Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เพราะชีวิตต้องการหลุดพ้นจากความลำบาก ความยากจนเพื่อมีอนาคตและโอกาสในชีวิต ‘บุญ’ ที่อาศัยอยู่ใน รัฐฉาน เมียนมาจึงต้องตัดสินใจพาตัวเองเข้ามาในประเทศไทย วัยเด็กของ บุญ ผ่านความยากลำบากไม่น้อย พ่อแม่ของเขาแยกทางกันตั้งแต่เขายังเด็กเขาจึงตกอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อในเมียนมา ขณะที่แม่ของเขาย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทย

ด้วยเงื่อนไขของฐานะครอบครัว เขาไม่มีโอกาสสำเร็จการศึกษาระดับสูง การตัดสินใจออกจากหมู่บ้านเพื่อไปบวชเรียนที่วัดในเมือง ณ ขณะนั้น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เขาได้เรียน แต่หลังบวชได้ไม่นานก็เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในรัฐ ทำให้เขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องย้ายกลับบ้าน ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น เศรษฐกิจในเมียนมาก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก นำไปสู่ภาวะซบเซาและอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะไขว่คว้าชีวิตที่ดีขึ้น ปราศจากความวิตกกังวัลและห่างไกลความยากจน บุญจึงย้ายไปอยู่กับแม่ในประเทศไทย 

หลังระหกระเหินจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ในรัฐฉาน เมียนมา บุญในวัย 33 ปีใช้ชีวิตเกือบครึ่งไปกับการทำงานในภาคเกษตรกรรมของพื้นที่ภาคเหนือในประเทศไทยด้วยการทำ สวนลำไยและฝรั่ง ซึ่งการใช้ชีวิตในต่างแดนท่ามกลางภาษาที่ไม่คุ้นชิน ก็พร้อมความท้าทายของบุญ

ซึ่งนอกจากงานในสวนลำไยและฝรั่ง บุญ ก็เป็นผู้นำชุมชนผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาด้วย สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้บุญมีรายได้ที่มั่นคงและช่วยเหลือแม่ของเขาเท่านั้น แต่มันยังทำให้เขาใกล้ชิดกับชุมชนผู้ย้ายถิ่นผู้บากบั่นทำงานเพื่อพลิกชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นด้วย

บุญเป็นผู้นำชุมชนผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาที่ทำงานในฟาร์มในจังหวัดลำพูน ประเทศไทย
ภาพ: ไอโอเอ็ม 2566/อนุชมา เชรสธา

ฝรั่งที่เพิ่งเก็บสด ๆ จากฟาร์มกำลังถูกส่งผ่านไปรอบ ๆ เมื่อบุญมาถึงศูนย์ฝึกอบรมพร้อมกับผู้นำชุมชนแรงงานข้ามชาติอีก 15 คนในจังหวัดลำพูน ประเทศไทย ด้วยความพร้อมสำหรับอีกวันหนึ่งของการฝึกอบรมเรื่องความช่วยเหลือทางกฎหมาย ที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงานและสิทธิที่พึงได้รับต่าง ๆ ในฐานะแรงงานข้ามชาติ

“การขาดการเข้าถึงข้อมูลเรื่องสิทธิแรงงานและกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสิ่งทำให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากอย่างพวกเราหันมาใช้ช่องทางนายหน้า ซึ่งมักจะนำไปสู่หนี้สินและการแสวงหาผลประโยชน์”

บุญกล่าวขณะเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกอบรมที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

“การทำความเข้าใจกฎหมายและข้อบังคับด้านแรงงานและการย้ายถิ่นในประเทศใด ๆ ก็ตามนั้นมีความซับซ้อน พอมีกำแพงภาษา มันก็ยากยิ่งยากขึ้นไปอีก” เขากล่าว “การฝึกอบรมแบบนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราเข้าใจสิทธิของเรา  แต่ยังช่วยให้เข้าถึงความยุติธรรมกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิอีกด้วย”

ตั้งแต่ปี 2565 ไอโอเอ็มได้ให้การสนับสนุนภาครัฐและหน่วยงานภาคีในภาคประชาสังคม ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายแรงงานแก่แรงงานข้ามชาติ ผ่านการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และการฝึกอบรมในชุมชน หัวข้อของการฝึกอบรมนั้นครอบคลุมถึงการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย การเข้าถึงความยุติธรรมและบริการทางสังคม สิทธิแรงงานและสิทธิที่พึงได้รับต่าง ๆ กระบวนการจ้างงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย

บุญแสดงความตั้งใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนผู้ย้ายถิ่นให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ภาพ: ไอโอเอ็ม 2566/อนุชมา เชรสธา

“แรงงานข้ามชาติที่ถูกละเมิดสิทธิต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายประการที่ทำให้ยากต่อการเข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่กลไกที่มีอยู่ก็ไม่สามารถไปถึงมือแรงงานข้ามชาติ อาจเป็นไปได้ว่าพวกเขากลัวการถูกปฏิเสธข้อร้องทุกข์หรือถูกส่งตัวกลับประทศเมื่อพวกเขายื่นเรื่อง”

แม็กซิมิเลียน พอตเลอร์ หัวหน้าฝ่ายการเคลื่อนย้ายแรงงานและบูรณาการทางสังคมของ ไอโอเอ็มประเทศไทย กล่าว

“การฝึกอบรมแรงงานข้ามชาติเกี่ยวกับวิธีเข้าถึงและดำเนินตามกลไกการร้องทุกข์ที่มีอยู่  และวิธีการเข้าถึงความช่วยเหลือ เป็นขั้นตอนแรกสำหรับพวกเขาให้เข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ และสามารถมีสภาพการทำงานที่ดี”

บุญเล่าถึงความท้าทายที่เขาเผชิญเมื่อต้องจดทะเบียนใบอนุญาตทำงานโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ
ภาพ: ไอโอเอ็ม 2566/อนุชมา เชรสธา

“เราเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงชุมชนผู้ย้ายถิ่นคือผ่านตัวผู้ย้ายถิ่นเอง ด้วยแนวทางการฝึกอบรมวิทยากร (TOT) เราจะเลือกผู้นำชุมชนผู้ย้ายถิ่นาอบรม ผู้ที่ผ่านการอบรมแล้วก็จะสามารถแนะนำผู้ย้ายถิ่นคนอื่น ๆ เกี่ยวกับวิธีการและแหล่งข้อมูลและความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อไปได้”

ไซ ชาว เมียน ผู้ประสานงานโครงการเพื่อการศึกษา มสพ. อธิบาย

เมื่อต้องเผชิญอุปสรรคทางกฎหมายด้วยตัวเองตอนที่เขาเดินทางไปจดใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย บุญเข้าใจถึงความเสี่ยงในการสูญเสียสถานะทางกฎหมาย และช่องว่างทางข้อมูลข่าวสารที่แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญเมื่อต้องพักอาศัยและทำงานในประเทศไทย บุญเชื่อมั่นว่า ความรู้เหล่านี้จะส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติสามารถพึ่งพาตนเองได้

“ข้อมูลที่ถูกต้องและทักษะรอบตัวไม่เพียงแต่จะช่วยให้แรงงานข้ามชาติเข้าใจรากของปัญหา แต่ยังช่วยให้พวกเขาชี้ช่องทางแก้ไขปัญหาได้ และยังนำไปสู่การลงมือแก้ไขปัญหาได้จริง”

บุญมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความรู้ชุดนี้ให้เพื่อนสมาชิกในชุมชน เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคแบบเดียวกับที่เขาเคยเผชิญและสามารถเข้าถึงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ นับแต่วันนั้นถึงวันนี้ บุญได้ให้การสนับสนุนแรงงานข้ามชาติในชุมชนของเขาไปแล้วห้าคน  ให้เข้าถึงการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน การโยกย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นปกติ และการเข้าถึงกองทุนประกันสังคม

ไอโอเอ็มและเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมแนะนำให้ผู้นำชุมชนผู้ย้ายถิ่นเข้าถึงกองทุนยุติธรรมเมื่อพวกเขาต้องการร้องทุกข์
ภาพ: ไอโอเอ็ม 2566/อนุชมา เชรสธฐา

เขาหวังว่าเขาจะสามารถเป็นกำลังให้ผู้ย้ายถิ่นฐานในชุมชนได้ยืนหยัดด้วยตนเอง  ให้พวกเขาสามารถปกป้องสิทธิของตน เข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายได้เมื่อเกิดกรณีละเมิดสิทธิแรงงาน เมื่อการฝึกอบรมสิ้นสุดลง บุญแบ่งปันถึงความรักในการทำสวนผลไม้และความมุ่งมั่นที่จะกลับไปทำสวนฝรั่งในเมียนมาสักวันหนึ่ง เพื่อให้เขาสามารถสร้างโอกาส
ในการทำงานมากขึ้นในชุมชนบ้านเกิดของเขา

การลงพื้นที่ชุมชนผู้ย้ายถิ่นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของไอโอเอ็มประเทศไทย เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น

 

บทความนี้เขียนโดยอนุชมา เชรสธา รองเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อและการสื่อสาร ไอโอเอ็มประจำประเทศไทย SDG 8, 10, 16
เรียบเรียงโดย อัญชัญ อันชัยศรี





podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า