SHARE

คัดลอกแล้ว

เจ๊ง หรือ รุ่ง? เจ้าภาพบอลโลก

ฟุตบอลโลก 2018 กำลังจะเริ่มขึ้นช่วงกลางเดือนมิถุนายนนี้ “รัสเซีย” ในฐานะเจ้าภาพถูกจับตานอกจากการจัดการแข่งขันที่จะออกมาได้สมบูรณ์แบบแค่ไหน รวมไปถึงการจัดการภายนอกสนามและความสัมพันธ์ต่อนานาชาติที่อาจเชื่อมโยงไปถึงการเมืองระหว่างประเทศ (ดังที่มีข่าวเรื่องบอยคอตมาก่อนหน้านี้)

เรื่องของผลที่ตามมาหลังจากการจัดการแข่งขันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมีหลายชาติที่ลงทุนมหาศาลทั้งประสบความสำเร็จเป็นรูแปบบเม็ดเงิน ภาพลักษณ์ แต่ก็มีหลายประเทศที่ถือว่าล้มเหลวขาดทุนย่อยยับก็มีเช่นกัน

ฟุตบอลโลกปี 1994 ที่สหรัฐอเมริกา ครั้งแรกบนดินแดนเสรีภาพเจ้าภาพใช้เม็ดเงินลงทุนไปทั้งหมด 5.6 พันล้านดอลลาร์โดยมีแบรนด์สปอนเซอร์รายใหญ่ที่สนับสนุนคืออาดิดาสและโคคาโคลา

ตัวเลขที่น่าสนใจพบว่าแมตช์การแข่งขันรวมที่ลอสแอนเจลิสสร้างกำไรทางเศรษฐกิจรวม 623 ล้านดอลลาร์ ยังมีการจ้างงานที่เกิดขึ้นอีก 1,700 ตำแหน่งในแคลิฟอร์เนีย ขณะที่ในนิวยอร์กและซานฟรานซิสโกรวมถึงบอสตันมีรายได้รวมกัน1,045 พันล้านดอลลาร์

รวมเบ็ดเสร็จสหรัฐทำกำไรจากฟุตบอลโลก 1994 ได้สูงถึง 1.45 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้เอาเอากระแสจากฟุตบอลโลก ไปต่อยอดสร้างฟุตบอลอาชีพ “เมเจอร์ลีก ซอคเกอร์” เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1996 และดำเนินการแข่งขันมาจนถึงทุกวันนี้

 

ฟุตบอลโลกปี 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มทีมเข้าแข่งขันจาก 24 ทีมเป็น 32 ทีม และแชมป์ตกเป็นของฝรั่งเศสเจ้าภาพ

แม้ไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขการลงทุนที่ชัดเจน แต่มีการคำนวณรายได้รวมของเจ้าภาพออกมาว่าอยู่ที่ 365 ล้านดอลลาร์ โดยมีช่องทางรายได้มาจากการถ่ายทอดสดประมาณ 120 ล้านดอลลาร์และจากช่องทางการตลาดประมาณ 245 ล้านดอลลาร์ ยังส่งผลถึงการบริโภคภายในประเทศที่สูงขึ้น 1.5% ในปีดังกล่าว

2002 เกาหลีใต้/ญี่ปุ่นขาดทุนแต่ได้ภาพลักษณ์เปิดตลาดฟุตบอลเอเชีย

ฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วมและเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย โดยฟีฟ่าได้มอบเงินสนับสนุนให้ชาติละประมาณ 110 ล้านดอลลาร์ โดยทั้งสองชาติใช้เงินปรับปรุงและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งสนามการแข่งขันและสิ่งอำนวยความสะดวกชาติละไม่ต่ำกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์

โดยจากการเปิดเผยของฟีฟ่ามีการจำหน่ายตั๋วเข้าชมการแข่งขันได้มากกว่าสามล้านใบคิดเป็นรายได้ราว 1.2 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าสรุปผลการดำเนินงานออกมาตัวเลขจะขาดทุนแต่แต่ผลกระทบนั้นไม่เยอะมากเนื่องจากโครงสร้างต่างๆทั้งสองชาติมีการแบ่งค่าใช่จ่ายแยกกัน

กระนั้นสิ่งที่ได้กลับมานั้นคุ้มค่าตั้งแต่การแสดงถึงศักยภาพด้านกีฬาของทวีปเอเชีย ทำให้นักฟุตบอลญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปเล่นในต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงนักฟุตบอลต่างชาติก็เพิ่มจำนวนมาเล่นในลีกของทั้งสองชาติเพราะเห็นศักยภาพจากการจัดการแข่งขัน

ฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนี มีการใช้งบประมาณลงทุนในการดำเนินงานทั้งสิ้น 430 ล้านยูโร (ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่เยอรมนีมีความพร้อมอยู่แล้ว)ในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเยอรมนีหลายด้านโดยมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์ ยอดมูลค่าของธุรกิจค้าปลีกทะลุ 3 พันล้านดอลลาร์ การจ้างงานในประเทศพุ่งสูงขึ้น 5 แสนตำแหน่ง

หลังจากจบการแข่งขันทางสมาคมฟุตบอลเยอรมนีได้ประกาศตัวเลขปรากฏว่ามี่กำไรที่ 56.6 ล้านยูโร(หลังจากหักภาษี)ในส่วนเฉพาะของการจัดการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้นไม่ได้รวมรายไดจากช่งทางอื่นๆ ซึ่งฟุตบอลโลกปี 2006 ยังเป็นจุดเริ่มต้นของ

ฟุตบอลเยอรมนียุคใหม่ทั้งรูปแบบการเล่นที่น่าตื่นเต้น ส่งผลต่อกระแสความนิยมต่อฟุตบอลบุนเดสลีกากลายเป็นลีกที่มีค่าเฉลี่ยผู้ชมในสนามสูงสุดในยุโรปเวลานี้ ทำให้ทีมอินทรีเหล็กเป็นเจ้าของแชมป์โลกครั้งล่าสุด

ฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ แม้ว่าจะสร้างรายได้จากการแข่งขันจำนวนมหาศาลถึง 3.36 พันล้านดอลลาร์ แต่เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ลงทุนไปสูงถึง 3.9 พันล้านดอลลาร์ เท่ากับว่าขาดทุนถล่มทลายกว่า 6 ร้อยล้านดอลลาร์

สาเหตุหลักคือเจ้าภาพต้องใช้เม็ดเงินไปมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่แทบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬา ถนน ทางรถไฟและสนามบิน

เมื่อต้องลงทุนมหาศาลทำให้ค่าใช้จ่ายจึงมากขึ้นตามไปด้วยมีการประมาณการว่านักท่องเที่ยวต้องใช้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1.3 หมื่นดอลลาร์ต่อคนสำหรับการเข้ามาชมการแข่งขันฟุตบอลโลกทำให้ที่นั่งในสนามโหรงเหรง ไม่รวมไปถึงชาวพื้นเมืองที่มีกำลังจ่ายน้อยอยู่แล้ว

ฟุตบอลโลก 2010 จบด้วยแชมป์โลกทีมใหม่อย่างสเปนแต่ก็มีปัญหาที่ตามมามากมายทั้งการจ้างแรงงานที่ไม่เป็นทำ การลงทุนเกินตัวของภาครัฐทำให้อัตราว่างานของประเทศสูงขึ้นเป็น 46% เศรษฐกิจชะลอตัวจาก 4.6% เหลือ 2.6%

เคราะห์กรรมของบราซิล 2014

ขาดทุน 5,300,000,000 ดอลลาร์

ท่ามกลางกระแสต่อต้านเรื่อคอรัปชั่น

ฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล เจ้าภาพลงทุนประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่สามารถทำรายได้จากทัวร์นาเมนท์ดังกล่าวที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์ ขาดทุนมากกว่า 5 พันกว่าล้านดอลลาร์ ท่ามกลางกระแสต่อต้านของประชาชนชาวบราซิลเนื่องจากเชื่อว่าการจัดการแข่งขันครั้งนี้มีการใช้งบประมาณเกินความเป็นจริงและอาจมีการทุจริตคอรัปชั่น

ที่สำคัญคือบราซิลยังเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2016 ต่อยิ่งทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย หลังการจากผ่านการจัดรายการกีฬาใหญ่สองรายการบราซิลเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จีดีพีก่อนปี 2014 ที่เคยสูงถึง 6% กว่าๆหดตัวลงเหลือ 4% เศษๆ นำมาซึ่งปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและปัญหาด้านสังคมเมื่อคนในประเทศมีรายได้น้อยลง

รัสเซีย 2018 ตั้งเป้าช่วยหนุนเศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างน้อย 1%

ฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย มีการใช้งบประมาณไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ โดยทางรัสเซียตั้งเป้าว่าจะเป็นจุดเริ่มทำให้ 11 เมืองที่จัดการแข่งขันมีการพัฒนไปสู่ความเจิรญทำให้เศรษฐกิจในเมืองเติบโตกว่า 15% ภายใน 5 ปี

ขณะเดียวกันในภาพรวมของประเทศคาดการณ์ว่าการเป็นเจ้าภาพจะได้ทําให้ GDP ของรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% ต่อปี หรือคิดเป็น 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ตลอด 5 ปี รายได้จากภาคการท่องเที่ยว 1.2-1.6 พันล้านดอลลาร์ และในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลฯ ภาคโรงแรมจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเกือบ 40% นอกจากนี้ ในระหว่างการเตรียมการแข่งขันฯ จะมีการสร้างงานในภูมิภาคต่างๆ ประมาณ 140,000-200,000 ตําแหน่ง และรัฐบาลจะมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น 1.6-2.4 พันล้านดอลลาร์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า