Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบจะเสนอ ศบค.ลดระยะเวลากักกันผู้เดินทางจากต่างประเทศ สำหรับผู้เดินทางในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว จากเดิม 14 วัน ลดวันกักตัวเหลือ 7 วัน 10 วัน และ 14 วัน ตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วแต่กรณี

วันที่ 23 ก.ย. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2564 เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น อัตราการติดเชื้อลดลงต่อเนื่อง จำนวนผู้เสียชีวิตลดลง การรักษาพยาบาลรองรับได้ดีขึ้น การติดเชื้อส่วนใหญ่ยังอยู่ในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดชายแดนใต้ และมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในเรือนจำ แต่มีการแยกกักอย่างดีทำให้ควบคุมได้

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับมาตรการเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทยจากเดิม 14 วัน ลดเหลือ 7 วัน 10 วัน และ 14 วัน แล้วแต่กรณีพร้อมระบุเงื่อนไข ดังนี้

  1. ผู้กักตัว 7 วัน จะต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือครบโดสตามที่กำหนดของบริษัทวัคซีนนั้นๆ ต้องตรวจหาเชื้อก่อนเดินทางด้วยวิธี RT-PCR เมื่อมาถึงประเทศไทยจะต้องตรวจอีก 2 ครั้ง วันที่แรกและก่อนที่จะออกจากการกักตัวในวันที่ 7
  1. ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ต้องกักตัว 10 วัน ให้ตรวจด้วย RT-PCR 2 ครั้ง คือวันแรก และก่อนที่จะออกจากการกักตัว โดยจะต้องเป็นการเดินทางเข้ามาทางอากาศเท่านั้น
  1. ฉีดวัคซีนไม่ครบ เดินทางด้วยช่องทางอื่นๆ เช่น ทางบก จะต้องกักตัว 14 วัน และต้องตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง

นพ.โอภาส กล่าวว่า การลดการกักตัวโดยหลักจะใช้เกณฑ์เดียวกันในทุกประเทศ ยกเว้นมีเหตุการณ์อื่นๆ เพิ่มเติมก็จะใช้อำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเพิ่มเติมขึ้นได้ คนที่ติดโควิด-19ไม่ได้เกิดจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา แต่ติดในประเทศมากกว่า ขอให้ความมั่นใจว่าการลดวันกักตัวไม่ได้ทำให้เกิดการระบาดมากขึ้น รวมทั้งสายพันธุ์เดลตาระบาดไปทั่วโลกแล้ว ขอดีคือเราพร้อมที่จะอยู่กับโควิด-19 มากขึ้น ถ้าทำสำเร็จนั่นแสดงว่าเราควบคุมการติดเชื้อได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อฯ วันนี้มีประเด็นสำคัญ 4 เรื่อง คือ

  1. รับทราบการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า เพื่อเตรียมพร้อมการเปิดเรียนในสถานศึกษา รวมถึงผู้ที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษาประมาณ 4.5 ล้านคน เพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตปกติในโรงเรียนอย่างเร็วที่สุดภายในปี 2564

2. รับทราบแผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2564 โดยประเทศไทยสามารถจัดหาวัคซีนได้ตามแผน 125 ล้านโดส จะมีผู้ได้รับวัคซีน 62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 90 โดยมีเป้าหมายฉีดเข็ม 1 ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในเดือนพฤศจิกายน และอย่างน้อยร้อยละ 80 ภายในเดือนธันวาคม ส่วนเข็มที่ 2 ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในเดือนธันวาคม ส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม และผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด จะได้รับเข็มกระตุ้น 1 เข็ม โดยจัดสรรเดือนละ 1-2 ล้านโดส ตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม 2564

3. รับทราบความคืบหน้าการเสนอร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พ.ศ. … ซึ่งครม.เห็นชอบในหลักการแล้ว สาระสำคัญมีการกำหนดระบบและกลไกในการจัดการโรคติดต่อทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และเพิ่มหมวดสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขึ้นมา เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเป็นเอกภาพ ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4. เห็นชอบการปรับมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เกณฑ์ แนวทาง และแผนงานสำหรับพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว โดยจะมีการปรับลดระยะเวลาการกักกันผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เนื่องจากมีการพิจารณาข้อมูลระยะเวลาที่พบการติดเชื้อในผู้เดินทางแล้ว และให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถเดินหน้าประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับการควบคุมโรคอย่างเหมาะสม โดยมีแผนการเปิดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินเตรียมความพร้อม โดยการกำหนดพื้นที่ขึ้นอยู่กับความครอบคลุมของวัคซีน สถานการณ์ อัตราการครองเตียง และการบริหารจัดการของพื้นที่ จะเสนอ ศบค.พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ระยะแรกช่วงตุลาคม 2564 จะทดลองรับนักท่องเที่ยวไทยเข้าพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ก่อนเปิดพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน 2564

นอกจากนี้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติยังได้เห็นชอบในหลักการระบบและแนวทางปฏิบัติในการควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้รองรับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลา และสอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า