลถนอม กิตติขจร นายกฯ และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในเวลานั้น จากกรณีต่ออายุราชการ ว่า “ด้วยสถานการณ์ในทุ่งใหญ่ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จึงเสนอต่ออายุการทำงานของกระทิงจ่าฝูงเป็นเวลาอีก 1 ปีกระทิง จากสภารักษาความปลอดภัยแห่งชาติกระทิง”

และเมื่อ “ชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง” ได้ออกหนังสือ “มหาวิทยาลัยไม่คำตอบ” ก็ได้นำข้อความล้อเลียนนี้ใส่ไว้ในหนังสือด้วย ทำให้อธิการบดีมหาวิทยาลัย สั่งลบชื่อนักศึกษาที่จัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว จำนวน 9 คน

จากเหตุการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัย กลับลุกลามไปไกลจนสั่นสะเทือนการเมืองไทย และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา เมื่อศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ชุมนุมประท้วงที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัย ก่อนย้ายไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งข้อเรียกร้องหลักๆ นอกจากให้ยกเลิกการลบรายชื่อนักศึกษาทั้ง 9 คนออก ยังมีการเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน นำไปสู่สถานการณ์ตรึงเครียด และเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

ซึ่งจากการปะทะกันระหว่างทหาร ประชาชนและนักศึกษาในการประท้วงครั้งนั้น ทำให้จอมพลถนอมต้องประกาศลาออก และเดินทางออกจากประเทศในเวลาต่อมา

ซากกวางที่ทุ่งใหญ่นเรศวร

ข้อมูลเเละภาพจาก : หนังสือบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ , FB : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ภาพหน้าปก : ประยูร จรรยาวงษ์

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า