SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาคประชาสังคมไทยรวมกว่า 40 องค์กร ออกจดหมายเปิดผนึกร้องขอให้คณะรัฐมนตรีถอนร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. … ขณะที่ผู้รายงานพิเศษองค์การสหประชาชาติ 4 ราย แสดงความกังวลต่อการออกกฎหมายดังกล่าว หวั่นขัดขวางการทำงานของภาคประชาสังคม

วันที่ 27 ธันวาคม 2564 กว่า 40 องค์กรภาคประชาสังคม และนักสิทธิมนุษยชนออกจดหมายเปิดผนึก ร้องรัฐบาลถอนร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. … ที่กำลังจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 28 ธันวาคม 2564 โดยแสดงความกังวลต่อมาตรา 19, 20, 21, 25, 26 และ 27 ของร่างกฎหมายดังกล่าว

“พวกเราในนามหน่วยงานของประเทศไทยและระหว่างประเทศซึ่งลงนามในจดหมายนี้ ได้เขียนจดหมายเพื่อแสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อร่างพระราชบัญญัติการดาเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากาไร พ.ศ. ….(‘ร่างพระราชบัญญัติ’) พวกเราเป็นกลุ่มภาคประชาสังคมที่ทางานในประเด็นต่างๆ รวมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน และมีการดาเนินงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนหลายล้านคนในประเทศไทย” จดหมายเปิดผนึกระบุ

“แม้ว่าพวกเราแต่ละองค์กรจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่พวกเราต่างมีความรู้สึกร่วมกันที่จะคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งมีข้อบทหลายประการที่จะทาให้องค์กรไม่แสวงหากำไรและสมาชิกขององค์กรเหล่านี้ ไม่เพียงต้องตกเป็นเป้าของมาตรการควบคุมที่เข้มงวดจนเกินกว่าเหตุต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ และสิทธิมนุษยชนอื่นๆ หากยังต้องเผชิญกับการแทรกแซงโดยพลการอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว”

มาตราที่ถูกมองว่าเป็นปัญหา กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่มีการระบุวัตถุประสงค์กำกับ วางกรอบบทบาทขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรว่าห้ามดำเนินการกระทบความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ห้ามดำเนินการกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม และอื่น ๆ กำหนดให้เปิดเผยแหล่งทุน กำหนดเงื่อนไขในการรับแหล่งทุนจากต่างประเทศ โดยหากฝ่าฝินจะมีบทลงโทษ

คำชี้แจงจากจดหมายเปิดผนึกระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลโดยไม่มีวัตถุประสงค์กำกับอาจนำไปสู่การใช้อำนาจโดยพลการ การวางกรอบบทบาทการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรวว่าต้องห้ามข้อใดบ้างนั้น”กว้างเกินไป” และ “แทบจะครอบคลุมการดำเนินเงินเกือบทั้งหมดขององค์กรภาคประชาสังคม” ไม่เคารพหลักการความถูกต้องตามกฎหมายของกฎหมายระหว่างประเทศ มีบทลงโทษที่รุนแรงเกินไปและไม่ได้สัดส่วน

ขณะที่มาตราการเปิดเผยแหล่งทุน จดหมายเปิดผนึกระบุว่า “องค์กรไม่แสวงหากาไรย่อมมีสิทธิ และโดยทั่วไปไม่ควรถูกกาหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนต่อสาธารณะ ในลักษณะเดียวกับบริษัทเอกชนที่ไม่ได้ถูกกาหนดให้ต้องเปิดเผยรายละเอียดด้านธุรกิจหรือความลับทางการค้าหลายประการต่อสาธารณะ ข้อกาหนดอย่างอื่นเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนต่างประเทศในมาตรา 21 มีลักษณะกว้างเกินไป และละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคม ซึ่งรวมถึงความสามารถในการแสวงหาและมีแหล่งทุนและทรัพยากรที่ยั่งยืนทั้งจากภายในและระหว่างประเทศ”

“เราขอกระตุ้นรัฐบาลไทยให้รับประกันว่าจะมีกระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะต่อร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างโปร่งใสและสร้างสรรค์ โดยกาหนดกรอบเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อให้สาธารณชน องค์กรไม่แสวงหากาไร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างจริงจัง อันจะนาไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ มากกว่าจะเป็นอันตรายต่อประชาชนในประเทศไทยและภูมิภาคนี้” จดหมายระบุ ลงชื่อหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มูลนิธิอันเฟรล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เฟมินิสต์ปลดแอก กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิเพื่อสิทธิทนุษยชนและการพัฒนา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

วันเดียวกันผู้รายงานพิเศษ 4 ด้านขององค์การสหประชาชาติได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย หมายเลขอ้างอิง: OL THA 7/2021 แสดงความกังวลต่อร่างพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งส่วนหนึ่งมีข้อบังคับการรายงานทางการเงินขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

จดหมายดังกล่าวมาจากผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม, ผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น, ผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการต่อต้านการก่อการร้าย

เอกสารระบุว่าคณะผู้รายงานพิเศษ มีความกังวลต่อการแก้ไข พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ “เรามีความกังวลว่าการแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับจะส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมเป็นสมาคม ที่ระบุไว้ในข้อ 19 และ ข้อ 22 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2539”

“เราขอให้ท่านตระหนักด้วยว่าบ่อยครั้งโทษทางอาญามักถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปิดปากองค์กรภาคประชาสังคมและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน จนอาจส่งกระทบเป็นวงกว้างต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แสดงความเห็น การชุมนุมโดยสงบ และการรวมกันเป็นสมาคม (A/HRC/26/29, วรรค 60) รวมถึงอาจเป็นการขัดขวางประชาชนจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีความชอบธรรมขององค์กรไม่แสวงหารายได้ (non-profit organisations หรือ NPOs) “

หนังสือระบุว่า “หลักการการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้ายอาจถูกนำมาใช้ในทางที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งถูกรับรองไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ” ทำให้คณะฯกังวลว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะขยายข้อบังคับให้ “กว้างเกินไป” และใช้บังคับทุกองค์กรรวมถึงองค์กรขนาดเล็กในชุมชน ซึ่งอาจไม่มีศักยภาพหรือทรัพยากรทางการบริหารและทางการเงินในการจัดทำรายงานดังกล่าว ทำให้องค์กรขนาดเล็กเสี่ยงต่อกาถูกดำเนินคดี ซึ่งอาจนำไปสู่การค่าปรับจำนวนมาก หรือถูกจำคุก

“รัฐควรระบุว่ากลุ่มขององค์กรใดจัดเป็นองค์กรไม่แสวงหารายได้ตามคำนิยามของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน [โดยใช้] แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดระบุประเภทและคุณสมบัติขององค์กรซึ่งมีลักษณะและกิจกรรมสุ่มเสี่ยงอย่างแท้จริงต่อการสนับสนุนทางการเงินกับกลุ่มก่อการร้าย” นอกจากนี้ ข้อแนะนำที่ 8 ยังกำหนดกรอบมาตรการอย่างแคบเพื่อมุ่งเป้าไปยังองค์กรไม่แสวงหารายได้ที่สุ่มเสี่ยง และระบุว่า รัฐ “ควรทบทวนความเพียงพอของมาตรการ (…) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลรายได้ที่สุ่มเสี่ยงต่อการสนับสนุนการก่อการร้าย เพื่อให้สามารถดำเนินการอย่างได้สัดส่วนและมีประสิทธิภาพต่อการจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าว”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า