Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

น่าห่วง! สสส. ผนึกคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดข้อมูลภัยคุกคามทางออนไลน์ พบ ปี 66 คนไทยถูกหลอกลวงทางออนไลน์กว่า 36 ล้านคน มูลค่าความเสียหายราว 50,000 ล้านบาท แนะหน่วยงานเร่งปราบปรามภัยคุกคามออนไลน์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการ “ภัยคุกคามทางออนไลน์ สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางรับมือ” เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา 

นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. กล่าวถึงสถานการณ์ภัยคุกคามทางออนไลน์ในประเทศไทย โดยข้อมูลจากงานวิจัยโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ปี 2566 พบว่า ประชากรไทยกว่า 36 ล้านคนเคยถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และกว่า 50% ตกเป็นผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมาก หากวิเคราะห์โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 4 ช่วงวัย ทำให้เห็นความเสี่ยงและผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น กลุ่ม Gen Y แม้จะรู้วิธีการป้องกันความเสี่ยงจากภัยออนไลน์มากกว่ากลุ่มอื่น แต่มีอัตราการตกเป็นผู้เสียหายสูงกว่าคนกลุ่มอื่น

“โลกออนไลน์มีทั้งคุณประโยชน์และโทษ เช่น อาชญากรรมออนไลน์ การหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามสำคัญ สสส. จึงได้ริเริ่ม ผลักดัน สานพลังการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมแก้ไขปัญหา โดยสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัย การออกแบบวิธีการรับมือกับภัยคุกคามออนไลน์ สร้างความรู้เท่าทันสถานการณ์ และส่งเสริมการปราบปรามที่เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี” นายวิเชษฐ์ กล่าว

รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามทางออนไลน์ กล่าวว่า จากการสำรวจสถานการณ์การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ของประชากรไทยอายุ 15-79 ปี ระหว่างวันที่ 21 ก.ค.- 31 ส.ค. 2566 รวม 6,973 ตัวอย่าง จาก 24 จังหวัด พบว่า คนไทยกว่า 36 ล้านคนถูกหลอกลวงออนไลน์ในรอบปี 2566 ในจำนวนนี้เกินครึ่งหรือประมาณ 18.37 ล้านคน ตกเป็นผู้เสียหาย โดยเฉพาะกลุ่มคน Gen Y เป็นกลุ่มถูกหลอกที่มีจำนวนผู้เสียหายมากที่สุดและมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด 

สำหรับประเภทการหลอกลวงที่พบจำนวนผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายมากที่สุดอยู่ในกลุ่มซื้อสินค้าออนไลน์และหลอกให้ลงทุน รองลงมาคือ หลอกรับสมัครงาน/ให้ทำงานออนไลน์/ทำภารกิจออนไลน์, หลอกว่ามีพัสดุตกค้าง, หลอกเป็นคนรู้จักโดยปลอมหรือแฮคบัญชีหรือ, หลอกว่าคนรู้จักกำลังมีปัญหา, หลอกให้กู้/แอปเงินกู้ผิดกฎหมาย, หลอกเรียกเก็บเงิน/อ้างว่าค้างจ่ายค่าบริการต่างๆ และหลอกให้รักออนไลน์ 

ด้านอัตราการตกเป็นผู้เสียหาย พบว่า การหลอกลวงที่ถูกหลอกสำเร็จและมีผู้ตกเป็นผู้เสียหายมากที่สุดได้แก่ หลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ โดยให้โอนเงินค่าประกันหรือค่าดำเนินการพบอัตราการตกเป็นผู้เสียหายมากที่สุด 35.6% มีมูลค่าความเสียหายต่อคนมากที่สุด 31,714 บาท ปี 2566 ความเสียหายจากการถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์มีมูลค่าประมาณ 49,845 ล้านบาท เฉลี่ย 2,660.94 บาท/คน 

นอกจากนี้ ผู้เสียหายยังได้รับผลกระทบด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กลัวถูกคนใกล้ชิดกล่าวโทษจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขาดความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ เช่น ไม่กล้ารับเบอร์แปลก/เบอร์ที่ไม่รู้จัก/ไม่มีในรายชื่อ เลี่ยงการใช้แอปพลิเคชันที่มีการให้กรอกข้อมูลส่วนตัว กังวลในการซื้อสินค้าออนไลน์/ซื้อสินค้าออนไลน์น้อยลง 

และที่สำคัญคือยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้เสียหายมักโทษตัวเองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 61.3% หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลายเป็นคนที่หวาดกลัวต่อการดำรงชีวิต 43.9% รู้สึกสิ้นหวังและไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไป 22.6% และพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อช่วยเยียวยาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 13.5%

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า