Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนไปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2564 เฟซบุ๊คประกาศครั้งใหญ่ เดิมพันเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และบอกว่าบริษัทจะมุ่งพัฒนาไปที่เมตาเวิร์ส (Metaverse) แบบเอาเป็นเอาตาย จนจุดกระแสให้เมตาเวิร์สถูกพูดถึงทั่วโลก

…เมตาเวิร์ส ถูกนิยามว่า เป็นส่วนหนึ่งของโลกอินเทอร์เน็ตในอนาคต เป็นพื้นที่เสมือนที่ผู้คน สามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ ใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริง พบเจอกับผู้ใช้คนอื่นๆ คล้ายจำลองการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกความจริงมาไว้ในโลกออนไลน์นั่นเอง

เช่น ถ้าเราเข้าไปท่องโลกเมตาเวิร์ส ซึ่งจะมีผู้ให้บริการหลายเจ้าให้เราเข้าไปเลือกใช้ เราก็มีตัว avatar (อวทาร์) ของเรา สามารถไปใช้ชีวิต ไปดูคอนเสิร์ต เดินชมพิพิธภัณฑ์ เที่ยวผับ เต้นรำ ฟังเพลงในคลับ โดยทุกอย่างจะเป็นแบบเสมือนจริง

ใช่เลย ฝั่งธุรกิจคิดว่ามันคือ หนทางใหม่ ๆ ของการค้าขาย ทำการตลาดในโลกเมตาเวิร์สเช่นกัน เพราะพอเราพาชีวิตตัวเองไปเป็น อวทาร์ในนั้น เราก็ต้องใช้เงินดิจิทัล ช้อปปิ้งซื้อของ ซื้อสินค้าบริการบนโลกเสมือนจริงเช่นกัน แม้แต่พา อวทาร์ของเราไปเข้าฉากกินดินเนอร์ พบปะออกเดทหรือใช้ชีวิตกับผู้ใช้งานอวทาร์รายอื่นๆ

ฟังดูน่าสนุก

กระแสตอนนั้นเลยมีข่าวคืบหน้าการพัฒนาของวงการเกม ที่เป็นวงการที่จะเกิดเมตาเวิร์สขึ้นก่อนใคร รวมทั้งความคืบหน้าของการพัฒนาเครื่องเล่น VR อุปกรณ์สำคัญที่จะพาเราเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สด้วย

แต่ไปมาระยะหลังเราอาจสังเกตว่า เมื่อโควิดเริ่มคลี่คลายผู้คนเริ่มกลับออกไปใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง เมตาเวิร์สซาลงไป ยิ่งตอนนี้ถ้าไปดูฝั่งเทคโนโลยี เรื่องของ ChatGPT AI แชทบอท เป็นกระแสถูกพูดถึงและใกล้ตัวเราเข้ามามากกว่าเยอะเลย

และก็น่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะ Mintel (มินเทล) บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก เขาก็ตั้งข้อสังเกตเหมือนกันว่า กระแสที่ซาลงไปของเมตาเวิร์ส เพราะตอนนี้เทคโนโลยีเกี่ยวกับเมตาเวิร์สยังไม่ได้พัฒนามาถึงจุดที่ทำให้เราใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริงได้ขนาดนั้น

เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่า เมตาเวิร์สส่วนใหญ่ที่บรรดาแบรนด์หรือธุรกิจต่าง ๆ นำเสนอนั้น ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นเมตาเวิร์สเต็มปากเต็มคำ

ที่สำคัญมีรูปแบบการใช้งานที่จำกัด และ 1 ปี มานี้ มีผู้คนน้อยมากที่เข้าถึงการใช้งาน

แปลว่าหากอยากดึงดูดผู้ใช้เพิ่มขึ้น เมตาเวิร์สต้องได้รับการพัฒนาให้เข้าถึงง่าย และน่าสนใจกว่าเดิมอย่างมากเลย (เป็นที่มาว่าหลายคนมองว่า โซเชียลมีเดียแพลทฟอร์มอย่างเฟซบุ๊กที่เอาจริงเปลี่ยนชื่อเป็นเมตา จะมาพลิกเกมให้นั่นเอง)

แต่การจะทำให้โลกเมตาเวิร์สน่าสนใจได้ ก็ต้องมีการปรับปรุงประสบการณ์เสมือนจริงให้ดีขึ้นชัดเจนกว่านี้ก่อน

เอาว่าแค่ตอนนี้เครื่องเล่น VR ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สก็ยังมีราคาสูง

และถ้าแม้ราคาเครื่องเล่น VR ไม่เป็นปัญหาสำหรับบางคน (ราคาไม่ใช่ประเด็น)

แต่ก็มีสิ่งที่หลายคนตั้งคำถาม “ในตอนนี้” ว่า
แล้วเราจะเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สไปทำไม ความน่าตื่นเต้นของเมตาเวิร์ส เพียงพอให้เราสนใจแล้วเหรอ ?

ตอนนี้มีผู้คนที่เข้าถึงโลกเมตาเวิร์สแล้วอย่างในแซนด์บ็อกซ์ หรือวงการเกม แต่ก็ยังเฉพาะกลุ่ม

ในวงการเกมต้องยอมรับว่า โลกเมตาเวิร์สในนั้นก้าวหน้ามากกว่า โดยเฉพาะในกลุ่มเกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก เช่น Fortnite และ Roblox แต่อย่าลืมว่า ตอนนี้โลกเมตาเวิร์สเองก็ยังอยู่ในระดับการพัฒนา

แล้วถ้ามีใครซักคนที่ไม่ใช่สายเกม และอยากเข้าไปท่องโลกเมตาเวิร์ส ก็มีพื้นที่ให้เข้าไปนั่นล่ะ
แต่ก็มีคนสงสัยว่า พอเข้าไปแล้วผู้ใช้ใหม่ ๆ ก็จะไปลอยเคว้งไม่รู้จะไปทำอะไรในพื้นที่เสมือนจริงที่ยังมีคนใช้ไม่แพร่หลาย และยังไม่มีผู้ใช้คนอื่นให้คุยด้วย

พอคิดว่ายิ่งในกลุ่มผู้ใช้หน้าใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคย มันยังมีเงื่อนไขสำคัญระยะแรกที่ต้องดูกันต่อไปด้วย
เป็นต้นว่า การที่เราจะควบคุมอุปกรณ์ VR ก็ยังไม่ใช่เรื่องเรียนรู้ได้ง่าย แถมการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานบางคนเกิดอาการคลื่นไส้ เพราะการตอบสนองของการเคลื่อนไหวและรูปภาพในผู้ใช้แต่ละคนที่ไม่เท่ากัน (อันนี้ยกตัวอย่างถึงสถานการณ์ช่วงแรก แต่ต่อไปก็เชื่อว่า จะใช้ VR คล่องกันทุกคน)

บริษัทวิจัยการตลาดมินเทล เลยวิเคราะห์เทรนด์ว่า กว่าที่กระแสของเมตาเวิร์สจะพัฒนาไปสู่จุดที่ได้รับความนิยม มีผู้คนมาใช้มาก ๆ มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้โลกเมตาเวิร์สล้ำหน้าเหมือนจริงมากขึ้น ตัวอุปกรณ์เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ยังต้องพัฒนาไปอีกหลายระดับ

และวันนี้ยังไม่สามารถบอกได้เป๊ะ ๆ ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี

นี่เลยเป็นที่มาว่าวันนี้จะเห็นว่ามีหลายแบรนด์หลายธุรกิจเองก็ตั้งคำถาม และไม่แน่ใจว่า ในแง่ธุรกิจพวกเขาจะรับบทบาทใดในโลกเมตาเวิร์ส หรือไม่แน่ใจว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมหรือไม่

มินเทล มองแบบปลอบใจว่า แบรนด์ต่าง ๆ สามารถคลายความกังวลได้ เพราะเมตาเวิร์สยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนานี้เลยเป็น “ช่วงว่างๆ” ที่ยังมีโอกาสอีกมากมายให้แบรนด์และธุรกิจที่สนใจได้เริ่มทำความเข้าใจในเรื่องเมตาเวิร์สไปพลาง ๆ ก่อน สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค และใช้ความรู้ใหม่ ๆ ในการวางแผนการใช้งานเมตาเวิร์สในอนาคตได้

แต่ใช่ว่าการวิเคราะห์เทรนด์นี้จะมองแบบชะล่าใจไป

เพราะถ้าไปเจาะดูในอาเซียน รายงานวิจัยของ มินเทล ชี้ว่าผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่า 2 ใน 3 คน หรือ 64% บอกว่าพวกเขาสนใจลองทำสิ่งที่ไม่กล้าทำในโลกจริง แต่อยากลองทำในโลกเมตาเวิร์ส

62% บอกว่าพวกเขาเคยได้ยินเกี่ยวกับเมตาเวิร์สและมีความรู้เกี่ยวกับเมตาเวิร์สเล็กน้อย

หมายความว่า ถ้าดูจากสถิติคือมีกลุ่มคน เปิดใจที่จะลองใช้ชีวิตในโลกเสมือนไม่ใช่น้อย

ส่วนประเทศไทยในเรื่องความสนใจของโลกดิจิทัลก็มีไม่น้อยนะ เพราะคนไทยเป็นผู้ใช้ NFT มากที่สุดในโลกด้วย แปลว่าการเปิดรับในเรื่องเมตาเวิร์สก็น่าจะมีฐานคนสนใจรออยู่

ขณะที่ฟิลิปปินส์ผู้คนใช้เวลา 4 ชั่วโมงต่อวัน ในการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก และในอินโดนีเซียผู้คนนิยมเล่นเกมออนไลน์เพิ่มขึ้น

แปลว่าประชากรในอาเซียนมีความสนใจกระตือรือล้นในโลกดิจิทัลมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้
หากถึงจุดหนึ่งเมตาเวิร์สเข้าถึงง่ายและมีความน่าสนใจต่อพวกเขาขึ้นมา

เมตามาร์เก็ตติ้ง” MetaMarketing

ถึงโลกเมตาเวิร์สแบบสมบูรณ์ยังใช้เวลาอีกหลายปี และบอกให้ชัด ๆ ไม่ได้ว่า ความนิยมจะมาเมื่อไหร่ แต่ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พอพูดถึงเรื่องของเมตาเวิร์ส เราได้เห็นแบรนด์ระดับโลก มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้

แบรนด์สินค้าแฟชั่นบางแห่งเปิดยูนิตที่ขายสินค้าเสมือนจริงให้อวทาร์ในเมตาเวิร์สกันแล้ว เช่น GUCCI หรือ H&M ที่ตั้ง ‘หัวหน้าแผนกเมตาเวิร์ส’ มาดูแลสินค้าที่ขายในโลกเสมือนจริงโดยเฉพาะ

คิดดูสิว่า สินค้าแฟชั่นในโลกเสมือนที่สร้างด้วยดิจิทัล ไม่มีโรงงาน ไม่ต้องใช้แรงงานคน เครื่องจักร หุ่นยนต์ออโตเมชั่นมาผลิตสินค้า สินค้าจับต้องไม่ได้จริง แต่ใช้การออกแบบดิจิทัล แล้วเราก็ซื้อไปให้ตัวเรา (อวทาร์) ในโลกเสมือนแต่งองค์ทรงเครื่องใส่ในเมตาเวิร์ส

ตอนนี้บางธุรกิจก็เลยเริ่มเดินหน้าคิดค้นวางกลยุทธ์ “เมตามาร์เก็ตติ้ง” MetaMarketing กันแล้ว โดยจะค่อย ๆ มาในแบบ “เฉพาะกลุ่มก่อน” เป็นต้นว่า เราจะได้เห็น การช้อปปิ้งสินค้าในโลกเมตาเวิร์สให้อวทาร์ของเราในโลกเมตาเวิร์สกันก่อน

โลกเมตาเวิร์สต่อไปก็จะมีหลากหลาย ทั้งโลกในแซนด์บ็อกซ์ เฟซบุ๊ก(เมตา) ไอจี และแพลทฟอร์มอื่นๆ

เรื่องนี้ก็เหมือนยุคที่ตอนโลกมีอินเทอร์เน็ตใหม่ ๆ มีคนบอกตั้งแต่อินเทอร์เน็ตยังเต่าคลานว่า ต่อไปเรา จะสั่งซื้อของออนไลน์กัน สมัยโน้นฟังดูยังไกลตัว แต่เวลาผ่านไป วันนี้ก็ช้อปปิ้งออนไลน์กันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

ดังนั้นในมุมมองนักการตลาดอีกมุมนึงก็เชื่อว่าเรื่องของเมตาเวิร์สจะค่อย ๆ ขายได้ เวลาจะนำพาไปถึงจุดนั้น

หลายธุรกิจเลยต้องแหย่ขาเข้าไปบ้าง เพราะเชื่อว่า ธุรกิจไหนไปก่อนได้เงิน ใครไปช้าก็เสียเปรียบ

สิ่งที่ทำให้หลายคนกล้าเดิมพันกับเรื่องนี้ ก็เพราะจุดขายของเมตาเวิร์สเกี่ยวข้องกับกิเลสของมนุษย์ล้วน ๆ

มัน ‘ดึงดูดจิตใจผู้คน’ ที่เราอยู่ในโลกจริงที่เหนื่อยยากขึ้น บางคนเหนื่อยล้าทางจิตใจ และอยากแอบหนี (บางเวลา) ไปมีชีวิตอีกแบบในโลกเสมือนจริงแทน ไปเป็นอีกคนหนึ่งที่เราจะสร้างภาพ อวทาร์ให้ตัวเองมีชีวิตแบบไหนก็ได้

…โลกเสมือนที่ทำให้เราอยากเข้าไปลองทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง เมื่อเราเข้าไปในโลกเมตาเวิร์สแล้ว เราก็สามารถทำมันให้กลายเป็นจริงได้นั่นเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า