SHARE

คัดลอกแล้ว

กว่าเด็กคนหนึ่งจะเติบโตจนเดินทางมาถึงอายุ 20 ปีซึ่งเป็นวัยบรรลุนิติภาวะได้ต้องใช้เวลามากกว่า 7,000 วัน ในช่วง 7,000 วันนี้ทุกสภาพแวดล้อม ทุกคำสั่งสอน ทุกทางเลือกจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กไร้เดียงสา กลายเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์

บทสนทนาในรายการ TOMORROW ของ ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ วัย 29 ปี และแสนดี-แสนปิติ สิทธิพันธุ์ วัย 22 ปีที่เพิ่งจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้มาแชร์ประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์การเรียนรู้ การเติบโต และการเดินทางออกจากประเทศบ้านเกิดไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ถอดออกมาเป็น 5 บทเรียนพัฒนาตัวเองได้อะไรบ้าง ชวนมาอ่านไปด้วยกัน

  1. เรียนรู้ที่จะยอมรับความโง่เขลา

ในช่วงหนึ่งของบทสนทนา แสนดีเล่าว่าขณะที่เรียนอยู่ในประเทศไทย เขาเรียนในโรงเรียนนานาชาติ สิ่งแวดล้อมจะแตกต่างจากสังคมโรงเรียนทั่วไป ขณะนั้นแสนดีรู้สึกว่าตัวเองเป็นปลาใหญ่ในอ่างเล็ก แต่เมื่อไปเรียนที่สหรัฐฯ ทุกอย่างกลับกัน เขากลายเป็นปลาเล็กในอ่างใบใหญ่ ซึ่งมีปลาตัวอื่นอีกมากมายที่ทั้งเก่งกาจ และมีความสามารถไม่แพ้กัน

สิ่งที่เขาเรียนรู้จากสถานการณ์นี้คือ ยอมรับใน ‘ความไม่รู้’ อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ และอย่ากลัวที่จะเรียนรู้จากรอยขีดข่วนในชีวิต และมีโอกาสได้เรียนรู้จาก อย่าตกเป็นเหยื่อความอวดดี เหมือนแนวคิดภูเขาแห่งความโง่เขลา (Mount Stupid) ที่ชัชชาติชอบพูดถึงบ่อยๆ “คนที่รู้เยอะ มักจะรู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร ส่วนที่รู้น้อย จะไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร”

  1. รับฟังความเห็นต่าง เพราะจะทำให้เราฉลาดขึ้น

“เราจะได้เรียนรู้มากเมื่อคุยกับคนที่เห็นด้วย แต่จะได้เรียนรู้มากกว่าเมื่อคุยกับคนที่เห็นต่าง” คือหนึ่งในประโยคที่ได้ยินจากบทสนทนานี้

ในระหว่างการพูดคุย มีหนึ่งประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงบ่อยครั้งคือ ‘ความเห็นต่าง’ ซึ่งมาในรูปแบบการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ ไอติมแม้จะเรียนจบจากสาขาการเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บ่อยครั้ง และมองว่าประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่ออกแบบมาสำหรับท่องจำเท่านั้น แต่ยังเป็นเนื้อหาที่เปิดให้เรามีโอกาสได้ถกเถียง โต้แย้ง และวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งช่วยพัฒนาวิธีคิดให้รัดกุม และแหลมคมขึ้น

  1. มองหาข้อดีในทุกๆ อย่างเสมอ

แสนดีเล่าให้ฟังว่าหนึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชัชชาติ ผู้เป็นพ่อคือการมองโลกในแง่บวก ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์ที่ยากลำบากแค่ไหน จงพยายามมองหาข้อดีของมันอยู่เสมอ มันจะทำให้เราไม่จมไปกับความวิตกกังวล และความเศร้าหมอง แล้วก็อย่าลืมที่จะใจดีกับตัวเองอยู่เสมอ อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป

อย่างไรก็ตาม แสนดีบอกว่าในอีกมุมหนึ่งของการมองโลกในแง่บวกคือต้องรู้จักขอบเขตไม่ให้ก้าวล้ำไปถึงคำว่า Toxic Positivity หรือคิดบวกจนเป็นพิษ ต้องพยายามควบคุมความคิดของตัวเอง รู้ว่าความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะอะไร เข้าใจมัน และจัดการมันอย่างชาญฉลาด 

นี่คือวิธีการใช้ ‘ความโลกสวย’ ให้เป็นประโยชน์และไม่กลับมาทำร้ายตัวเอง

  1. เคารพทางเลือกของคนรอบข้างอยู่เสมอ

ในช่วงต้นของบทสนทนา ทั้งแสนดี ไอติม และเอมแลกเปลี่ยนกันเรื่องของการศึกษา แชร์ประสบการณ์การเรียนในอังกฤษ และสหรัฐฯ สิ่งหนึ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในประเด็นนี้คือ ‘การยอมรับ’ ยอมรับความถนัด ยอมรับความชอบ ยอมรับในตัวตนของกันและกัน

ไอติมเล่าว่าตอนเรียนที่อังกฤษ คุณครูในโรงเรียนไม่ได้กดดันให้นักเรียนต้องทำอาชีพใดอาชีพหนึ่ง สิ่งที่โรงเรียนต้องการคือให้นักเรียนค้นพบตัวเอง รู้ว่าอยากให้ภาพของตัวเองในอนาคตเป็นแบบไหน แล้วดึงสิ่งนั้นมาเป็นจุดแข็ง โรงเรียนทำหน้าที่แค่ช่วยส่งเสริม และผลักดันให้นักเรียนไปได้สุดทางที่ต้องการ

หรือแม้กระทั่งแสนดีเองก็ได้รับการยอมรับจากบิดา ตอนแรกแสนดีเลือกเรียนด้านการบริหารธุรกิจ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเรียนสาขาประวัติศาสตร์เพราะความชอบส่วนตัว แม้ชัชชาติอาจจะไม่เห็นด้วยในคราวแรก แต่ก็พร้อมจะสนับสนุนให้ลูกให้เลือกตามความฝัน

บรรยากาศเหล่านี้ส่งเสริมให้เด็กคนหนึ่งเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีกรอบแห่งความดีงาม หรือค่านิยมมาขวางกั้น ก็ทำให้พวกเขาได้พัฒนาศักยภาพตัวเองอย่างเต็มกำลัง นี่คือผลจากการเคารพการตัดสินใจของกันและกัน โดยไม่เอาความต้องการหรือประสบการณ์ของตัวเองมาเป็นที่ตั้ง

  1. ระเบียบวินัยสร้างได้ถ้าเข้าใจมัน

หัวข้อระเบียบวินัยต่อเนื่องมาจากประเด็นเรื่อง ‘ใส่ชุดนักเรียน=มีวินัย จริงหรือไม่?’

แสนดีบอกว่า การสร้างระเบียบวินัยที่ดีไม่ควรเกิดจากการบีบบังคับ แต่ควรเกิดจากความต้องการและความเข้าใจของคนคนนั้นจริงๆ ก่อนไอติมจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เขาไปบรรยายในโรงเรียนแห่งหนึ่ง และตั้งโจทย์ให้นักเรียนว่า “ให้นักเรียนออกมาวิดพื้นข้างนอก 100 ครั้ง” แต่ปรากฏไม่มีใครออกมาเลย ไอติมเลยให้นักเรียนพยายามต่อรองว่าทำไมนักเรียนต้องออกไปวิดพื้นตามคำสั่ง

คำตอบที่ได้มี 4 ข้อ คือ

  1. จ่ายเงินมาสิ แล้วจะทำ
  2. ให้สอนก่อน แล้วจะทำตาม
  3. ทำไมคุณไม่ทำเอง
  4. มีเหตุผลอะไรที่เราต้องวิดพื้น

ไอติมอธิบายต่อว่า คำตอบข้อแรกแสดงให้เห็นปัจจัยเรื่องการให้รางวัลตอบแทน ข้อที่สองเป็นปัจจัยเรื่องให้การทักษะความรู้ ข้อที่สาม เป็นเรื่องของบุคคลต้นแบบ และข้อสุดท้ายคือปัจจัยเรื่องของความเข้าใจในจุดหมาย

ปัจจัยทั้ง 4 ข้อนี้คือสิ่งที่จะสร้างระเบียบวินัยได้อย่างยั่งยืน ก่อนที่เราจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง ให้ถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการแรงกระตุ้นด้านไหน ข้อ 1, 2, 3 หรือ 4 เมื่อเราค้นพบแล้ว จะทำให้เรามีระเบียบวินัยขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับ

นี่เป็นเพียงบางส่วนจากบทสนทนาของทั้ง 3 คน หากใครอยากฟังเต็มๆ ตามไปดูต่อได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=B0IW9-hYAVw 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า