SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ร่วมกับแฟนเพจไทยแอ็ค ร่วมจัดเวทีเสวนา เรื่องการไม่รับบริจาคเลือดจากผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสะท้อนปัญหา ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ ตัวแทนจากฝ่ายการเมือง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และอดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เข้าร่วม เนื่องจากปัญหาของการไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่สภากาชาดไทย มองว่าเพศหลากหลายมีความเสี่ยง ส่งผลให้ผู้ที่ต้องการบริจาคที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการคัดกรองก่อนบริจาคได้เลย

ปุญชรัสมิ์ ตาเลิศ Princess Of Love Miss Queen Rainbow Sky 2018

ปุญชรัสมิ์ ตาเลิศ หรือ แคนดี้ Princess Of Love Miss Queen Rainbow Sky 2018 ตัวแทนจากภาคประชาชนที่เคยเจอประสบการณ์ถูกปฏิเสธการบริจาคเลือด เธอเล่าว่า พยายามจะบริจาคเลือดถึง 5 ครั้ง ครั้งแรกสมัยเรียนมัธยมขณะนั้นไม่สามารถบริจาคได้ เพราะค่าเลือดไม่ถึงตัวเล็ก แต่พอเรียนจบ อยากบริจาค ก็ได้อ่านคุณสมบัติ และพบว่าเราไม่ได้มีความเสี่ยงเลย นอกจากเรื่องฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งวันที่ไปบริจาคล่าสุดคือวันที่ 1 ก.ค. 2562 เป็นวันตรวจหาเชื้อ HIV แห่งชาติ ไปกรอกข้อมูลและทำบัตรผู้บริจาคโลหิตเรียบร้อยแล้ว แต่ในการกรอกข้อมูล มีการให้กาช่องมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะเคยมีมาในอดีต และเราผ่านการตรวจร่างกายมาแล้ว ที่สำคัญปัจจุบันแฟนของแคนดี้ที่กำลังคบหาดูใจเป็นทอม อยู่กันมา 6 เดือนแล้ว ซึ่งแคนดี้เปรียบเทียบว่าก็คล้ายกับว่าหญิงกับชายอยู่ด้วยกัน

“เราศึกษา ตรวจร่างกายมาอย่างดี หาข้อมูลมาเยอะมาก เพราะแคนดี้เองก็เป็นแพทย์ ทุกอย่างดูจะไม่มีปัญหา แต่มีปัญหาที่บัตรประชาชนเราที่ยังมีคำนำหน้านามว่า นาย และถูกเรียกไปพูดคุย และถามว่าเป็นชายใช่ไหมคะ และรู้ไหมว่าเพศสภาพของเราแบบนี้เขาไม่รับ และถือเป็นกลุ่มเสี่ยง แต่เราก็มีผลการตรวจเลือดมายืนยัน เขาไม่ได้ดูใบที่แคนดี้กรอกเลย เขาดูแค่เพศสภาพ เราพยายามอธิบายว่าเราไม่ได้เข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงเลย รู้สึกไม่เป็นธรรม เราเตรียมตัวมาพร้อม มีใบรับรองแพทย์ เขาไม่ดู ใบรับรองวิชาชีพแพทย์อะไรเราเลย เกิดคำถามว่าทำไมคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ถึงถูกกีดกัน” ปุญชรัสมิ์ กล่าว

แคนดี้ ยังเสนอว่า สภากาชาดไทยควรให้ทุกคนเข้าสู่กระบวนการคัดกรองได้อย่างเท่าเทียม คนที่มีคุณสมบัติจะได้เข้าสู่การคัดกรองไม่ควรถูกกีดกัน เข้าใจว่าเลือดทุกถุงต้องปลอดภัยต้องสะอาด คนไม่มีความเสี่ยงเราถึงกล้ามา

ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงระเบียบที่ทำให้สภากาชาดไทยไม่รับเลือดของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และยึดกับสถิติว่าคนที่มีความหลากหลายทางเพศมีสัดส่วนของการติดเชื้อ HIV สูงกว่าคนทั่วไป 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการรับบริจาคมาแล้วต้องทิ้งเลือด ทั้งที่ในขั้นตอนของการตรวจคัดกรอง เมื่อได้ผลเลือดออกมาก็บอกแค่ว่าปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย แต่ไม่ได้บอกว่ามาจากกลุ่มไหนอยู่ดี

“หลักเกณฑ์ของ WHO โบราณๆ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2012 บอกว่ากว่ากลุ่มที่ห้ามบริจาค คือ ผู้ติดยาเสพติดด้วยการเสพ และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับทั้งโลก มีประเทศที่จนกว่าเราเยอะที่ไม่ได้ใช้วิธีการตรวจที่ดีและแม่นยำแบบเรา แต่ของเราการคัดกรองและตรวจสอบมันมีประสิทธิภาพ แต่ยังใช้เกณฑ์เดียวกับประเทศที่ระบบการตรวจสอบทางการแพทย์ยังไม่พัฒนา”  นพ.ประพันธ์ กล่าว

นพ.ประพันธ์ ยังระบุอีกว่า ปัจจุบันหลายประเทศที่พัฒนาแล้วหลีกเลี่ยงการปฏิเสธโลหิตที่มีความปลอดภัย เช่นในกลุ่มชายรักชาย ก็ให้งดพฤติกรรมเสี่ยง จากเดิมคือ 12 เดือนขยับมาเป็น 3 เดือน ทั้งที่จริงควรจะ 2 สัปดาห์ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่รู้ผลตรวจเลือดตัวเอง คนที่มีคู่นอนมากกว่า  3 คนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมอว่าสิ่งสำคัญอยู่ที่วิวัฒนาการการตรวจ บางประเทศคนที่กินยา เพร็พ (PrEP) อยู่ 100 เปอร์เซ็นต์ บริจาคได้ ไม่ติดเชื้อและปลอดภัย

“ถ้าทุกผ่ายเอาเรื่องที่เราคุยไปปรับปรุง ทั้งที่เราพูดเรื่องนี้กันมานาน แก้อย่างจริงจัง น่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดีขึ้น อยากเสนอว่า ผมเคยพูดเรื่องนี้กับผู้บริการศูนย์โลหิตแห่งชาติ แต่ไม่ฟัง เช่น การบริจาคเป็นสิทธิ (การบริจาคเป็นสิทธิ แต่สภากาชาดยอกว่าเป็นของขวัญ) ทำความเข้าใจกับประชาชน ว่าโอกาสที่จะตรวจไม่เจอมีน้อย ต้องทำความเข้าใจให้ประชาชนยอมรับ ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอยากบริจาค มารถโชว์หลักฐานการบริจาคเลือด ก็ต้องยินดีให้บริจาคไม่ใช่ห้าม ปรับเปลี่ยนกลุ่มชายรักชาย ห้ามเขาเปลี่ยนไปหมดแล้ว ว่ามีกำหนด ระยะการมีเพศสัมพันธ์เหลือ 3 เดือน เช่น ของสหรัฐฯ  ที่กินยา PrEP บริจาคได้ การทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำคัญ” นพ.ประพันธ์ กล่าว

ธัญญ์วาริน สุขะพิษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

ด้าน ธัญญ์วาริน สุขะพิษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ ว่าเป็นสิ่งที่ทางพรรคพยายามผลักดัน และนำเรื่องนี้เข้าสู่สภามาโดยตลอด ซึ่งล่าสุดได้ลงพื้นที่ดูการเกณฑ์ทหาร พบว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ไม่ผ่านการคัดกรอง ถูกระบุว่า “เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด และไม่สามารถรักษาให้หายได้ใน 3 เดือน” มองว่าสิ่งนี้ทำให้คนมีความหลากหลายทางเพศถูกตัดทอนความเป็นมนุษย์ ถูกทำลายความฝัน ทั้งที่เราเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง อย่างในรัฐสภาได้พยายามในตั้งคณะกรรมาธิการผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่แยกออกจาก คณะกรรมาธิการสามัญกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งตอนพูดในสภาเหมือนจะมีคนเห็นด้วย แต่พอถึงเวลาโหวต ก็ตกไป และการมาร่วมเวทีครั้งนี้ อยากได้ข้อมูล ข้อเสนอแนะไปเสนอในสภา เพื่อเชิญสภากาชาดไทยมาร่วมชี้แจงด้วย

“คาดหวังให้มีการแก้ไข ปัญหา คือการสร้างความรับรู้และเข้าใจ เรายังถูกเลือกปฏิบัติในทุกวงการ ทุกหย่อมหญ้า สิทธิในการก้าวหน้าในอาชีพ ข้อเสนอ ต้องแก้ทุกอย่างในสังคมให้เท่าเทียมกัน” ธัญญ์วาริน กล่าว

อารีวรรณ จตุทอง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

อารีวรรณ จตุทอง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มาร่วมการเสวนาครั้งนี้ กล่าวว่า ก่อนมาร่วมเวทีได้ทำการสืบค้นเรื่องการร้องเรียนลักษณะนี้ว่ามีการร้องเรียนการปฏิเสธรับบริจาคเลือดจากกลุ่มผู้ใความหลากหลายทางเพศหรือไม่ พบว่าในคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดที่ 2 มีการร้องเรียนเกิดขึ้น เมื่อ 1 เม.ย. 2551 ผู้ร้องปิดบังชื่อ ขอให้ดำเนินการตรวจสอบ สภากาชาด โดยสภากาชาดได้ชี้แจงการไม่รับบริจาคกลับมา 3 ข้อ ดังนี้

1.เนื่องจากการคัดเลือกผู้บรจาคโลหิต เป็นการป้องกันและรักษาสิทธิของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีโอกาสคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต แม้มีน้ำยาตรวจเลือดและต้องใช้เวลากว่า 22 วัน และในระยะเวลา 22 วันนั้นหากได้รับเชื้อ HIV ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้

2. การบริจาคโลหิตเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตตามแบบสอบถาม ไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาวะ แต่เป็นการแจ้งให้ทราบก่อนบริจาคโลหิต และเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน

3. แบบสอบถามผู้บริจาคโลหิตเป็นมาตรฐานที่ใช้ทั่วโลก โดยศึกษาจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้บริจาคโลหิตในประเทศออสเตเลีย พบว่า กลุ่มรักร่วมเพศมีความชุกของการติดเชื้อ 10 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าคนทั่วไปที่มีความชุก 04 เปอร์เซ็นต์

โดยการตรวจสอบครั้งนั้นทางคณะกรรมการสิทธิฯ พบว่าในคำร้องมีระบุถึงถ้วยคำในข้อ 12 ว่า “ท่านหรือคู่ครองของท่านมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันหรือไม่” มองว่าเป็นเงื่อนไขที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง คือมีคู่นอนหลายคน เสพยาเสพติด ไม่ต่อมาสภากาชาดไทยมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในแบบสอบถาม เป็น “คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น จึมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน ซึ่งอาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV หรือไม่” ซึ่งขณะนั้น กสม. มองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาแล้วจึงให้ยุติเรื่อง

อารีวรรณ กล่าวว่า จากนั้นได้ไปสืบค้นข้อมูลสภากาชาด พบข้อความว่า ผู้บริจาค หรือคู่ มีความเสี่ยง มีเพศสัมพันธ์ กับผู้อื่น หรือ กับเพศเดียวกัน ให้งดการบริจาคเลือด ถาวร พราะโรคทางเพศสัมพันธ์ ไม่สามารถตรวจหาได้ ทั้งที่เคยชี้แจงว่า ได้เปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ล่าสุดกลับมีถ้อยคำลักาณะการเลือกปฏิบัติ การตีตรา

สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัตต่อบุคคล กรมคุมครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

ขณะที่ สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัตต่อบุคคล กรมคุมครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ระบุว่า หลังทราบกรณีที่มีการถูกปฏิเสธ สภากาชาดเองเป็นหน่วยงานองค์กรที่มีเครดิตควาน่าเชื่อถือ ในแง่ขององค์กรที่ยึดหลักมนุษยธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ แม้กระทั่งในทางการเมือง แต่เหตุใดจึงมีหลักการเลือกปฏิบัติ ที่ตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานทางมนุษยธรรมอย่างมาก

“สิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่รัฐต้องทำ ให้เกิดความเท่าเทียม อย่างกรณี แคนดี้ที่มีใจอยากจะบริจาคโลหิตให้ผู้อื่น สภากาชาดเองก็ขาดแคลนเลือด เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้การเข้าบริจาค หรือหน่วยเคลื่อนที่ในการบริดจาคมีข้อจำกัดเยอะ ที่สำคัญ ผู้ป่วย ผู้ประสบอุบัติเหตุ ต้องการเลือดจำนวนมาก แต่คนที่ไปบริจาคกลับถูกปฏิเสธ เท่ากับการเลือกปฏิบัติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกลดทอนลงไป และเกณฑ์ที่ระบุว่ามีพฤติกรรมเสี่ยง ก็ต้องใช้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ใช้เกณฑ์นี้เท่ากันหมด และคนที่กรอกข้อความต้องกรอกด้วยความเป็นจริง เราไม่ได้คิดแค่ว่าจะให้เลือด แต่เราต้องคำนึงถึงคนรับด้วย เชื่อว่า คนที่ไปบริจาคคำนึงเรื่องนี้ทุกคน แต่เราอาจไม่ทราบเรื่องปัญหาสุขภาพ ซึ่งเกณณ์ที่ให้กรอก ถ้าเราเห็นว่ามีความเสี่ยง เราจะตระหนักได้เองว่า จะบริจาคไหม” สมชาย กล่าว

ที่ปรึกษาคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัตต่อบุคคล ได้สรุปความเห็นเป็นข้อๆ ดังนี้

  • กฎระเบียบที่สภากาชาดไทยใช้ ถือว่าเป็นการตีตรา โดยบอกว่าเสี่ยง โดยไม่ผ่านการคัดกรอง คิดว่าไม่ถูกต้อง อยากได้คำอธิบายที่ชัดเจนจากสภากาชาด มากกว่าการอ้างกฎระเบียบ ซึ่งระบเยบเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างถึง ถ้ามาถูกต้อง ควรได้รับากรแก้ไข ไม่ใช่กฎธรรมชาติที่แก้ไม่ได้
  • นอกจากขัดต่อหลักมนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน ขัดต่อกฎหมาย ในประเทศ และระหว่างประเทศด้วย สภากาชาดเป็นคนริเริ่มเรื่องการสร้างความเข้าใจ HIV ให้สังคมไทยเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น แต่ทำไมสภากาชาดไทยถึงตามหลักคนไทย
  • สังคมไทยก้าวหน้าเรื่องสิทธิเด็ก สตรี เพศสภาวะ อนามัย แม้รัฐธรรมนูญจะเปลี่ยน การเมืองเปลี่ยน แต่สังคมไม่อาจรับการเลือกปฏิบัติได้ ซึ่งตอนนี้พยายามผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล อยู่ระหว่างล่ารายชื่อ
  • กาชาดสากล เป็นเอกชน ไม่ใช่เป็นองค์การระหว่างรัฐ แต่ทำงานน่าเชื่อถือมาโดยตลอด สภาชาดไทย เป็นองค์กรมหาชน ที่ใช้อำนาจของรัฐ ดังนั้นต้องมีความรวดเร็วในการปกป้องสิทธิ และคุ้มครองประชาชน ส่งเสริมสิทธิประชาชน ภาครัฐมีเจ้าหน้าที่กว่า 2 ล้านคน รับเงินเดือนจากภาษีประชาชน ควรทำงานอย่างเต็มที่ อย่างที่ อสม.ที่กำลังทำหน้าที่ ปกป้องทุกคน ในเรื่องสาธารณสุข ให้พ้นจากโควิด-19 แต่เบี้ยเลี้ยงน้อยมาก ถ้าสถากาชาดไทยไม่ตระหนักและแก้ไขเรื่องนี้ อาจจะต้องมีหน่วยอื่นเข้าไปกำกับ เปลี่ยนกฎหมาย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า