Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สมาชิกรัฐสภาต่างนำเสนอทางออกปัญหาบ้านเมืองอย่างหลากหลาย นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยวิสามัญ ระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

วันที่ 26 ต.ค.2563 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมัยวิสามัญ เพื่อรับฟังความเห็นจากสมาชิกรัฐสภาหาทางออกของประเทศ โดยไม่มีการลงมติตามมาตรา165 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยตลอดทั้งวันการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาได้นำเสนอความเห็นอย่างหลากหลาย โดยต่างเห็นว่าปัญหาสำคัญของบ้านเมืองขณะนี้ คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่หลายฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวญัตติเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ โดยสรุปเป็นการชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เนื่องจากเกิดการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. ส่อยืดเยื้อ จึงทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 ต.ค. ถึง 13 พ.ย. แต่ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาสถานการณ์ก็ได้มีประกาศยกเลิกไปแล้ว

นายกรัฐมนตรี ระบุด้วยว่า พยายามดูแลสถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยใช้กฎหมาย อะลุ่มอลวย ผ่อนผัน แต่การชุมนุมยังขยายตัว สำหรับข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำและผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุม ศาลได้ปล่อยตัวหลายรายแล้ว อย่างไรก็ตามแม้การชุมนุมหลายครั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแต่บางแห่งที่มีการชุมนุมก็มีความรุนแรง รัฐบาลเป็นห่วง จึงทำให้มีการประชุมในวันนี้ เพราะไม่อยากให้เกิดความวุ่ยวายในบ้านเมืองจนนำไปสู่จลาจล รัฐบาลมีหน้าที่รักษาสิทธิของคน 70 ล้านคน ทั้งนี้เชื่อว่าการรักษาวัฒนธรรมรากเหง้าของไทยกับอนาคตที่ดีของเยาวชน น่าจะเดินไปด้วยกันได้ โดยต้องเป็นไปตามกฎหมาย รักษาสมดุลความต้องการของตนเองและคนอื่นๆ

นายสมพงษ์ได้เสนอ 3 ทางออก คือ

1.ต้องพิจารณาข้อเสนอของนักเรียนนักศึกษาอย่างจริงใจ เปิดใจรับฟังอย่างวิจารณญาณ

2.แก้รัฐธรรมนูญเป้นประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ไม่เตะถ่วง เร่งพิจารณาต้นเหตุสำคัญ

3.เร่งปลดเงื่อนไขมูลเหตุวิกฤติ เร่งปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม ปลดเงื่อนไขที่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมือง

ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวทิ้งท้ายการอภิปรายว่า “เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายจบทันที นายกฯ คืออุปสรรคสำคัญเป็นภาระประเทศ ลาออกเถอะครับ ทุกอย่างจะจบด้วยดี”

 

พล.ต.อ.เสรีพิสุทธ์ เสนอรัฐบาลเร่งแก้รธน.จี้นายกฯลาออก – ผู้ชุมนุมยกเว้นปฏิรูปสถาบัน

ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเสนอให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภา โดยวิป 3 ฝ่าย (วิปรัฐบาล, วิปฝ่ายค้าน, วิปวุฒิสภา) หารือกัน แต่งตั้ง คณะกรรมการสมานฉันท์ ลงนามโดยประธานรัฐสภา เพื่อหาทางออกให้กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรมโดยยึดหลัก 3 ข้อ คือ

1. องค์ประกอบคณะกรรมการชุดนี้ต้องมีผู้เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 7 ฝ่าย คือ

2. รัฐบาล, ส.ส.รัฐบาล, ส.ส.ฝ่ายค้าน, ส.ว., ตัวแทนผู้ชุมนุม, ผู้เห็นต่างจากผู้ชุมนุม และอื่นๆ เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ

3. แสวงหาคำตอบเป็นรูปธรรมให้ประเทศ คาดว่า แก้รัฐธรรมนูญเห็นพ้องกันได้

อะไรไม่เห็นด้วยให้แควนไว้ก่อน เพื่อหาจุดร่วม โดยหารือกันแบบจับเข่าคุยกันอย่างสร้างสรรค์ แล้วอาจจะถอยคนละก้าว คนละสองก้าว เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมค์ ที่จุดโดยรัฐสภา

ด้านพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย อภิปรายตอนหนึ่ง กล่าวว่า ให้รัฐบาลถอยหนึ่งก้าว คือยอมให้แก้รัฐธรรมนูญโดยนำร่างของประชาชนมาเป็นหลักในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 60 แต่ที่ตนจะขอนักศึกษาทั้งหลายในเมื่อรัฐบาล ยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว นักศึกษาถอยได้ไหม โดยแก้ให้หมดตามที่เสนอยกเว้นการปฏิรูปสถาบันเท่านั้น ก็ฝากทั้งรัฐบาลฝากทั้งนักศึกษาลองไปคิดกันดู

ส่วนก้าวที่ 2 แม้ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญ แต่หากพล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนอยู่เบื้องหลัง คิดว่าไม่มีทาง เพราะพล.อ.ประยุทธ์ยังคุมคณะรัฐมนตรี พรรคฝ่ายรัฐบาล ส.ว. อยู่ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยเป็นได้แค่ 4 ปี แล้วต้องเลือกตั้งใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ไม่ครบ 4 ปีด้วย แต่พล.อ.ประยุทธ์ เป็นมา 6 ปีเต็มขึ้นปีที่ 7 แล้ว รู้จักพอได้หรือไม่ ถ้ารู้จักพอต้องลาออกอย่าเสพติดอำนาจ บ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อยยิ่งขึ้น

“ถ้าคุณประยุทธ์ลาออก นักศึกษาเอาไหมหยุดชุมนุม เอากันแฟร์ๆ อย่างนี้ เอ้า ผมแถมให้ด้วย คุณประยุทธ์ลาออกใช่ไหม สภายังอยู่ ผมลาออกด้วยอีกคนก็ได้ เอาไหมคุณประยุทธ์ ผมเสนอมาอย่างนี้นะครับ”

นายวิษณุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้รับฟังข้อเสนอจากกลุ่มผู้ชุมนุมและเดินหน้าสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว โดยคาดว่าขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเริ่มพิจารณาวาระแรกได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะเสร็จสิ้นทั้ง 3 วาระ ในเดือนธันวาคม 2563 โดยรัฐบาล จะขอให้เป็นการพิจารณาแบบประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อลดขั้นตอนที่จากเดิมหลังสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วต้องส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ โดยต้องมีการทำประชามติเพื่อรับฟังเสียงของประชาชน จึงจะสามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญได้ ส่วนข้อเสนออื่นที่ยังเหลืออยู่รัฐบาลยังไม่เห็นแนวทางที่จะดำเนินการได้ในระยะนี้

ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ย้ำจุดยืนยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนการใช้แนวทางสันติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยเสนอให้ที่ประชุมรัฐสภาตั้งกรรมการระดับชาติ ที่ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรต่างๆ มาทำหน้าที่ในการแสวงหาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ในบ้านเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ส่วนหนึ่งมองว่าสาเหตุของปัญหาบางส่วนเกิดจากรัฐธรรมนูญที่ต้องแก้ไขให้เป็นที่ยอมรับ

นอกจากนี้ยังมีสมาชิกรัฐสภาบางส่วนนำเสนอ 9 ข้อ เพื่อทางออกประเทศ เช่น ให้รัฐบาลใช้หลักนิติศาสตร์ เปิดเวทีพูดคุยหาทางออกประเทศ โดยจะใช้เวทีรัฐสภาหรือเวทีอื่นก็ได้ , ขอให้รัฐบาลเตรียมชี้แจงกับองค์กรระหว่างประเทศและต้องตั้งทีมจัดการกับข่าวเท็จ เพราะที่ผ่านมาการสื่อสารของรัฐบาลล้มเหลวในสื่อโซเชียล รวมทั้ง ส.ส. /ส.ว.และทุกฝ่ายควรร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการปฏิรูปการเมือง กฎหมาย การศึกษาและเปิดเวทีกลางให้ผู้ชุมนุมได้เสนอความเห็นตามเสรีภาพ หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่เสนอไปขอให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการออกเสียงประชามติฟังเสียงประชาชน

สำหรับการอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความเห็นสมาชิกรัฐสภา วันแรกนี้เบื้องต้นกำหนดกรอบเวลาไว้รวม 25 ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าการประชุมวันนี้ 26 ตุลาคม 2563 จะพักการประชุมในเวลา 22.30 น. และเวลาที่เหลือจะใช้พิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ เริ่มเวลา 09.30 น.ไปจนกว่าจะครบตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า