Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ว่ากันว่าทุกคนมีความกลัวซ่อนไว้ในใจ บางคนกลัวการทำความรู้จักคนใหม่ๆ ทั้งที่เป็นคนเฟรนลี่ บางคน บางคนกลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษ ทั้งที่สอบได้เกรดสี่ คนบางกลัวว่าตัวเองจะเก่งไม่พอ ทั้งที่เป็นคนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง อาการ ‘กลัว’ เหล่านี้มีชื่อว่า Imposter Syndrome

⚫️ รู้จักImposterSyndrome

Imposter Syndrome หรือนักจิตวิทยามักเรียกว่า ​Impostor Phenomenon อธิบายอย่างง่ายๆ คือ ภาวะรู้สึกสงสัยในความสามารถตัวเอง ไม่มั่นใจว่าความสำเร็จของตัวเองเกิดขึ้นเพราะความสามารถหรือเพราะโชคช่วย ซึ่งลักษณะอาการที่เข้าข่ายภาวะนี้ก็ตัวอย่าง เช่น

นิสัยรักความสมบูรณ์แบบ : พยายามทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ที่สุด เพราะลึกๆ แล้วยังลังเลว่าสิ่งที่ทำดีพอหรือยัง บางคนจึงต้องย้ำคิดย้ำทำบ่อยๆ

กดดันตัวเอง คิดว่ายังทำไม่ดีพอ : ไม่ว่าผลงานจะออกมาสมบูรณ์แค่ไหน ลึกๆ ก็ยังมีความคิดว่ามันน่าจะดีกว่านี้ได้อีก

หัวไว-ใส่ใจในการหาความรู้ในทุกเรื่อง : พยายามอัพเดตความรู้หรือกระแสสังคมตลอดเวลา เพราะกังวลว่าอาจจะพลาดอะไรไป

ชอบจัดการทุกอย่างคนเดียว : ไม่ค่อยพึ่งพาใคร เพราะกลัวโดนจับผิดว่าไม่เก่งพอ

บทความที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Behavioral Science บอกว่า 70% ของมนุษย์จะรู้สึกไม่มั่นใจในความสามารถตัวเองสักครั้งในชีวิต และมันสามารถเกิดได้กับทุกวงการ ทุกอาชีพ ผู้หญิง ผู้ชาย นักศึกษา นักแสดง ผู้บริหาร หรือผู้จัดการฝ่ายการตลาด

ถ้ายังเห็นภาพอาการนี้ไม่ชัด หากมองภายนอก เราคงไม่คิดว่าคนอย่าง ‘เชอริล คาร่า แซนด์เบิร์ก’ ผู้มีประวัติการทำงานยาวเป็นหางว่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารธุรกิจ มหาเศรษฐี และเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Meta Platforms รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้ง LeanIn.Org ซึ่งน่าจะยืนยันความสามารถของตัวเองได้ระดับหนึ่ง กลับรู้สึกข้องใจในความเก่งของตัวเอง และบ่อยครั้ง เธอกลัวที่จะโดนคนอื่นจับได้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองอาจไม่ได้พิเศษอย่างที่ใครหวัง

นี่คือสิ่ง Imposter Syndrome ทำงาน

⚫️ สังคมอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะImposterSyndrome

ภาวะ Imposter Syndrome อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่นประสบการณ์วัยเด็ก หรือความกดดันจากคนรอบตัว แต่อีกสิ่งที่มีส่วนกระตุ้นให้คนรู้สึกด้อยค่าตัวเองคือ สังคมที่ไม่เอื้อให้เราภูมิใจในตัวเอง

ตอนเด็กๆ เราอาจถูกสอนว่าต้องตั้งใจเรียน สอบเข้าสถาบันที่มีชื่อเสียง เพื่อเป็นเครื่องประกันอนาคตอันสดใส แต่การหางานที่มั่นคง และรายได้ดีกลับไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เพราะสังคม และเศรษฐกิจที่ไม่เปิดทาง ทำให้โอกาสต่างๆ ลดน้อยลง 

งานวิจัย Recession Graduates: The Long-lasting Effects of an Unlucky Draw หรือการศึกษาผลกระทบในระยะยาวของคนที่เรียนจบในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จากมหาวิทยาลัย Stanford  บอกว่า การเรียนจบในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ สามารถส่งผลกระทบระยะยาวต่อเด็กจบใหม่ 

ภาวะสังคมแบบนี้บีบให้เด็กมีโอกาสเลือกงานน้อยลง สิ่งที่เผชิญคือการทำงานหนัก แต่ได้ค่าตอบแทนน้อย และยังกระทบไปถึงชีวิตส่วนตัวอย่างโอกาสในการสร้างครอบครัว แต่งงาน มีลูก รวมถึงสุขภาพระยะยาวที่มีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้จะเริ่มเห็นชัดเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน

หากตีวงแคบลงมาและมองภาพสังคมไทยปัจจุบัน เฉพาะในส่วนของค่าแรง สำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ รายงานข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน ระบุว่า 11 ปีที่ผ่านมา ช่วง 2554-2565 ประเทศไทยปรับค่าแรงทั้งหมด 6 ครั้ง เท่ากับประมาณ 2 ปีครั้ง และแต่ละครั้งก็ไม่ใช่ในอัตราที่สูงเท่าไหร่นัก

ครั้งที่ 1 ปี 2553 ปรับขึ้นเฉลี่ย 8-17 บาทจากค่าแรงเดิม

ครั้งที่ 2 ปี 2554 ปรับค่าแรงเป็น 300 บาทใน 7 จังหวัด

ครั้งที่ 3 ปี 2555 ปรับค่าแรงเป็น 300 บาททุกจังหวัด

ครั้งที่ 4 ปี 2559 ปรับค่าแรงขึ้น 5-8-10 บาท โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัด

ครั้งที่ 5 ปี 2561 ปรับค่าแรงขึ้น 5-22 บาท โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่มจังหวัด

ครั้งที่ 6 ปี 2563 ปรับค่าแรงขึ้น 5-6 บาท ทั่วประเทศ

ส่วนนโยบายของพรรคพลังประชารัฐที่เคยหาเสียงไว้ว่าถ้าได้เป็นรัฐบาลจะปรับค่าแรงขึ้นเป็นวันละ 400-425 บาท ป.ตรี เริ่มต้น 20,000 บาท อาชีวะ 18,000 บาท ปัจจุบันก็ยังไม่สำเร็จ โดยโฆษกพรรคเคยชี้แจงไว้ว่า เป็นนโยบายที่ไม่สามารถทำได้ทันที เนื่องจากจะกระทบกับภาคเอกชน

ไม่เพียงอัตราค่าจ้างที่ไม่ตอบโจทย์ ข้อมูลจากรายงาน seventh edition of the ILO Monitor: COVID-19 and the world of work ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ยังบอกว่า การระบาดโควิด-19 จะทำให้ 8.7% ของคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-24 ปี สูญเสียโอกาสจ้างงาน ซึ่งมากกว่าผลกระทบที่เกิดกับคนอายุ 25 ปีขึ้นไป และนอกเหนือจากการสูญเสียงานแล้ว ยังถูกชะลอการเข้าทำงานด้วย

นอกจากนี้ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าตัวเลขอัตราการประกาศรับสมัครงานครึ่งหลังของปี 2564 ลดลง 50%

ปัจจัยทางสังคมและโอกาสที่ลดลงนี้ กระตุ้นให้ผู้คนเกิดภาวะ Imposter Syndrome โดยเฉพาะคนที่เคยสงสัยในตัวเองว่าเราไม่ดีพอที่จะได้รับโอกาสที่ดีหรือ ทั้งที่บางปัจจัยมันอยู่นอกเหนือจากการควบคุม 

ฉะนั้น แม้ข้อมูลจะบอกว่า ภาวะด้อยค่าตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่เก่งนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ประสบความสำเร็จ แต่มันก็อาจจะไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป เพราะบางครั้งความผิดพลาดที่ไม่ได้เกิดจากเราทั้งหมด ก็กระตุ้นให้เราหลงคิดไปว่าเรายังเก่งไม่พอ ยังดีไม่พอ ยังพยายามไม่พอที่จะตัวเองในเวอร์ชั่นที่วาดภาพไว้

⚫️ จะรักษาภาวะไม่มั่นใจในความสามารถตัวเองได้อย่างไร

แม้ภาวะ Imposter Syndrome จะดูเหมือนเป็นแค่อาการกวนใจ แต่ควรสำรวจตัวเองว่ามันเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตหรือการทำงานมากเกินไปหรือไม่ หากพบว่าเราเกิดภาวะนี้เป็นครั้งคราว ไม่ถึงขั้นรู้สึกด้อยค่าตัวเองตลอดเวลา ดร.ซูซาน อับเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาแนะนำให้เริ่มดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ 

พยายามแยกความคิด ออกจากความจริง : หากรู้สึกว่า Imposter Syndrome เริ่มคืบคลานเข้ามา ให้ตระหนักไว้ว่าทุกสิ่งที่คุณคิดไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป 

หยุดเปรียบเทียบ : พยายามเลิกเปรียบเทียบความสำเร็จตัวเองกับคนรอบข้าง ไม่ใช่ทุกความสำเร็จจะมีเกณฑ์วัดเหมือนกัน

รู้ตัวว่าภาวะ Imposter Syndrome มีอยู่จริง : เพื่อสมองจะได้มีคำอธิบายอย่างบางเวลาเราเผลอรู้สึกด้อยค่าตัวเอง

บันทึกความสำเร็จของตัวเอง : เพื่อย้ำเตือนว่าคุณทำอะไรได้บ้าง และไม่ได้เกิดจากโชคชะตาไปเสียหมด

นี่เป็นเพียงวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากเราสำรวจตัวเองและพบว่า  Imposter Syndrome เริ่มเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตหรือการทำงาน ควรปรึกษาหมอที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อหาทางออก ซึ่งการพบจิตแพทย์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่หรือเท่ากับว่าเรามีปัญหาทางจิตรุนแรง อย่าลืมว่าหัวใจก็เหมือนร่างกาย หากป่วยก็ต้องรักษาให้ถูกทาง

ชมความรู้คู่ธุรกิจ BizviewTOMORROW รายการ Connect the Dots โดย นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ เรื่อง ‘Imposter Syndrome’ ภาวะที่รู้สึกถดถอยด้อยค่าตัวเอง วิบากกรรมเด็กจบใหม่ หรือ First Jobber ต้องเผชิญ แท้จริงแล้วภาวะที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เป็นเพราะ ‘ทัศนคติ’ ของคนรุ่นใหม่แต่ล้วนมีสาเหตุมาจากสภาพสังคมและวิกฤติเศรษฐกิจ

⚫️ อ้างอิง

https://siepr.stanford.edu/publications/policy-brief/recession-graduates-long-lasting-effects-unlucky-draw

https://time.com/5312483/how-to-deal-with-impostor-syndrome/

https://www.prachachat.net/prachachat-hilight/news-894919

Impostor Syndrome: What It Is and How To Overcome It

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า