Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการมองพิธา ยังมีทางรอด หากศาลพิจารณาโดยใช้กรณีเดิมเป็นบรรทัดฐาน ย้ำไอทีวีเป็นสื่อยาก ปธ.คิมชี้แจงไม่ได้ดำเนินการ ชี้ยุบพรรคก้าวไกล เลือกตั้งรอบหน้าโอกาสสองร้อยกว่าที่นั่ง

ความคืบหน้าล่าสุดกรณีการถือหุ้น ITV ของนักการเมืองยังไม่ถึงทางลง หลังเมื่อวานนี้ (20 ธ.ค.) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค พรรคก้าวไกล เข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญในการนัดไต่สวนพยานบุคคล กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีพิธาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ขณะนี้ที่พรรคก้าวไกลยังเจอมรสุมข้อหาล้มล้างการปกครองสืบเนื่องจากนโยบายแก้ไข ม.112 ของพรรคที่อาจเสี่ยงจนถึงขั้นทำให้ต้องยุบพรรคการเมือง

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พูดคุยถึงกรณีความเป็นไปได้ในกรณีการถือหุ้นสื่อของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และการยุบพรรคก้าวไกลในข้อหาล้มล้างการปกครองใน TODAY LIVE ช่วงเย็นวันที่ 20 ธันวาคม เพื่อคะเนทิศทางรอดของทั้งสส.และพรรคการเมือง

กรณีการพักการปฏิบัติหน้าที่ สส.ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผศ.ดร.ปริญญา ระบุว่า พิธาถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ซึ่งเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้วจะมีการสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่สส.ด้วยก็ได้ ส่วนเนื้อหาคำร้องของกกต.ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคือกรณีการถือหุ้นสื่อของ สส. ที่ขัดมาตรา 98 (3) ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุว่า ห้ามสส.เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์หรือถือหุ้นสื่อมวลชนใด ๆ มีเจตนาเพื่อมิให้สส.มีอิทธิพลเหนือสื่อมวลชน กระทั่งใช้สื่อมวลชนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตน

พิธาจะพ้นตำแหน่งสส.จากกรณีหุ้น ITV ต้องพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ

1. หุ้นที่พิธาถืออยู่ขณะนี้เป็นสื่อตามมาตรา 98 (3) ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่?

2. ต่อให้หุ้นที่พิธาถืออยู่เป็นสื่อ แต่การถือครองหุ้นในนามผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นหุ้นหรือยัง และการถือครองหุ้นเพียง 0.0035 เปอร์เซ็นต์ จะยังนับว่าเป็นการถือหุ้นสื่อหรือไม่ ซึ่งในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้

ITV ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับใบอนุญาตในการทำสื่อกับพิธา โดยระบุว่า ITV ไม่มีใบอนุญาตในการทำสื่อ เนื่องจากได้คืนคลื่นไปแล้ว และในขณะนี้ Thai PBS ได้ใช้คลื่นดังกล่าว ดังนั้น ITV จึงไม่สามารถเป็นสื่อโทรทัศน์ได้ อย่างไรก็ตามผศ.ดร.ปริญญา ย้ำว่า ต้องไม่ลืมว่ากรณีของธนาธรกับการถือหุ้นวีลัคมีเดียมีวัตถุประสงค์ในการทำนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์แบบเดียวกับ ITV ที่ระบุว่ายังคงทำสื่ออยู่ แม้ในทางปฏิบัติจะไม่ได้ทำสื่อจริง

ขณะเดียวกัน คิมห์ สิริทวีชัย ผู้เป็นประธานในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ITV ประจำปี 2566 บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ได้ตอบในที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 28 เมษายน ว่าขณะนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เนื่องจากว่าไอทีวียังคงมีคดีความอยู่ หลังจากมีผู้เข้าประชุมสอบถามว่าสถานะการดำเนินการของ ITV ว่ายังประกอบกิจการสื่ออยู่หรือไม่ แต่เมื่อตรวจสอบเอกสารบันทึกการประชุมกลับมีการระบุว่า ITV ยังดำเนินการตามวัตถุประสงค์ซึ่งมีเรื่องการทำสื่ออยู่ และข้อมูลในเอกสารบันทึกการประชุมก็ไม่ตรงกับวิดีโอที่ได้มีการบันทึกไว้ อีกทั้ง ITV ที่ทำเพียงสื่อโทรทัศน์ แต่ในการส่งงบประมาณไตรมาสแรกเมื่อปีที่แล้วกลับมีการระบุว่าตนเป็นสื่อโฆษณา จึงเกิดคำถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ผศ.ดร.ปริญญา ชี้ว่า ประเด็นที่ผิดสังเกตต่อมา คือลักษณะการดำเนินการที่แปลก ๆ เช่น หากหลังวันที่ 28 เมษายน จนถึง 14 พฤษภาคม หรือหลังจากช่วงเวลานั้นไปอีกหน่อยพิธายังถือหุ้น ITV อยู่ และบริษัทไอทีวียังคงทำสื่อโฆษณา ITV ก็จะกลายเป็นสื่อโดยปริยายเนื่องจากมีการดำเนินการแล้ว ทว่ากรณีดังกล่าวจะมาตกหนักที่ประธานคิมห์ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณาว่าเห็นความไม่ชอบมาพากลในประเด็นนี้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ก็ยืนยันว่าเอกสารบันทึกการประชุมนั้นเป็นเท็จแน่นอน ความเป็นจริงในการประชุมผู้ถือหุ้นวันนั้นอยู่ในวิดีโอที่ระบุว่า ITV ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ ซึ่งการจะทำให้ ITV เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เว้นแต่จะมีการตีความตามวัตถุประสงค์ว่าเป็นสื่อ

อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญมีบรรทัดฐานวินิจฉัยคำร้องในปี 2563 หลังจากคดีของธนาธรผ่านไป 1 ปี โดยมี ส.ส. ฟากรัฐบาลถูกร้องถึง 29 คนซึ่งใน 29 คนนั้นมีจำนวนหนึ่งที่ถือหุ้นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ระบุว่าทำสื่อ ซึ่งศาลได้วางหลักเจตนารมณ์ตาม ม.98 (3) ห้ามมิให้ สส. เป็นเจ้าของหรือว่าถือหุ้นสื่อ แต่ศาลก็ดูด้วยว่าบริษัทดังกล่าวมีการดำเนินการเป็นสื่อ และมีรายได้จากการทำสื่อหรือไม่ ดังนั้นกรณี ITV ที่มีวัตถุประสงค์ในการเป็นสื่อก็ต้องดูด้วยว่ามีการดำเนินการเป็นสื่อจริงหรือไม่ ซึ่งหากว่ามีการดำเนินการเป็นสื่อจริงก็จะเข้าองค์ประกอบ

เป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่เจ้าของหุ้น

ผศ.ดร.ปริญญา ระบุว่า เมื่อตรวจสอบความเป็นเจ้าของหุ้นของพิธา จะพบว่า พิธามีสถานะเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งผู้จัดการมรดกคือการ ‘ถือแทน’ แม้จะเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นทายาทของผู้ถือครองหุ้นอยู่ด้วย แต่เนื่องจากมรดกนั้นยังไม่ได้มีการแบ่งแต่อย่างใดจึงไม่ทราบว่าใครอยู่ในส่วนไหนของมรดกนั้น ซึ่งตามกฎหมายแพ่งไม่นับว่าถือหุ้น

อีกทั้งจำนวนการถือหุ้นของพิธานนั้นน้อยมาก ประมาณ 0.0035% ซึ่งมีคำวินิจฉัยที่เป็นบรรทัดฐานของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งคดีของชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งใน จ.นครนายก ที่ถูกระบุว่าถือหุ้น AIS โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหุ้นที่ชาญชัยถือนั้นมีจำนวนน้อย ไม่สามารถมีอิทธิพลใด ๆ กับสื่อได้ จึงไม่นับเป็นการถือหุ้นสื่อ หากเอาบรรทัดฐานนี้มาใช้กับกรณีของพิธาที่สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพียง 0.0035% คำวินิจฉัยก็จะเหมือนกัน คือไม่นับว่าถือหุ้นสื่อ ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลต้องเอาเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นตัวตั้ง การบอกว่าถือหุ้นจะน้อยจะมากก็คือถือหุ้นแล้วนั้นแปลว่าไม่สนใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ร้องก่อน-หลังเลือกตั้ง ไม่ได้ใช้ศาลเดียวกันในการวินิจฉัยคำร้อง

ผศ.ดร.ปริญญา ระบุว่า ข่าวกรณีพิธาถือหุ้นสื่อมีมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งปี 66 ซึ่งหาก กกต.ตรวจพบขณะนั้น และส่งให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าควรสิทธิ์ในการรับสมัครเลือกตั้งหรือไม่ ศาลฎีกาก็จะวินิจฉัยพิธาในบรรทัดฐานเดียวกันกับคดีของชาญชัย ทว่า กกต.ก็ปล่อยให้ล่วงเลยมาจนถึงการเลือกตั้ง ซึ่งในช่วงก่อนเลือกตั้งนั้นอำนาจการวินิจฉัยคดีต่าง ๆ เป็นของศาลฎีกา แต่หลังเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ คำถามคือ 2 ศาลจะมีมาตรฐานคำตัดสินโดยใช้บรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่ นี่คือปัญหา

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.ปริญญา ชี้ว่า ทั้งหมดที่พูดมาเป็นเรื่องที่ว่าด้วยความเป็นธรรม ซึ่งใครก็ตามที่โดนคดีในลักษณะเดียวกันก็ควรที่จะใช้หลักการวินิจฉัยเดียวกัน ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้นมันจะไม่ใช่เพียงขาดความเป็นธรรมกับผู้ถูกร้อง แต่รวมถึงความเป็นธรรมกับผู้เป็นเจ้าของประเทศที่เลือกเขาเข้าไปเป็นสส. หากเขาไม่ได้ผิดจริง ผศ.ดร.ปริญญา ทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตามเมื่อดูจากคำวินิจฉัยของหลายคดีก่อนหน้านี้ก็อาจจะไม่สามารถทำให้เรามั่นใจ ในฐานะที่เป็นอาจารย์กฎหมาย หากเป็นข้อสอบก็ต้องฟันธงว่าต้องยกคำร้อง ทั้งนี้ไม่ทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีอะไรมากกว่านี้หรือไม่

สำหรับการยุบพรรคก้าวไกลเพราะแก้ไขม.112 ผศ.ดร.ปริญญา ระบุว่า การแก้ไขไม่เท่ากับล้มล้าง โดยยกการแก้ไข ม.112 โดยคณะปฏิวัติ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หลัง พล.อ.สงัด ชลออยู่ ประกาศยึดอำนาจ และออกคำสั่งที่มีเนื้อหารวมการแก้ไข ม.112 โดยเพิ่มโทษจำคุกจากเดิมไม่เกิน 7 ปี และหากศาลเห็นว่าการกระทำเป็นสถานเบาจะลงโทษต่ำกว่านั้นก็ได้ เป็นโทษสูงสุด 15 ปี ซึ่งหากว่าการแก้ไข ม.112 เท่ากับล้มล้าง แปลว่าพฤติการณ์ของคณะปฏิวัติ 6 ตุลาคมก็เท่ากับล้มล้างการปกครองหรือไม่?

ผศ.ดร.ปริญญา เสริมว่า ในทางการเมืองผู้มีอำนาจอาจต้องพิจารณาประเด็นการยุบพรรคก้าวไกล เนื่องจากก่อนหน้าที่ก้าวไกลยังเป็นอนาคตใหม่ซึ่งถูกยุบไปก็ได้รับที่นั่งในสภาฯ เพิ่มขึ้นเกือบคูณสอง จึงจะชี้ว่าหากยุบพรรคก้าวไกลอีกครั้ง จำนวนที่นั่งก็อาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ที่จะเข้ามาเติมคะแนนอีก 4 ล้านคนในอีก 4 ปีข้างหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งหากผู้มีอำนาจคำนึงถึงการเติบโตนี้อาจตัดสินใจไม่ยุบพรรคก้าวไกล และศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องตัดสินตามข้อกฎหมาย โดยไม่มีเรื่องของการเมือง

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญก็มาจากผู้ยึดอำนาจโดยมีพรรคอนาคตใหม่และก้าวไกลเป็นปฏิปักษ์ ก็อดที่จะมองไม่ได้ว่านี่จะเป็นการสกัดแข้งขาพรรคก้าวไกลหรือไม่ ประกอบกับผลลัพธ์ทางการเมืองที่เมื่อยุบไปแล้วดันไปเพิ่มแต้มให้กับก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งหน้า จึงจะดีกว่าหากปล่อยให้ก้าวไกลมีความนิยมลดลงด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด หรืออาจจะเกิดจากการสอยเป็นคน ๆ ไปจะเกิดขึ้นได้มากกว่า เช่น คดีความต่าง ๆ ที่ สส.ก้าวไกลมีอยู่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า