SHARE

คัดลอกแล้ว
      • กลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติกลับถูกผลักให้ออกไปจากวงและกลายเป็นผู้ประสบภัยกลุ่มแรกๆ ในทุกรอบที่โควิดระบาดหนัก นี่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายว่าด้วยเรื่องแรงงานต่างชาติในไทยในโลกหลังวิกฤต
      • สถานการณ์ปัจจุบันก็คือเมืองไทยต้องการแรงงานไร้ฝีมือมาทำงานทดแทนแรงงานไทยที่หายากขึ้น ก็เหมือนกันคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศซึ่งพลเมืองในประเทศนั้นไม่ทำงานแบบใช้แรงงานกันแล้ว  แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในเมืองไทยก็ต้องการจุดนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น
      • แรงงานคุณภาพสูงก็อยากได้ แต่กฎหมายไทยคุ้มครองสิทธิและให้สวัสดิการกับพวกเขามากแค่ไหนกัน? เราจะแก้ไขนโยบายอย่างไรเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสวัสดิการและความคุ้มครองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

แรงงานคืออีกหนึ่งปัจจัยหลักของระบบการผลิต โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญที่ก่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองในประเทศไทยให้ดีขึ้น แต่เมื่อโควิด 19 เข้ามาแพร่ระบาดจนทำให้การขับเคลื่อนต้องหยุดชะงัก กระทรวงแรงงานมีมาตรการยกเลิกสาธารณสุขแก่แรงงานข้ามชาติในไทย รวมทั้งปิดแคมป์คนงานกินระยะเวลายาวนานกว่า 30 วัน คำถามก็คือเราในฐานะประชาชนของประเทศมองพวกเขาว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (Community) หรือไม่ เป็นไปได้ไหมที่จะมีการวางระบบที่ทั้งก้าวหน้าและดีกว่าในทุกมิติเพื่อปกป้องและคุ้มครองพวกเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

Migrant Labour จึงเป็นหัวข้อสุดท้ายในซีรีส์ Lessons from the Crisis ที่ Thailand Future Foundation ร่วมมือกับTP Lab สร้างวงสนทนาผ่านแพลตฟอร์ม Clubhouse เพื่อถอดบทเรียนไปด้วยกัน โดยการพูดคุยในวันนั้นมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องแรงงานและเศรษฐกิจ ได้แก่

      1. รศ.ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนายการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นผู้ที่สนใจประเด็น Global Study ด้วย
      2. คุณสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ ผู้ประสานงานจากมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ หรือ Map Foundation ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้อยู่หน้างาน มีประสบการณ์โดยตรงจากการทำงานร่วมกับเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
      3. คุณภัคชนก พัฒนถาบุตร เจ้าหน้าที่แผนการเคลื่อนย้ายแรงงานและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานซึ่งมีประสบการณ์ศึกษาวิจัยและขับเคลื่อนมากมาย เช่น หัวข้อแรงงานย้ายถิ่น

อะไรคือบทเรียนที่จะหาทางออกเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ใช้แรงงานข้ามชาติ ทั้งหมดอยู่ในบทสนทนาตลอด 2 ชั่วโมงที่ได้คุยกัน

 

เมื่อคนทั้งโลกกำลังพูดถึงความร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้ กลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติกลับถูกผลักให้ออกไปจากวงและกลายเป็นผู้ประสบภัยกลุ่มแรกๆ ในทุกรอบที่โควิดระบาดหนัก นี่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายว่าด้วยเรื่องแรงงานต่างชาติในไทยในโลกหลังวิกฤต เราชวนทุกท่านพูดถึงทิศทางต่อจากนี้ว่าจะเป็นอย่างไร?

รศ. ดร. ปิติ: ผมว่าเราต้องมองออกเป็น 3 ระยะ คือ

      • ระยะสั้นเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมาก เพราะหลังจากที่การแพร่ระบาดรอบที่ 2 และ 3 เกี่ยวข้องกับการลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าว พวกเขาก็ถูกบังคับให้กลับไปยังประเทศต้นทาง ในขณะภาคอุตสาหกรรมยังต้องการแรงงานเหล่านี้อยู่ เพราะเป็นงานหนัก งานเหนื่อย งานร้อน ซึ่งคนไทยไม่นิยมทำกัน ซึ่งส่งผลกับเศรษฐกิจแน่นอน
      • ระยะกลาง พอเริ่มเปิดประเทศและอนุญาตให้คนเริ่มเดินทางได้โดยไม่ต้องกักตัว แรงงานกลุ่มเดิมก็อาจกลับไปในเมืองใหญ่อีกครั้ง และต้องยอมรับว่าคงมีการทะลักเข้ามาของแรงงานผิดกฎหมายตามตะเข็บชายแดน ซึ่งก็ยังคงเบาใจไม่ได้ว่าโควิดจะกลับมาระบาดอีกไหม
      • ระยะยาว ตรงนี้ผมยังไม่เห็นตัวเลขจากประเทศไทย แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกามีงานวิจัยออกมาว่าอายุขัยของมนุษย์จะลดลงไป 1.2-1.8 ปี ซึ่งตรงนี้กระทบเรื่องโครงสร้างประชากรโดยตรง และกระทบในเรื่องสวัสดิการต่างๆ ของแรงงาน ซึ่งตรงนี้รัฐต้องกลับไปทบทวนแผนประชากรในระยะยาว

เรื่องจำนวนประชากรนี่สำคัญมากเพราะมันไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการค้าและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นโอกาสดีให้ประเทศไทยได้พัฒามาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสุขอนามัย มาตรฐานชีวะอนามัย หรือเพิ่มคุณภาพของสินค้าให้เป็น High Standard มากขึ้นหากจำนวนประชากรในภาคการผลิตลดลง สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องประชากรมีอยู่ด้วยกัน 3 ทาง คือ

      1. เพิ่มอัตราการเกิด ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะเราเริ่มหยุดนโยบายส่งเสริมการคุมกำเนิดมาตั้งนานแล้วแต่อัตราการเกิดก็ยังไม่สูงขึ้น คนรุ่นใหม่เปิดกว้างมากขึ้นที่จะอยู่ด้วยกันแต่ไม่มีลูก
      2. Japan Model คือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาดูแลทั้งคนแก่และช่วยในภาคการผลิต ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เวลามากเพราะไม่ได้เป็นประเทศเจ้าของเทคโนโลยี
      3. American Model แก้ปัญหาสังคมผู้สูงวัยด้วยการนำเข้าทรัพยากรมนุษย์จากต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตลาด สร้างงานที่ดี ลดความจน เซ็ตมาตรฐานใหม่ของแรงงาน

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อยากมีคนเข้ามาทำงานอยู่แล้ว ซึ่งเราควรมีมาตรฐานในการคัดกรองให้ดีขึ้น เพื่อลดปัญหาการว่างงานหรือไม่มีคนทำงาน จัดสรรความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายให้ตรงกัน

อะไรคือความท้ายทายของประเทศไทยครับ มีอะไรบ้างที่เราสามารถใช้เป็นจุดแข็งเพื่อดึงดูดแรงงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้เข้ามาทำงานในบ้านเรา?

รศ. ดร. ปิติ: ผมว่าไอเดียเรื่องความรังเกียจชาวต่างชาติเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้เอง สังคมไทยในทุกยุคที่ผ่านมาเปิดรับคนต่างชาติเสมอทั้งเรื่องการค้าและศาสนา ลองมองย้อนไปสมัยคนจีนโพ้นทะเลเข้ามาทำงานในสยามก็ได้ พอลูกหลานรุ่น 2 และ 3 เขาก็กลายเป็นคนไทยไปหมดแล้ว ประเทศไทยต้องสร้างรัฐสวัสดิการเพื่อดูแลคนเหล่านี้อย่างดี เพราะฉะนั้นต้องเริ่มคิดใหม่ว่าจะเปลี่ยนทัศนคติคนไทยอย่างไร เพราะการรังเกียจประเทศเพื่อนบ้านทำให้เราหมดโอกาสที่จะดึงทรัพยากรเหล่านั้นมาสร้างชาติให้มันดีขึ้น ถ้าดูในประเทศที่พัฒนาแล้ว พวกเขาไม่ปิดกั้นแต่จำกัดโควต้าคนต่างชาติที่จะเข้าไปทำงานเพื่อรองรับความต้องการของตลาด สิ่งนี้น่าจะเป็นโมเดลที่ดีซึ่งเน้นว่าอย่างแรกคือต้องปรับทัศนคติคนไทยให้ได้ก่อน

แรงงานคุณภาพสูงก็อยากได้ แต่กฎหมายไทยคุ้มครองสิทธิและให้สวัสดิการกับพวกเขามากแค่ไหน เรื่องนี้คงต้องถามคุณสุชาติว่ามีการกีดกันแรงงานข้ามชาติอย่างไรบ้าง รวมทั้งการได้สถานะพลเมืองที่ค่อนข้างยากลำบากและกลายเป็นมิติเรื่องการเมืองไปด้วย

สุชาติ: สถานการณ์ปัจจุบันก็คือเมืองไทยต้องการแรงงานไร้ฝีมือมาทำงานทดแทนแรงงานไทยที่หายากขึ้น ก็เหมือนกันคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศซึ่งพลเมืองในประเทศนั้นไม่ทำงานแบบใช้แรงงานกันแล้ว  แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในเมืองไทยก็ต้องการจุดนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น มีรายได้สูงพอๆ กับค่าครองชีพในประเทศตัวเอง ถ้ายึดตามตัวเลขที่ลงทะเบียน แรงงานข้ามชาติมีอยู่ไม่กี่ล้านคน แต่อย่าลืมว่ามีแรงงานใต้ดินอีกจำนวนมากที่ไม่ถูกนับรวม ปัญหาคือเมื่อเกิดโรคระบาด แรงงานกลุ่มที่ไม่ได้ลงทะเบียนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจะเกิดปัญหามากมายตามมา ผมว่าเราต้องยอมรับสภาะว่าเราไม่ได้กีดกันเรื่องการเดินทาง แต่ยังมีอคติต่างๆ ซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดมากมาย รวมถึงการละเมิดและไม่คุ้มครองคุณภาพชีวิตของพวกเขา สิ่งที่ผมอยากเสนอคือภาพก่อน ระหว่าง และหลังของการเกิดโควิดว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร

ก่อนจะเกิดวิกฤต แรงงานข้ามชาติมีอยู่ในทุกภาคส่วนเลยก็ว่าได้ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมและบริการ เรียกว่าไปตรงไหนก็ต้องเจอ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพวกเขาไม่ได้สิทธิและสวัสดิการทางกฎหมายตามที่ประเทศไทยกำหนดไว้ในหลายเรื่อง เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ วันหยุดตามประเพณี การรักษาพยาบาล และถึงว่าจะมีการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย การบังคับใช้ก็ยังมีปัญหามากมายตามมา

พอปัญหาที่มันเคยมีอยู่แล้วถูกซ้ำเติมด้วยโควิด สถานการณ์ทุกอย่างก็ดูจะแย่ลงไปกว่าเดิม แรงงานข้ามชาติได้รับผลกระทบเยอะมาก ไม่มีงานเท่ากับไม่มีรายได้ ส่วนการชดเชยก็มีเงื่อนไขเยอะมาก แรงงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบคือตัดออกไปเลย ไม่ได้สักอย่าง ส่วนแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมก็ต้องมาดูว่าส่งเงินสมทบถึง 6 เดือนไหม เพราะสมมติว่าทำมาแล้ว 3-4 เดือนก็ยังใช้สิทธิประกันไม่ได้ สิ่งที่ผมเห็นคือแรงงานข้ามชาติที่เชียงใหม่และตากอยู่ได้ด้วยของบริจาค เขาไม่มีทางออกเพราะไม่มีการจัดการใดๆ พอไปทำงานที่อื่นก็โดนจับ เพราะทำงานไม่ตรงกับนายจ้างตามที่ระบุไว้ในใบ โดยที่กระทรวงก็ไม่มีมีนโยบายหรือมาตรการที่ออกมาสนับสนุนเรื่องพวกนี้

อีกประเด็นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โควิดคืออคติต่อแรงงานข้ามชาติ อย่างเช่นข้อบังคับที่ออกมาในบางจังหวัดว่าแรงงานต่างชาติห้ามเดินทางในเวลานี้ ส่วนคนไทยสามารถเดินทางได้ ผมถามว่าโควิดมันเลือกเหรอว่าจะติดเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ถ้าเกิดกีดกันชาวต่างชาติแล้วโควิดมันหยุดใช่ไหม ทุกอย่างมันเป็นการโยนภาระไปให้พวกเขาจัดการกันเอง ส่วนโรงงานก็ไปหักค่าแรงจากคนงานอีกที 

ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำหลังโควิดคือรัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องดูแลแรงงานข้ามชาติทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย พวกเขาควรได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุมและถูกพูดถึงเหมือนกัน ที่สำคัญคือรัฐต้องกลับมาทบทวนว่ามีข้อปฏิบัติไหนที่แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิ เข้าไม่ถึง ผมว่านี่เป็นความท้าทายที่ต้องสร้างมาตรฐานใหม่ในการรับมือ รวมทั้งมองว่าแรงงานข้ามชาติก็เป็นคนเหมือนกันและอยากมีชีวิตที่ดี เช่นเดียวกับคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ พวกเขาก็ไปหาโอกาสทำเงิน หวังว่ามีชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อกลับมาอยู่ประเทศตัวเอง

เมื่อการไม่มีนโยบายคือนโยบายที่คิดมาแล้ว อคติต่อแรงงานข้ามชาตินี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? 

ภัคชนก: หลายอย่างเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติไม่ได้ถูกนำเสนอด้วยความจริง เช่น เราไม่ได้บอกว่าเมืองไทยกำลังขาดแคลนแรงงานแต่เราจะมองว่าพวกเขาอยากเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองไทย เห็นข่าวการลักลอบขนแรงงานเถื่อน หรือมีความต้องการอย่างมากจากประเทศเพื่อนบ้าน ฉะนั้นเราไม่ต้องดูแลหรือง้อเขามากก็ได้ แต่ถ้าลองตั้งคำถามว่านายหน้าที่กล้าทำงานอย่างนี้จะไม่มีใครอยู่เบื้องหลังจริงหรือ เราต้องมองว่าเป็นเรื่องระบบ และการยินยอมช่วยเหลือบางส่วน หรือเวลาที่เรานำเสนอข่าวเปิดลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติ จะดูว่าเมืองไทยมีพระคุณมากเลยที่ให้พวกเขาอยู่ต่อ ทั้งที่จริงๆ แล้วนายจ้างต่างหากที่โชคดีเพราะจะได้มีแรงงานถูกกฎหมายไว้ขับเคลื่อนธุรกิจของตัวเองต่อไป 

ส่วนถ้าพูดถึงผู้มีอำนาจในการออกนโยบายหรือภาครัฐ ก็จะเห็นว่าเขาวางกรอบนโยบายมาเกือบ 20 ปีแล้วไม่เคยเปลี่ยนแปลง กลายเป็นวงจรที่แรงงานในประเทศไทยขาดแคลนตลอดเวลาเพราะคนไทยไม่อยากทำงานประเภทนี้ มีงานวิจัยออกมาหลายชิ้นเพื่อพูดถึงเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่เห็นปฏิกริยาหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ กฎข้อบังคับสำหรับนายจ้างมีน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเงื่อนไขสำหรับลูกจ้าง และบังคับใช้อย่างเข้มข้นเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในหมู่แรงงานข้ามชาติ พอข่าวแรงงานโดนจับถูกนำเสนอบ่อยๆ  ก็กลายเป็นว่าสังคมเกิดความหวาดกลัวไปหมด ต่อให้รู้สึกสงสารยังไงก็ไม่อยากเข้าไปยุ่งหรือสุงสิงด้วย และก็คิดว่าแค่เขามาอยู่ในประเทศเราก็ดีกว่าบ้านเขาในทุกมิติแล้ว

การมองจากมุมนี้ทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมกำหนดตำแหน่งให้แรงงานข้ามชาติอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่า ทั้งด้อยโอกาสและน่ากลัว ยังไม่รวมว่าในช่วงโควิด พวกเขาถูกมองว่าเป็นคนเอาเชื้อเข้ามาแพร่ในเมืองไทย สุดท้ายถ้าจะเปิดประเทศแล้วพวกเขายังไม่ได้เป็นคนกลุ่มหลักในการรับวัคซีน ก็จะส่งผลกับภาคธุรกิจเพราะแรงงานข้ามชาติจำนวนมากทำงานอยู่ในสถานประกอบการซึ่งก็ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ 

ประเด็นเรื่องแรงงานข้ามชาติยิ่งฟังยิ่งหดหู่ เลยต้องถาม รศ. ดร. ปิติว่าพอจะใช้โมเดลของประเทศญี่ปุ่นได้ไหมที่จะนำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานมนุษย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศ

รศ. ดร. ปิติ: ยังไงเทคโนโลยีก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญ แต่เทคโนโลยีที่ดีต้องเข้าถึงทุกคนได้ในราคาถูกพร้อมทั้งต้องสร้างและต่อยอดได้เอง ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปิดมาก หมายถึงเขาจะยอมรับสิ่งที่ผลิตขึ้นในประเทศตัวเองมากกว่า เขาเลยต้องทำให้เข้าถึงทุกคนได้ ส่วนไทยเป็นประเทศที่เปิดรับหลายอย่างจากต่างประเทศ ผมเลยมองว่าเอามาเป็นโมเดลเสริมได้ แต่เอามาเป็นโมเดลหลักคงยาก เราควรมองว่าตัวเองมีศักยภาพในการต่อยอดเทคโนโลยีมากกว่าการสร้างขึ้นใหม่ด้วยตัวเอง ผมเลยว่ามองโมเดล Melting Pot หรือหลอมรวมเป็นหนึ่งแบบอเมริกาใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพกว่า  ผมเห็นสัญญาณที่ดีจากคนรุ่นใหม่นะครับ พวกเขาเห็นคนเป็นมากขึ้น ไม่ได้เหยียดหยามประเทศเพื่อนบ้านเหมือนคนรุ่น Baby Boomer และ Gen-X ยังไงเราก็หนี Trade Deal ไม่ได้อยู่แล้วเพราะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ฉะนั้นสภาพแวดล้อมจะบังคับให้เรายอมรับกติกาที่เป็นสากลยิ่งขึ้น 

ถ้าอย่างนั้นวางระบบอย่างไรให้ไทยพร้อมรับแรงงานข้ามชาติแบบใหม่ เพื่อสวัสดิการที่ดี กฎหมายที่รองรับ และทลายข้อจำกัดต่างๆ คุณสุชาติอธิบายในเชิงนโยบาย

สุชาติ: ผมมองอยู่ 3 เรื่องซึ่งถ้าขยับได้ก็จะทำให้แรงงานข้ามชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เรื่องแรกคือนโยบายจากรัฐที่ต้องมีการพูดถึงอย่างชัดเจนและเป็นนโยบายระยะยาว เพราะที่ผ่านมา พ.ร.ก. เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติไม่ได้ถูกวางเอาไว้อย่างชัดเจนและไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน เช่น ถึงแม้ว่าจะเป็นแรงงานไร้ทักษะ ก็ควรจะได้ทำงานตามความสามารถของเขา เพราะบางคนมีข้อจำกัดเรื่องเอกสารจึงไม่สามารถไปทำงานที่เขามีความรู้อย่างแท้จริงได้

ต่อมาคือเรื่องพัฒนาฝีมือแรงงานที่ต้องมีเพื่อแรงงานข้ามชาติด้วยเพราะปัจจุบันพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการเหล่านี้ได้ จึงทำให้พวกเขาไม่อยู่ในกรอบการปรับค่าจ้างตามความสามารถหรือความรู้ที่มี ในขณะเดียวกันก็ต้องเจอกับงานระบบราชการและเอกสารที่ยุ่งยากซึ่งกระทบกับเวลาทำงานของพวกเขา นายจ้างที่ไปทำเอกสารให้ก็มักจะหักค่าดำเนินการจากค่าแรงของลูกจ้าง ผลักภาระกันเป็นทอดๆ นายจ้างบางส่วนไม่ยอมทำประกันสังคมให้เพราะตัวเองต้องจ่ายสมทบด้วย หรือยังมีบางอาชีพที่อยู่นอกเหนือการครอบคลุม

เรื่องสุดท้ายคือการสร้างกองทุนเพื่อเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นโรคระบาดหรือภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งแรงงานชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งสามารถหาได้จากเงินที่รัฐเก็บจากแรงงานไปแล้ว และมีการสมทบเพิ่มจากรัฐอีกส่วน ที่ผ่านมามีกรณีน้ำท่วมที่แรงงานได้รับผลกระทบทุกปีแต่ไม่มีใครพูดถึง สุดท้ายก็ต้องพึ่งพากันเอง รัฐควรมีมาตรการออกมาเป็นระยะเพื่อรองรับปัญหาเหล่านี้

สุดท้ายแล้วระบบที่จะตอบรับกับความท้าทายต่อแรงงานข้ามชาติในอนาคตต้องมีหน้าตาเป็นแบบไหน คำถามสุดท้ายถูกทิ้งไว้เพื่อให้ผู้อำนาจในการตัดสินใจออกนโยบายนำไปคิดต่อ?

ภัคชนก: ตรงนี้เราหลีกเลี่ยงบทบาทของนายจ้างไม่ได้เลยจริงๆ แล้วสิ่งที่ถูกผลักดันในเวทีนานาชาติคือนายจ้างนี่ละที่ต้องเป็นคนดูแลค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างแรงงานข้ามชาติเพื่อตัดปัญหาวงจรต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น การสร้างหนี้และการค้ามนุษย์ บทบาทของภาคเอกชนจะเป็น Game Changer ในทุกเรื่องที่กำลังประสบกันอยู่ คือเมื่อใดที่นายจ้างยอมรับในเรื่องความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายให้แรงงาน เขาก็จะเริ่มรู้ว่าตัวเองต้องการแรงงานแบบไหนกันแน่ ก็จะยิ่งไปสอดรับกับการนำเข้าแรงงานมีทักษะมากขึ้น เพราะนายจ้างก็อยากได้ทรัพยากรที่ดีที่สุด การออกค่าใช้จ่ายให้เป็นเหมือนการลงทุนอย่างหนึ่งในบริษัท เขาต้องมีแรงจูงใจเพื่อเก็บลูกจ้างคนนั้นเอาไว้และเสริมศักยภาพให้เพราะตัวเองได้ออกค่าใช้จ่ายไปประมาณหนึ่งแล้ว แต่ตรงนี้ต้องโน้ตไว้ว่ากระบวนการร้องทุกข์ของลูกจ้างต้องได้รับการปรับปรุงแล้วด้วย เพราะอาจมีนายจ้างบางคนที่เหมือนกันแต่ทำไม่เหมือนกัน มองลูกจ้างเป็นเหมือนสิ่งของหรือทำสัญญาผูกมัดกันเอาไว้ ทั้งสองฝ่ายต้องเคารพกันในทางกฎหมายระดับหนึ่ง

แต่สิ่งสำคัญกว่าค่าใช้จ่ายคือเรื่องการเคลื่อนย้าย วันนี้เราต้องพูดกันแล้วว่าจะเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างไรให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน มันจะเกิดขึ้นจริงไม่ได้ถ้ายังไม่มีเสรีภาพของแรงงาน พวกเขาควรเลือกได้ว่าอยากทำงานอะไร อยากทำงานกับใคร ใครที่เคารพเขา ให้โอกาสเขาในการทำงาน และพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพในตัวเขาได้มากที่สุด ถ้าแรงงานมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายตัวเอง ก็จะสามารถสร้างข้อต่อรองและทำให้หลายสิ่งที่พูดมาเป็นจริงได้ ถ้าคนเรามีเสรีภาพก็จะแสวงหาโอกาสให้กับตัวเอง

ตราบใดที่ยังมีบางอย่างไปยึดติดว่าแรงงานต้องอยู่กับนายจ้างหรือโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน แรงงานข้ามชาติก็ไม่มีทางได้รับสิทธิและการคุ้มครองที่เขาสมควรจะได้รับในทางปฏิบัติที่แท้จริง แม้ว่าทางกฎหมายจะระบุไว้ว่าอะไรก็ตาม

 

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

      • เดินตาม American Model แก้ปัญหาสังคมผู้สูงวัยด้วยการนำเข้าทรัพยากรมนุษย์จากต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตลาด สร้างงานที่ดี ลดความจน เซ็ตมาตรฐานใหม่ของแรงงาน
      • รัฐต้องกลับมาทบทวนว่ามีข้อปฏิบัติไหนที่แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิ เข้าไม่ถึง นี่เป็นความท้าทายที่ต้องสร้างมาตรฐานใหม่ในการรับมือ รวมทั้งมองว่าแรงงานข้ามชาติก็เป็นคนเหมือนกันและอยากมีชีวิตที่ดี เช่นเดียวกับคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ
      • นโยบายจากรัฐต้องเป็นนโยบายระยะยาว เพราะที่ผ่านมา พ.ร.ก. เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติไม่ได้ถูกวางเอาไว้อย่างชัดเจนและไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน 
      • ต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อแรงงานข้ามชาติ เพราะปัจจุบันพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการเหล่านี้ได้ จึงทำให้พวกเขาไม่อยู่ในกรอบการปรับค่าจ้างตามความสามารถหรือความรู้ที่มี 
      • สร้างกองทุนเพื่อเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นโรคระบาดหรือภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งแรงงานชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งสามารถหาได้จากเงินที่รัฐเก็บจากแรงงานไปแล้ว และมีการสมทบเพิ่มจากรัฐอีกส่วน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า