SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาทนายความฟ้องคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) ต่อศาลปกครอง ในกรณีคดีพิพาทกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังคณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัยให้สภาทนายความแก้ไขกฎการแต่งกายเพื่อรองรับความหลากหลายทางเพศ

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เว็บไซต์ศาลปกครองกลาง เผยแพร่บัญชีการฟ้องคดี ปรากฎคดีหมายเลขดำที่ 1726/2565 ของศาลปกครองกลาง งานคดีปกครอง ระบุสภาทนายความในประบรมราชูปถัมภ์ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ฟ้อง คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เรื่องตามกรณีข้อพิพาทเป็นคดีเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้สื่อข่าว workpointTODAY พยายามติดต่อ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทย 2 ครั้ง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและมูลเหตุการฟ้อง ครั้งแรกนายกสภาทนายความฯ ระบุว่ายังไม่สะดวกให้สัมภาษณ์ ต่อมาติดต่อไม่สำเร็จ

อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดว่ามูลเหตุการฟ้องเป็นผลมาจากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 คณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัยที่ 04/2565 ให้สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ หนึ่งในคำวินิจฉัยกำหนดให้ “ผู้ถูกร้องทั้งสองกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติ อาทิ ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติเพื่อรับรองสิทธิของบุคคลที่มีการแสดงออกทางเพศแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดให้สามารถแต่งกายตามเพศสภาของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายในการเข้าอบรม ฝึกงาน การเข้าสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ หรือสอบวัดผลอื่น ๆ หรือการเข้ารับประกาศนียบัตร ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความเมื่อสำเร็จการอบรม โดยให้มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ต้องไม่มีการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการจำกัดสิทธิที่เป็นการขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558” และให้มีการดำเนินการภายในกรอบระยะเวลา 90 วัน ให้แล้วเสร็จหลังจากได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ซึ่งกำหนดเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่ 3 สิงหาคม 2565

คำวินิจฉัยดังกล่าวมาจากคำร้องของ ชิษณ์ชาภา พานิช นักกฎหมายข้ามเพศหนึ่งในผู้เข้ารอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ที่ร้องขอให้

  1. สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ แก้ไขกฎ ประกาศ หรือระเบียบทั้งหมด จากคำว่า “ชาย” เป็น “เพศสภาพชาย” และคำว่า “หญิง” เป็น “เพศสภาพหญิง” 
  2. ขอให้สภาทนายความและสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความอนุญาตให้บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิแต่งกายเข้าสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ สอบวัดผลอื่นๆ หรือเข้ารับประกาศนียบัตร ตามอัตลักษณ์ทางเพศของตนได้ โดยต้องแต่งกายในลักษณะสุภาพเรียบร้อย และขอให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ก่อนคำวินิจฉัยออกในวันที่ 27 เมษายน 2565 ชิษณ์ชาภาต้องเข้าสอบขอใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ภาคทฤษฎี ในวันที่ 26 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่คุมสอบระบุว่า เธอแต่งกายผิดระเบียบคุมสอบและขอให้เธอเซ็นใบรับทราบว่าแต่งกายผิดระเบียบระหว่างการสอบ ทั้งนี้เธอผ่านการสอบในครั้งนั้นและกำลังจะเข้าสู่การสอบ ภาคปฏิบัติ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2565 

“ถ้ากฎยังไม่แก้ การแต่งหญิงของเราก็ย่อมเป็นการผิดระเบียบอยู่ซึ่งย่อมเป็นการเปิดช่องให้กรรมการใช้ดุลพินิจลงโทษให้ออกจากห้องสอบหรือถูกตัดคะแนนข้อสอบ หรือไม่ก็โดนทักท้วงในระหว่างทำข้อสอบเพื่อให้เซ็นรับทราบว่าใส่กระโปรงเข้าสอบ ผิดระเบียบ ท่ามกลางผู้เข้าสอบอื่น ๆ ทำให้อับอาย ได้อยู่” ชิษณ์ชาภา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว workpointTODAY

คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติกับความท้าทายเพื่อสร้างความเท่าเทียม

คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ อยู่ภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สพท.) ก่อตั้งโดยอาศัยอำนาจกฎหมายพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยปัญหาที่มีการยื่นคำร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ กำหนดมาตรฐานชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยเพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ ออกคำสั่ง ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด

รายงานล่าสุดที่จัดทำในปี 2563

ชี้ว่ามีการรับคำร้องในตลอด 5 ปีหลังจากมีการบังคับใช้กฎหมายจำนวน 27 คำร้อง ผู้ร้องส่วนใหญ่เป็นหญิงข้ามเพศ ตามมาด้วยหญิงตามเพศกำเนิดและชายข้ามเพศ ไม่มีผู้ร้องเป็นเพศชาย 

อย่างไรก็ดี การบังคับใช้กฎหมายไม่ราบรื่นเสมอไป ที่ผ่านมาเกิดกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง มีกรณีพิพาทที่ขึ้นสู่ศาลปกครองอย่างน้อย 5 คดี ในกรณีคดีเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีผู้ฟ้องได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ตามปรากฎในเว็บไซต์ศาลปกครอง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสภากาชาด 

ในเดือนกันยายน 2565 นี้ศาลปกครองสูงสุดจะมีการอ่านคำพิพากษาระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หลังมีการอุทธรณ๋ไปยังศาลปกครองสูงสุดและรับคำฟ้องเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า