Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัจจุบัน การสูบบุหรี่ไฟฟ้า ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่เริ่มต้นสูบกันตั้งแต่วัยประถมศึกษาตอนปลาย ถึงมัธยมตอนต้น อายุเฉลี่ยไม่เกิน 15 ปี ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ที่มักจะเริ่มเป็นนักสูบหน้าใหม่กันเมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ทำให้หลายภาคส่วนต้องเร่งสานพลัง และประสานความร่วมมือผ่านโครงการต่างๆ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนที่สุด เพราะโทษของบุหรี่ไฟฟ้านั้น สามารถสร้างผลกระทบต่อตัวผู้สูบ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ได้มากกว่าที่คิด

โดยหนึ่งในนั้นคือ “ชุมชนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ สร้างสังคม ลด ละ เลิกบุหรี่ ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในระดับชุมชน” โครงการล่าสุดจากความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ 1,794 อปท. ทั่วประเทศ ที่เพิ่งประกาศ Kick off ไปเมื่อไม่นานนี้ 

สถิติชี้เด็กเยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด

สำหรับข้อมูลที่ช่วยยืนยันได้ว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาใหญ่ ที่กำลังจะเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นภาวะวิกฤติ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที .นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้เปิดเผยในงาน Kick off โครงการฯ ว่า มาจากผลสำรวจของการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทย (Global Youth Tobacco Survey : GYTS) ในปี 2565 ที่ระบุว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนไทย เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จาก 3.3% ในปี 2558 เป็น 17.6% ในปี 2565 หรือคิดเป็น 5.3 เท่า 

ประกอบกับการมีหลักฐานทางการแพทย์มากมายที่ชี้ให้เห็นว่าโทษของบุหรี่ไฟฟ้านั้นอันตรายไม่น้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาและสามารถเป็นต้นเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่นโรคมะเร็งโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดสมองฯลฯได้ไม่ต่างกันอีกทั้งเด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสเสพติดหนักและเลิกสูบได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ธรรมดาแต่เด็กและเยาวชนก็ยังคงสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันอยู่ด้วยความอยากรู้อยากลองและความเข้าใจผิดที่ถูกส่งต่อกันมาดังนั้นปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้จึงเปรียบได้กับระเบิดเวลาลูกใหม่ที่หากไม่เร่งกอบกู้หรือเร่งแก้ไขก็จะสร้างผลกระทบตามมาได้อีกมากมาย

หลายคนเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิม เพราะไม่มีการเผาไหม้เกิดขึ้น แต่ความจริงแล้วมันอันตรายไม่ต่างกัน เพราะบุหรี่ไฟฟ้ายังคงมีสารนิโคติน ที่มีฤทธิ์เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และการหลั่งโดปามีน ที่เป็นสารสื่อประสาทความสุขในสมอง ซึ่งจะทำให้ผู้สูบมีภาวะตื่นตัวชั่วขณะหนึ่ง แต่เมื่อหมดฤทธิ์ ก็จะทำให้เกิดการโหยหา จนต้องสูบบุหรี่บ่อยขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างโดปามีนตามธรรมชาติได้ รวมถึงมีสารอันตรายอื่นๆ อีกมาก เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ สาร VOCs สมองของเด็กและเยาวชน จะเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบเหล่านี้มากที่สุด เนื่องจากยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่.นพ.ประกิต กล่าว

กลยุทธ์การตลาดคือต้นเหตุสำคัญ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีเหตุผลมากมายที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนคนหนึ่งเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป จะพบว่าทุกเหตุผลนั้นล้วนมาจากต้นเหตุสำคัญอย่างกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่โดย รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สิ่งที่นักสูบหน้าใหม่และหน้าเก่าหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน คือ บุหรี่ไฟฟ้ามีต้นกำเนิดมาจากบริษัทผลิตบุหรี่แบบดั้งเดิม ที่พยายามปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันยุคสมัย เพื่อทำให้ผู้บริโภคยังคงสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1. สร้างการรับรู้ 2. สร้างการยอมรับ 3. เพิ่มการเข้าถึง และ 4. จำหน่ายในราคาที่จับต้องได้

เราจึงจะเห็นได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าในทุกวันนี้ถูกออกแบบมาให้มีกลิ่นและรสชาติที่หลากหลายมากขึ้นไม่ส่งกลิ่นเหม็นเหมือนบุหรี่มวนและมีแพ็คเก็จจิ้งที่กลมกลืนกับสิ่งของในชีวิตประจำวันอีกทั้งยังวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในโลกออนไลน์และร้านค้าออฟไลน์และจำหน่ายในราคาที่ถูกลงเรื่อยๆทำให้หลายคนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีกล้าทดลองใช้กล้าพกพาติดตัวไปด้วยทุกที่และกล้าที่จะรีวิวบอกต่อหรือชักชวนกันในโลกออนไลน์จนเกิดเป็นการเสพติดการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันเป็นวงกว้างและอาจส่งผลให้หันมาอุดหนุนบุหรี่มวนแบบดั้งเดิมควบคู่ไปด้วย

ท้ายที่สุดแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้จะมีเพียงผู้ประกอบการบริษัทบุหรี่เท่านั้นขณะที่นักสูบหน้าใหม่และหน้าเก่าต้องเสียทั้งสุขภาพและเงินในกระเป๋าส่วนภาคเศรษฐกิจและสาธารณสุขของประเทศก็ต้องแบกรับภาระค่าใช้อย่างมหาศาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยจากการสูบบุหรี่

เริ่มแก้ไขที่ระดับชุมชน

จากเหตุผลต่างๆ ข้างต้น ทำให้สสส. มีความตั้งใจที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาที่ต้นทางนั่นคือการควบคุมยาสูบในระดับชุมชนท้องถิ่นหน่วยย่อยของสังคมที่สามารถเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้ได้

ทั้งนี้ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสสกล่าวถึงภาพรวมในการดำเนินงานของ สสส. ว่า จุดเน้นในการดำเนินงานควบคุมยาสูบของ สสส. คือการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน ครอบครัว ในการดำเนินงานควบคุมยาสูบ โดยในระยะที่ผ่านมา สสส. ได้สนับสนุนให้ชุมชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กว่า 1,794 แห่ง ทั่วประเทศ ดำเนินงานดูแลสุขภาพชุมชน ควบคุมยาสูบ สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน และได้สนับสนุนมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ดำเนินโครงการพัฒนาสมรรถนะนักขับเคลื่อนนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบระดับท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นองค์กรหลักที่ดูแลประชาชนในชุมชนท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการลดอัตราการสูบบุหรี่ให้สำเร็จ ต้องอาศัยศักยภาพ และพลังของเครือข่ายนักรณรงค์ในระดับท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับทราบสถานการณ์ และร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมพื้นที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ทั้งด้านการพัฒนากำลังคน การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ การบังคับใช้กฎหมาย และการบำบัดรักษาผู้ติดบุหรี่ ทั้งนี้ กิจกรรม Kick Off ชุมชนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสานพลัง และการสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นในการร่วมขับเคลื่อนการทำงานเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ นำไปสู่การลดอัตราการสูบบุหรี่ในระดับพื้นที่ในอนาคต” 

ทั้งนี้ สิ่งที่สสส. และภาคีเครือข่าย จะทำร่วมกันต่อเนื่อง มี 4 ด้านด้วยกัน คือ 1. คือการป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ 2. ลดจำนวนนักสูบรายเดิม 3. สร้างสภาแวดล้อมที่เอื้อต่อการไม่สูบบุหรี่ และ 4. พัฒนาศักยภาพคนทำงาน และกลไกการควบคุมยาสูบ

เริ่มนำร่องที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม

ก่อนการ Kick off โครงการไปทั่วประเทศ สสส. และภาคีเครือข่าย ได้เริ่มนำร่องในพื้นที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม และมีผลลัพธ์เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 

โอกาสนี้ นายกเทศมนตรี พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้สรุปมาตรการการทำงานไว้ดังนี้

      • สร้างนโยบายสาธารณะ ทำ MOU ร่วมกัน
      • สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่
      • เสริมสร้างชุมชนแข็งแรง จัดทำแผนชุมชนปลอดบุหรี่ เช่น ตลาดปลอดบุหรี่ ชุมชนปลอดบุหรี่ และจัดตั้งคณะทำงานชุมชน 
      • พัฒนาทักษะส่วนบุคคลของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
      • ปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลรักษา และการบำบัดฟื้นฟู ผู้สูบบุหรี่

ซึ่งมาตรการทั้งหมดทำให้ปัจจุบันเกิดบ้านปลอดบุหรี่แล้วกว่า 2,307 หลัง มีบุคคลต้นแบบกว่า 60 คน ชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน ร้านค้าปลอดบุหรี่ 305 ร้าน มีตาสับปะรด คอยสอดส่องดูแล 775 คน มี อสม. และ อพปร. ที่คอยเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาบุหรี่ และยาสูบอื่นๆ กว่า 850 คน

ทั้งนี้ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมหาสารคาม เน้นย้ำว่า การจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แบบนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันกับการทุกฝ่าย ตั้งแต่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลของคนในชุมชน การนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางแผนการทำงาน ตลอดจนการติดตาม และประเมินผลอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม การ Kick off ชุมชนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ สร้างสังคม ลด ละ เลิกบุหรี่ ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในระดับชุมชน ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับการทำงานเดิมของสสส. และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศไทย ที่ร่วมกันสร้างสังคมปลอดบุหรี่ มานานนับสิบปี ไปสู่ความท้าทายที่มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักสูบหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในภาพรวมจาก 17.4% ให้เหลือ 14% และทำให้เด็ก เยาวชนไทย ห่างไกลบุหรี่ทุกรูปแบบ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า