Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แค่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราต้องพบเจอกับข่าวการล่วงละเมิดเยาวชนไม่ต่ำกว่าห้าครั้ง ทั้งคดีเด็กหญิงจากมุกดาหารที่เสียชีวิตอย่างน่าสลด, นักเรียนที่ถูกครูและรุ่นพี่รุมข่มขืนนานนับปี, เด็กประถมหกที่ถูกคุณครูส่งข้อความเชิงลามกมาหา, เด็กสาวที่ร้องเรียนว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจลวนลาม เรื่อยมาจนคดีพ่อข่มขืนลูกชายและลูกสาวตัวเองจนผู้เป็นแม่ต้องเข้าแจ้งความ

การล่วงละเมิดทางเพศหาได้เกิดแค่กับคนที่โตแล้ว หากแต่มันเกิดขึ้นกับใครก็ได้ รวมถึงเด็กหรือเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อในเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น แต่มันเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศทั่วโลกล้วนต้องเผชิญและหาทางรับมืออย่างหนักเรื่อยมา

มูลนิธิ RAINN (จาก Rape, Abuse & Incest National Network) ซึ่งเป็นมูลนิธิช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกทารุณทางร่างกาย จิตใจหรือถูกข่มขืนมากว่าสองทศวรรษ ให้คำจำกัดความว่า การล่วงละเมิดทางเพศในเด็กคือการกระทำทางเพศต่อผู้เยาว์ โดยที่ตัวเด็กไม่มีความสามารถมากพอในการตัดสินใจให้ความยินยอมหรือปกป้องตัวเอง จนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจหรือร่างกายของเหยื่อในเวลาต่อมาจนกระทั่งเติบโต

ทั้งนี้ การล่วงละเมิดในเด็กนั้นไม่จำเป็นต้องมาในรูปแบบของการถึงเนื้อถึงตัวหรือการสอดใส่เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง

  • การเปิดเผยอวัยวะหรือบางส่วนของร่างกายให้เยาวชนดู
  • การเล้าโลม ลูบไล้ร่างกาย
  • การร่วมเพศด้วยการสอดใส่
  • ช่วยตัวเองต่อหน้าหรือบังคับให้เหยื่อทำให้
  • โทรศัพท์หรือส่งข้อความลามกหรือมีเนื้อหาเชิงชู้สาว
  • ผลิต เป็นเจ้าของหรือส่งต่อหนังโป๊ที่เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชน
  • มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง รวมถึงการทำรักด้วยปาก ทางอวัยวะเพศหรือทางทวารหนักกับผู้เยาว์
  • การค้ามนุษย์
  • หรือพฤติกรรมทางเพศอื่นใดก็ตามที่อาจส่งผลต่อสภาวะจิตใจ สภาพอารมณ์หรือร่างกายของเยาวชน

ผู้กระทำความผิดในคดีนี้ล้วนเป็นคนในครอบครัวหรือคนที่เหยื่อรู้จัก

มีผลสำรวจว่าเหยื่อที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจำนวน 93 เปอร์เซ็นต์ล้วนรู้จักมักคุ้นกับผู้ที่เข้ามาทำร้ายคุกคามพวกเขา หรือล้วนเป็นคนใกล้ตัวเช่น เพื่อน ญาติ หรือแม้แต่คุณครู และความสนิทนี้เองที่เป็นเชื้อไฟหลักในการทำให้เยาวชนไว้วางใจจนคนร้ายเหล่านี้ใช้ ‘อำนาจ’ ที่มาพร้อมอายุหรือตำแหน่ง (เช่น ครูหรือรุ่นพี่) ในการครอบงำและปิดปากไม่ให้เหยื่อปริปากพูด หรือล่อลวงว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำกับเหยื่อนั้นเป็นเรื่องปกติจนตัวเด็กเองไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องที่ต้องระวังหรือบอกผู้ปกครอง

ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ล่วงละเมิดเป็นผู้ถือธงเหนือกว่า ด้วยการแตะเนื้อต้องตัวเด็ก -ซึ่งยังไม่ประสาหรือรู้ความมากพอจะปัดป้องตัวเอง- พร้อมกำชับว่าอย่าบอกใคร นำมาสู่การทำเกม ‘ป้องกันล่วงละเมิดต่อเด็ก’ โดย Freedom Restoration Project ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับการล่วงละเมิดทางเพศหรือการใช้ความรุนแรง ด้วยการใช้เพียงดินสอสี, กระดาษฟลิบชาร์จขนาดเท่าตัวเด็ก และวาดรูปเด็กบนกระดาษก่อนจะอธิบายว่า ส่วนไหนที่ไม่ควรอนุญาตให้ผู้อื่นมาจับต้อง และสอนให้เด็กใช้คำพูดง่ายๆ เช่น ห้าม, ไม่

เกม ‘ป้องกันการล่วงละเมิดเด็ก’ ให้เด็กรู้จักการสื่อสารที่จะปฏิเสธการละเมิดของคนรอบตัว

อิสราภรณ์ ดาวราม ผู้ประสานงานประเทศไทย องค์การแตร์เดซอมเยอรมันนีซึ่งเป็นองค์กรสิทธิเด็กระหว่างประเทศ ให้คำอธิบายว่า เกมนี้มีขึ้นเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องสิทธิที่เด็กมีของตนเอง และรู้จักการสื่อสารที่จะปฏิเสธการละเมิดของคนรอบตัว “โดยลักษณะของกิจกรรม เวลาเราเรียนรู้เรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ ความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศหรือเรื่องต่างๆ ในเด็ก ก็จะใช้โมเดลนี้หรือหลายๆ รูปแบบ แต่หลักๆ แล้วจะมีสิ่งที่อย่างให้ เรียนรู้ผ่านกิจกรรมนี้ นั่นคือเรื่องของสิทธิเด็ก  (Child rights) ซึ่งคือการบอกว่าเด็กๆ มีสิทธิ ได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจทั้งปวง และสิทธิมาคู่กับหน้าที่เสมอ และมีหน้าที่ในการดูแลสิทธิเหนือร่างกายของตัวเองด้วย”   

พัฒนาการเด็กหรือ (Child development) ซึ่งมีพัฒนาการแตกต่างกันไปแต่ละช่วงวัย โดยได้อธิบายเพิ่มเติมว่า  ถ้าเป็นเด็กเล็ก ในการจะให้เขาอธิบายสิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจ ความกังวลออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการเหล่านี้หรือก็คือเกมต่างๆ โดยดูตามพัฒนาการของเด็กเอง และในเด็กโตหรือวัยรุ่น จะมีการพูดคุยอภิปรายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเรื่อง consent การให้ปกป้องตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการล่วงละเมิดทางเพศ 

นำมาสู่ประเด็นที่สามคือประเด็นของการเลี้ยงดูหรือ parenting ซึ่งมาจากการเลี้ยงดูของคนที่มีหน้าที่เลี้ยงดูไม่ว่าจะจากคนในครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือพี่เลี้ยงเองก็ตาม “คำถามคือ ผู้ดูแลเด็กให้ความสำคัญกับสิทธิเหนือร่างกายเด็กอย่างไร เช่น ถ้าผู้ปกครองอนุญาติ  ทุกคนกอด หอมเด็กได้ เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ตามที่ได้ถูกปฎิบัติเลี้ยงดูมา แต่บางทีเด็กๆ เขาอึดอัดที่จะให้ใครก็ตามมาแตะตัว เขากลัวแต่เขาบอกไม่ได้ เขารู้สึกอึดอัดแต่ผู้ดูแลไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และยังเสี่ยงการนำไปสู่การล่วงละเมิดอีกด้วย กิจกรรมที่ทำกับเด็กนี้ จึงเป็นการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงผ่านไปยังผู้เลี้ยงดูได้อีกด้วย

จากสถิติของมูลนิธิ RAINN และข้อมูลทางสถิติที่คุณอิสราภรณ์ได้กล่าวถึง ตรงกัน  คือ คดีล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กนั้นส่วนใหญ่เกิดจากคนใกล้ตัวเหยื่อแทบทั้งสิ้น “เคสส่วนใหญ่จะเกิดจากผู้ใกล้ชิด คนในครอบครัว คุณครู เพราะมันมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความไว้วางใจและความผูกพันที่มีต่อเด็กสูง และในลักษณะของการละเมิดหรือการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ต้องทำงานในการสร้างความเข้าใจในเชิงสาธารณะด้วย คือส่วนใหญ่มันไม่ได้มีแค่รูปแบบของการทำร้ายร่างกาย มันสามารถมาในรูปแบบของการให้รางวัล การชักจูงทางเพศ การล่อลวง การให้ความรักความผูกพันเป็นเงื่อนไขในการให้ได้รับอะไรบางอย่างด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เช่นเดียวกัน”

วัยรุ่น จุดเปลี่ยนสำคัญของการค้นหาตนเอง

เธอยกตัวอย่างถึงเด็กวัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการอยู่ในจุดเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และกำลังพยายามค้นหาตัวเองหรืออัตลักษณ์อยู่สูง

“ถ้าในช่วงนั้น มีคนที่เข้ามาใกล้ชิดกับเขา เขารู้สึกไว้วางใจ มาให้คุณค่าที่บิดเบือนไปสู่การแสวงหาประโยช์ทางเพศ เช่น เธอหน้าตาดีนะ เธอดึงดูด สรีระเธอดึงดูด เธอมีความน่าสนใจต่อเพศตรงข้าม และความคิดเห็นอื่นใดที่สร้างคุณค่า สร้างตัวตนทางเพศ เพื่อนำไปสู่การแสวงหาประโยชน์ทางเพศของผู้ละเมิด มันมีการล่อลวง ใช้การให้คุณค่ากับตัวเด็กอย่างผิดๆ ซึ่งก็ไปตรงกับพัฒนาการตามวัยของเขาที่กำลังค้นหา สร้างคุณค่าให้ตัวเอง แต่ผู้ใหญ่กลับให้คุณค่าเหล่านี้เพื่อนำผลประโยชน์ทางเพศมาให้ตัวเอง นี่ก็นับเป็นหนึ่งในการกระทำความรุนแรงทางเพศต่อเด็กเช่นเดียวกันค่ะ” อิสราภรณ์อธิบาย

ก่อนเสริมว่า การกระทำความรุนแรงนั้นไม่ใช่แค่การใช้กำลังเช่นตบตีเท่านั้น แต่การใช้ความรุนแรงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศนั้นมีได้หลายทาง และเป็นเรื่องที่สังคมต้องรู้เท่าทัน

“การที่ผู้ละเมิดใช้ความรัก ความผูกพัน เช่น พ่อข่มขืนลูกแล้วบอกว่าไม่ให้บอกแม่ และสร้างเงื่อนไขความกลัวอย่างการแยกเด็กจากคนที่รัก ใช้ความไว้วางใจในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศทั้งหมด อันนี้เจ็บปวดและสร้างบาดแผลทางจิตใจให้เด็กได้ในระยะยาวอีกด้วย” เธอกล่าว การนำมาสู่เกมที่สอนให้เด็กเรียนรู้ถึงสิทธิเหนือร่างกายตัวเอง จะทำให้เด็กๆ รู้ว่าส่วนไหนที่ควรหรือไม่ควร ให้ใครมาสัมผัสแตะต้อง ซึ่งสร้างความอัดอึด กลัวกังวล มีผลต่อจิตใจของเด็ก และนำไปสู่ความเสี่ยงในการถูกละเมิดทางเพศได้

“กิจกรรมที่สร้างขึ้นมันอาจไม่ได้เป็นลักษณะแค่ว่า จุดไหนจับไม่ได้ แต่อาจจะต้องนำไปสู่จุดที่ว่า หากมีการสัมผัสส่วนนี้ขึ้นมา จะเกิดความเสี่ยงอะไรขึ้นมาบ้าง เช่น ถ้าหนูอนุญาตให้ใครบางคนมาจับตรงนั้นของหนู ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นจะมีอะไรได้บ้าง แต่เด็กๆ เองล่ะรู้สึกยังไง สามารถบอกและสื่อสารกับผู้กระทำได้อย่างไร แล้วหนูรู้ไหมว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง

“กิจกรรมนี้เป็นโอกาสที่เราจะได้ให้ข้อมูลว่า หนูรู้ไหมถ้าในลักษณะแบบนี้ มันจะมีความเสี่ยงแบบนี้ๆ มาด้วย ถ้าเกิดแบบนี้ขึ้นมาหนูรู้สึกอย่างไร ส่วนใหญ่เด็กๆ เขาก็จะตอบมาว่าอึดอัดหรือกลัว เกมนี้จะค่อยๆ ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจผ่านพัฒนาการตามวัยของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ในหลายๆ ประเทศเขาสอนเรื่องเพศศึกษาตั้งแต่ระดับเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กๆ เขาเข้าใจว่ามีเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิและหน้าที่ต่อร่างกายและจิตใจของตัวเองที่เขาก็มีหน้าที่ที่จะปกป้องเช่นเดียวกัน เช่น เด็กจะต้องบอกพ่อแม่ได้ว่า เขารู้สึกไม่สบายใจเลยที่ให้คนแปลกหน้ามาหอมแก้ม เป็นต้น เราก็จะสอนทักษะการสื่อสารให้พวกเขาเพื่อลดความเสี่ยงด้วย”

บทความโดยพิมพ์ชนก พุกสุข

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า