Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เช็กที่นี่ ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีโรคร่วม รุนแรงแค่ไหนถึงเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล

ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเอง กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ท่านไม่ได้มีหลักประกันสุขภาพ เช่น ประกันสังคม บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ ยกเว้นกรณีอาการรุนแรงวิกฤตฉุกเฉิน/มีโรคร่วมใช้สิทธิ UCEP Plus หรือ ยูเซป พลัส สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรง เช่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง

จากการตรวจสอบข้อมูลจากคู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า สิทธิในการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต คือ
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เรื่อง การกำหนดขั้นตอน มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน (UCEP) เพื่อให้เกิดการบริหารงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้สิทธิสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องกลับไปเข้าระบบการรักษาตามสิทธิประกันสังคม บัตรทอง และบัตรสวัสดิการข้าราชการ โดย รมว.สาธารณสุข ระบุว่า UCEP Plus ไม่ได้ดูแลเฉพาะผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีโรคร่วม ผู้ที่มีอาการรุนแรงเพียงอย่างเดียว แต่หากผู้ติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่อยู่ในระหว่างการรักษาที่บ้านและชุมชน (Home and Community Isolation) แล้วอาการเปลี่ยนแปลง มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น ก็สามารถใช้สิทธินี้ได้ เพื่อเข้ารักษาเร่งด่วนฉุกเฉิน โดยขอให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้ลงทะเบียนผ่านระบบ 1330 ทั้งสายด่วนและไลน์ @nhso ซึ่งตนได้ประสานให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพิ่มคู่สายรองรับแล้ว ส่วนผู้ที่ไม่สะดวกอยู่ที่พักอาศัยแบบ HI เราก็มี CI รองรับได้อยู่ โดย กทม.ยืนยันกับ สธ.ว่า HI/CI มีความพร้อม นอกจากนั้น ยังมีเตียงสนามของภาคเอกชนด้วย

• ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประเมินตนเองผ่าน Chatbot หมอพร้อม

สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทาง กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาฟังก์ชันบน “หมอพร้อม Chatbot” ให้สามารถประเมินตนเองในการคัดกรองภาวะวิกฤตและคัดกรองความเร่งด่วนในการเข้ารับการรักษา เพื่อรับคำแนะนำการดูแลเบื้องต้นว่าควรดูแลที่บ้าน หรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อเข้าระบบแล้วให้เลือกเมนู “ติดโควิด คลิกที่นี่” จากนั้นระบบจะถามคำถามเพื่อประเมินและคัดกรองภาวะวิกฤต ได้แก่

1.มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจไม่ทัน หายใจเหนื่อยจนซี่โครงบาน หายใจเร็วกว่า 20 ครั้งต่อนาที หายใจมีเสียงดัง
2.อาการซึมลง ไม่รู้สึกตัว
3.อาการตัวซีด เย็น
4.อาการเหงื่อท่วมตัว

หากมีอาการจะแนะนำว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินให้ติดต่อ 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

นพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด-19 กล่าวว่า ระบบ “หมอพร้อม Chatbot” จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยคัดกรองผู้ที่มีผลการตรวจโควิด-19 โดยการประเมินดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1.การประเมินตนเองเพื่อคัดกรองภาวะวิกฤต
2.การประเมินตนเองเพื่อคัดกรองความเร่งด่วน

หมอพร้อม Chatbot จะวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพพื้นฐานของผู้ติดเชื้อ อาการและความพร้อมในการรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งอ้างอิงจากผลการศึกษาทางวิชาการของกรมการแพทย์ โดยสามารถประเมินให้ตนเองหรือบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อได้ โดยเครื่องมือการประเมินมีค่าความแม่นยำร้อยละ 85

ทั้งนี้ ตามระบบการรักษาหากติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย จะเน้นการดูแลรักษาที่บ้านและชุมชนเป็นลำดับแรก (HI/CI First) ซึ่งจะได้รับการติดตามอาการทุกวันจากบุคลากรทางการแพทย์ หากมีอาการเปลี่ยนแปลงจะได้รับการส่งต่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลตามระบบ

หากไม่มีอาการให้ทำแบบประเมินคัดกรองความเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ซึ่งจะมีการสอบถามช่วงอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว สอบถามอาการ เช่น ไอ เจ็บคอ ไข้มากกว่า 39 องศาเซลเซียส ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หายใจลำบาก/ไม่อิ่ม จมูกไม่ได้กลิ่น ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน รวมถึงสอบถามว่าเป็นกลุ่มเปราะบางหรือไม่ เช่น ตั้งครรภ์ มีภาวะติดเตียง ประวัติโรคจิตเวช ซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด มีความพิการและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จากนั้นระบบจะนำคำตอบทั้งหมดมาประเมินและให้คำแนะนำเบื้องต้น เช่น หากแนะนำการดูแลที่บ้าน จะระบุช่องทางติดต่อ 1330 รวมถึงให้คู่มือแนวทางการกักตัวที่บ้าน เป็นต้น

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า