SHARE

คัดลอกแล้ว

ในโลกเทคโนโลยี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชิ้นคือสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน ผู้คนพร้อมควักเงินซื้อสารพัดแก็ดเจ็ต สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อปรุ่นใหม่ล่าสุดได้ทันที แต่หลายครั้งเราก็สงสัยว่าแก็ดเจ็ตเหล่านี้มีการอัพเกรดและสร้างความแตกต่างระหว่างรุ่นล่าสุด กับรุ่นก่อนหน้าไม่ได้ทิ้งห่างกันกี่มากน้อย

รู้หรือไม่ว่าตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในฝั่งผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานทั่วทั้งโลกขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกินมูลค่าสูงถึง 6.8 แสนล้านดอลลาร์ (ข้อมูลในปี 2563) และจะขยับไปแตะถึง 9.8 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2570

ทุกครั้งที่เราได้เห็นการตื่นตัวทางการตลาดของบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เปิดตัวสินค้าใหม่ หรืออัพเกรดสินค้ารุ่นใหม่แต่ละครั้ง ในอีกด้านหนึ่ง ขยะจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็กำลังเป็นปัญหาระดับโลกด้วย

มีรายงานว่าปริมาณการผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 53.6 ล้านตัน ต่อปี
1 ล้านตัน = 1,000,000,000 กิโลกรัม (หนึ่งพันล้านกิโลกรัม)

นอกจากนี้ยังมีขยะไมโครชิปอีกจำนวนมหาศาล (ไมโครชิปเดียวกับที่เป็นประเด็นการขาดแคลนทั่วโลก และหลายประเทศก็เร่งแข่งกันพัฒนาสร้่างเทคโนโลยีผลิตไมโครชิป)

ด้วยปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี สวนทางกับการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่มีรายงานลดลง

ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เส้นทางส่วนใหญ่จบลงที่หลุมฝังกลบ ทั้งยังเป็นขยะที่มีสารเคมีที่เป็นพิษ อาทิ ปรอท ตะกั่ว เบริลเลียม สารหน่วงการติดไฟโบรมีน และแดคเมียม ลองคิดว่าถ้าสารเหล่านี้เล็ดลอดไปในดิน อากาศ และน้ำ จะส่งผลเสี่ยงต่อชีวิตนับล้านอย่างไร

ปัจจุบันมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 17.4 % เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลและกำจัดด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าดูตามรายงานของ UN Global E-waste Monitor ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 75 ล้านตันภายใน ค.ศ.2030

อย่างไรก็ตามมีความพยายามให้เกิดเศรษฐกิจแบบใช้ซ้ำ หรือ The New Reuse Economy ที่ทำให้การผลิตเป็นวงจรหมุนเวียน วัสดุถูกนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้

รวมทั้งการพยายามผลักดันทางธุรกิจสร้างรูปแบบ “ตลาดใช้ซ้ำ” ให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ซ่อมแซมใหม่ได้ (ไม่ใช่เสียซื้อใหม่ทันที) ก็มีความพยายามให้เกิดค่านิยมนี้มากขึ้นทั่วโลก ส่วนจะได้แค่ไหนสถิติขยะอิเล็กรอนิกส์แต่ละปีคือคำตอบ

แบรนด์เล็กแต่ใจพี่ใหญ่

มีบางแบรนด์ที่กล้าและพยายามจะช่วยแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นโลก ด้วยการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น และซ่อมแซมได้ง่าย

กรณีศึกษาจาก 2 แบรนด์ ที่ถือเป็นแบรนด์เล็กแต่ใจใหญ่อย่าง Fairphone บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่ถือกำเนิดขึ้นจากแนวคิดสวนกระแส คือการผลิตสมาร์ทโฟนที่คำนึงถึงการซ่อมแซมที่ง่าย ผู้ใช้งานสามารถซ่อมได้เองทุกจุด ความพยายามทุกอย่างเป้าหมายคือ ทำให้ใช้งานสมาร์ทโฟนได้ยาวนานขึ้น ยืดเวลาการไปเป็นวงจรขยะอิเล็กทรอนิกส์

จุดเด่นของ Fairphone คือการออกแบบสมาร์ทโฟนที่ซ่อมเองได้ง่าย เปลี่ยนอะไหล่ได้เอง กันน้ำ และอัพเดทซอฟท์แวร์ 5 ปี ชิ้นส่วนถอดเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง สามารถสั่งซื้ออะไหล่มาส่งที่บ้านและใช้ไขควงเปลี่ยนได้เลย เพราะไม่มีส่วนไหนยึดด้วยกาว ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เก็บโทรศัพท์ไว้ใช้ได้นานขึ้น รวมทั้งให้มีประกันเครื่องไว้ยาวถึง 5 ปี

กรณีศึกษาอีกหนึ่งแบรนด์ Framework บริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งในปี 2019 ผลิตแล็ปท็อปตามแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้ประกอบ อัพเกรดและซ่อมแซมได้ง่ายเช่นกันตามคู่มือที่ให้ไว้ สอดคล้องกับแนวคิดที่ต้องการให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น เพื่อลดปริมาณอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะกลายเป็นขยะให้น้อยลง

แล็ปท็อปของ Framework รับประกันว่าผู้ใช้สามารถถอดเปลี่ยนหรืออัปเกรดฮาร์ดแวร์ได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ไม่ต้องแบกมาเข้าศูนย์หรือส่งให้ช่างไอทีดูแล เพราะอุปกรณ์ทั้งหมดในเครื่องถูกออกแบบให้ถอดเปลี่ยนได้เองทุกชิ้นส่วน ผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนหรืออะไหล่ที่ต้องการ โดยที่ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่

ขณะที่เรื่องของการอัพเกรดเทคโนโลยี แบรนด์เชื่อมั่นว่ามีประสิทธิภาพสูงเพียงพอ และยังคงง่ายต่อการอัพเกรด

จะเห็นว่าเทรนด์ที่ผู้ผลิตเหล่านี้อยากให้เกิดขึ้นคือ การที่ผู้บริโภคยอมควักเงินเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้นาน ซ่อมแซมได้ง่าย บนแนวคิดที่ผู้ผลิตจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ความพยายามเอาชนะความท้าทายของแบรนด์ Fairphone และ Framework เพื่อจะพิสูจน์แนวคิดว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนก็มีความเป็นไปได้และก็เป็นหัวหอกเล็ก ๆ ที่จะมาช่วยเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้คำนึงถึงการสร้างเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนมากขึ้น

แต่สิ่งสำคัญผู้บริโภคก็ต้องกล้าเปลี่ยนทัศนคติเรื่องของการตามติดสินค้าแก็ดเจ็ตรุ่นใหม่ ๆ รุ่นอัพเกรดที่ออกมาแต่ละปี หรือบางแบรนด์ออกสินค้าปีละ 2 ครั้งเพื่อควักเงินในกระเป๋า ขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็กำลังจะล้นโลก

 

อ่าน : Green Economy

รู้จักเทรนด์ The New Reuse Economy “เศรษฐกิจใช้ซ้ำวิถีใหม่”

ดื่ม ‘เบียร์’ ไม่ให้ไม่เป็นภาระโลก พาดูธุรกิจผลิตเบียร์ที่ไม่เบียดเบียนใคร

กติกาเศรษฐกิจโลกใหม่ ต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่ไม่ฟรีอีกต่อไป

อาหารแห่งอนาคต มนุษย์อาจต้องกิน Lab-grown meat เนื้อเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า