Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

UNDP ได้มีการจัด การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนคํามั่นสู่ผลสัมฤทธิ์ การส่งเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

โดยในการประชุมจะมีการเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วม ซึ่งมีทั้งเด็กและเยาวชน รวมถึงตัวแทนจากองค์กรเครือข่ายๆ ต่าง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และ Climate Change

รวมถึงมีการบรรยายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็น Climate Change ทั้งในภาพใหญ่ของโลก และประเทศไทย ซึ่ง UNICEF ก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบรรยายผลการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงของเด็กต่อผลกระทบจาก Climate Change

เวลาพูดเรื่อง Climate Change กับเด็ก

สิ่งที่กระทบกับเด็กและเยาวชนมีหลายด้าน ซึ่ง Climate Change เป็นหนึ่งในภัยคุกคามนั้น ภาวิญญ์ เถลิงศรี ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าว

“ต่อให้ตอนนี้เราไม่ผลิตคาร์บอน แต่ผลกระทบจากเรื่องสภาวะภูมิอากาศไม่ได้หยุดตาม เราย้อนกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้และคนที่ต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้ คือ เด็กและเยาวชน ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญในจุดนี้”

“ทำไม UNICEF ต้องพูดเรื่อง Climate Change ที่ผ่านมาก็ยุ่งแต่กับประเด็นเด็กๆ แล้วมาอยู่ในประเด็นนี้ได้ยังไง จริงๆ เวลาเรามองเรื่องภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก เราไม่ได้มองเพียงแค่เรื่องของ Climate อย่างเดียว แต่มองความอันตรายในด้านอื่นๆ ด้วย” ซึ่งมีทั้งหมด 5 ด้านด้วยกัน

1. Technology โดยภาวิญญ์ ได้ยกตัวอย่าง ความอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านนี้ว่า “เช่น บริษัทหนึ่งผลิตสเปรย์ เพื่อกำจัดศัตรูพืช แต่สเปรย์นี้ไปมีผลอะไรกับเด็ก กับเยาวชนที่โตขึ้น นี่ก็เป็นอีกรูปแบบของความอันตรายที่เกิดขึ้น”

2. Biological and Health ก็อย่างเช่น โควิด-19 เชื้อโรคต่างๆ ก็กระทบกับเด็ก ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของ Climate Change หรือแผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติ

3. Conflicts and Violence ความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น การเมือง หรือในระดับประเทศ

4. Natural and Climate Induced “ตอนนี้เรื่องของ Climate Change กำลังมาแรง และไม่ใช่ว่าเข้ามากระทบกับเด็กและเยาวชนเฉพาะเรื่อง Climate แต่ว่าอาจทำให้เด็กและเยาวชนอาจจะเจอทั้งความขัดแย้ง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มันอาจจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม ดังนั้นจึงตอบได้ว่าทำไม UNICEF จึงต้องมายืนอยู่จุดนี้ด้วยในเรื่องของ Climate Change”

5. Everyday dangers and threats ภัยคุกความและความอันตรายที่เกิดขึ้นในทุกวัน

แต่คำถามที่สำคัญคือ เรื่องของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำไมต้องเป็นเด็กที่สมควรสนใจประเด็นนี้?

ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอธิบายว่า

เราต้องการที่จะไปสู่ Net-Zero ในปี 2050 แต่รู้ไหมว่าถ้าเราจะเป็น Net-zero วันนี้ สมมติว่าเราไม่ปล่อยคาร์บอนไซด์ออกไซด์เลย ผลกระทบของ Climate Change เนี่ยก็ยังจะอยู่กับเราและรุ่นต่อๆ ไปอีก ไม่รู้กี่ร้อยปี ซึ่งไม่ใช่แค่อยู่กับเราแต่ยังหมายถึงเด็กที่กำลังจะเกิดมา กับเด็กที่ยังไม่เกิดอีกไม่รู้กี่รุ่น แต่รุ่นเราตอนนี้สำคัญเพราะเป็นรุ่นที่มีปากมีเสียงได้ เรียกร้อง และลงมือได้ว่าเราจะทำยังไงที่เราจะสามารถเข้ามาแก้ไขเรื่องพวกนี้ได้ เพราะทั้งหมดมันเกี่ยวกับเรา นั่นคือประเด็นแรกว่าทำไมเด็กถึงสำคัญ”

ปกติเวลาเราพูดถึงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้กระทบกับทุกคนเท่ากัน ไม่ว่าจะน้ำท่วม น้ำแล้ง อุณหภูมิสูง ภาวิญญ์ตั้งคำถามว่า ‘กลุ่มไหนล่ะที่ได้รับผลกระทบ เป็นเด็กและเยาวชนกลุ่มไหนบ้าง สตรีคนแก่คนชรากลุ่มไหน?’ 

ซึ่งส่วนใหญ่เวลาที่พูดถึง Climate Change หรือสภาวะภูมิอากาศแปรปรวนเราก็มักมองกันแต่ในภาพรวม เช่น เดี๋ยวฝนมา เดี๋ยวพายุเข้า แต่ไม่ได้มองลึกไปที่กลุ่มคนที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุดจึงกลายมาเป็นประเด็นที่สองของการศึกษา เรื่องความเสี่ยงของเด็กและเยาวชนต่อ Climate Change 

“อันที่สาม ก็คือ เด็กตั้งแต่เกิดด้วยศักยภาพด้านต่างๆ เรื่องการพัฒนาด้านต่างๆ ยังไม่พร้อม เราจึงต้องให้ความสำคัญมากกว่า นี่เป็นการศึกษาแรกของประเทศไทย ที่มองเข้าไปถึงเด็ก จากที่ปกติแล้วเรามองกันภาพใหญ่ วันนี้เรามาเริ่มกัน ว่าเด็กจะเป็นยังไง

เป็นสิ่งสำคัญที่เด็กและเยาวชนรุ่นต่อไปจะต้องส่งเสียง และสื่อสารออกไป เป็นหน้าที่ของเด็กและเยาวชน”

ในการศึกษาของ UNICEF ระดับ Global มีการศึกษาเกี่ยวกับ Climate Crisis ที่ชื่อว่า UNICEF Children’s Climate Risk Index 2021 ซึ่งพบว่าประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก จาก 163 ประเทศที่เด็กและเยาวชนมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งความเสี่ยงนั้นมาในหลายรูปแบบ

1. ความร้อน จากการศึกษาพบว่า เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัดที่มีพื้นที่สีเขียวน้อยจะได้รับความร้อนและได้รับกระทบจากความร้อนมากกว่าเด็ฏกลุ่มอื่นๆ ที่มีพื้นที่สีเขียว มีพื้นที่กว้าง

2. น้ำท่วม ซึ่งปีนี้ก็ยังไม่แน่ แต่จากประสบการณ์ของปี 2554 การศึกษาพบว่า เด็กไทยและเด็กที่เป็นลูกของแรงงานข้ามชาติได้รับผลกระทบมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพจิต ภาวะทางอารมณ์ที่ต้องรับกับอุทกภัย โรงเรียนปิด โรคภัยที่มากับน้ำ และด้วยความเป็นแรงงานข้ามชาติยิ่งถูกรุมเร้าด้วยการสื่อสาร สภาพทางเศรษฐกิจ

3. ภัยแล้ง จากการศึกษาที่อ้างอิงข้อมูลจากนาซาที่ได้เปิดเผยว่า ในปี 2020 ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบกับภัยแล้งหนักที่สุดในรอบ 40 ปี ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ น้ำดื่ม พื้นที่ในเมืองอาจไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับต่างจังหวัด บนพื้นที่สูงที่เจอกับการลดลงของแหล่งน้ำ นอกจากนี้มีการศึกษาของมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐอเมริกาที่พบว่า ความแห้งแล้งสัมพันธ์กันกับอาการท้องเสียของเด็ก นอกจากแหล่งน้ำสะอาดที่มีน้อยลง ทำให้ต้องไปพึงพาแหล่งน้ำเสียมากขึ้น

4. เชื้อโรค เวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น ซึ่งภาวิญญ์ ยกตัวอย่าง เรื่องการเพิ่มขึ้นของยุง หากมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งหากเราดูจากภาพด้านล่าง ก็จะเห็นว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย และโรคไข้ซิกา ที่สูงขึ้นจากการที่อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นความท้าทายของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องรับมือ

ภาวิญญ์เห็นว่าสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่การแก้ปัญหาทั้งหมด แต่คือการป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น

นอกเหนือจากการศึกษาความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของ Climate Change แล้ว ยังมีการศึกษาและคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในอนาคตด้วย ด้วยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ลงบนแผนที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความพร้อมของโรงพยาบาลในการรักษาและรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้านต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ หรือแม้แต่สุขภาพของเด็กที่เกิดมา เพื่อวิเคราะห์ว่าเด็กในพื้นที่ไหนได้รับผลกระทบหนักที่สุด  ซึ่งสำหรับประเทศไทย การศึกษาพบว่า หากมีเหตุการณ์ที่เกิดจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แล้ง จังหวัดที่เด็กมีความเสี่ยงมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) และภาคใต้

ในภาคอีสานก็อย่างเช่น จังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ที่จะเจอทั้งแล้งหนักและท่วมหนัก ส่วนภาคใต้ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส เป็นต้น

ซึ่งการศึกษานี้จะทำให้เรามองเห็นภาพว่าพื้นที่ไหนที่เราต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรกๆ ในเรื่องของผลกระทบ การรับมือกับความเสี่ยงจาก Climate Change

และในระดับที่ลึกกว่านั้น คือ ต่อให้อยู่ในจังหวัดเดียวกัน เด็กแต่ละกลุ่มก็จะได้รับผลกระทบที่ต่างกัน โดยจากการศึกษาพบว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะที่มั่นคง อยู่ในบ้านที่มีการวางระบบความปลอดภัยด้านต่างๆ มีความเสี่ยงน้อยกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย ทำให้การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด การเข้าถึงระบบสาธารณสุข การรักษา หรือแม้แต่การเยียวยาต่างๆ ก็ทำได้ยากกว่าเด็กที่มีฐานะดี

นอกเหนือจากการศึกษาถึงผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน การศึกษานี้ของ UNICEF ยังศึกษาในเรื่องของอาชีพที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไป เนื่องจาก Climate Change ซึ่งได้รับความร่วมมือกับเครือข่ายอย่าง TDRI ที่ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของอาชีพในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา

โดยรายงานการศึกษาฉบับนี้ คาดว่าจะเผยแพร่ต้นฉบับเต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า