SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงนี้มีข่าวหนาหู เรื่องพนักงานบริษัท นั่งทำงานจนตายคาออฟฟิศ

หลายคนอาจจะคิดว่า เป็นเรื่องที่เกินจริงเกินไปหรือเปล่า แต่มันเกิดขึ้นแล้วครับ และไม่ใช่เคสแรกของโลก มีข่าวแบบนี้ในหลายประเทศ และบางรายก็เกิดจากการทำงานหนักจนเกินไป แล้วฟางเส้นสุดท้ายของชีวิต ก็มาขาดผึงที่ออฟฟิศ

แน่นอนครับ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉพาะวันนั้นๆ แน่นอน เช่น มีปัญหาเกิดเมื่อเช้า แล้วเสียชีวิตตอนบ่าย ส่วนมากแล้วเกิดจากการสะสม ความเครียด ปัญหาสุขภาพ และแรงกดดันต่างๆ แล้ววันนึงมันก็มาถึงวันที่ร่างกายไปต่อไม่ไหว แล้วก็ดับลงในออฟฟิศ

เมื่อเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นบนหน้าข่าว และโซเชียลมีเดีย ในหลายๆ ครั้ง ในหลายๆ ประเทศ ผมได้ลองไปตามอ่านคอมเมนต์เพื่อดูความเห็นของชาวเน็ตว่ามองเรื่องนี้อย่างไร

ต้องยอมรับครับว่า ผมแปลกใจและเซอร์ไพรส์กับหลายๆ คอมเมนต์ บางกรณีก็ไปสุดโต่งมากจนถึงขั้นไร้หัวใจ แต่ผมไม่ขอนำเคสสุดโต่งมามองรวมในเรื่องที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้ครับ

บางกรณี (ส่วนใหญ่) โทษบริษัท และหัวหน้างานทันทีว่าใจร้าย และใช้งานพนักงานหนักจนเกินไป จนทำให้เขาต้องจบชีวิตลง

บางกรณี โทษพนักงานที่ไม่รักตัวเอง ปล่อยให้เรื่องราวสะสมบานปลาย จนถึงชีวิตของตัวเอง

บางกรณี โทษ HR ที่ไม่มาดูแลพนักงาน ไม่สนใจสุขภาวะของพนักงาน และไม่ลงมาวางมาตรการอะไร

ใครผิดใครถูก ผมคงตอบให้ไม่ได้ เพราะแต่ละกรณีที่เกิด มันก็ตามแต่ละกรณีและเงื่อนไขกันไป แต่เหนือสิ่งอื่นใด ที่ผมอยากพูดมากที่สุดคือ เราควรป้องกันอย่างไร ไม่ให้เรื่องร้ายแรงนี้เกิดขึ้นอีก หรือเกิดน้อยที่สุด ยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี

สำหรับตัวพนักงานเอง – ณ วันนี้ พนักงานแต่ละคนต้องประเมินตนเอง ทั้งสุขภาพกายและใจให้ถ่องแท้แล้วครับว่างานของคุณมันกำลังฆ่าคุณไหม

เรื่องทางกาย การตรวจสุขภาพประจำปีหรือการใส่ใจตนเองเป็นเรื่องสำคัญมากครับ และอย่าได้มองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย เชื่อไหมครับว่า จากประสบการณ์ของผม พนักงานออฟฟิศมักลืมและละเลยการไปตรวจสุขภาพประจำปี แม้จะเป็นสวัสดิการที่หลายบริษัทเขามีไว้ให้พนักงานทุกคนใช้ฟรี

และข้อเท็จจริงอีกข้อที่น่าตกใจคือ พนักงานออฟฟิศจำนวนมากมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานหนัก และการขาดการดูแลตนเอง เช่น ออฟฟิศซินโดรม ไขมันพอกตับ ปัญหาความดัน และปัญหาไขมันเลวในร่างกาย

เรื่องทางใจและกำลังสมอง เป็นอีกเรื่องที่ห้ามละเลยคนเองโดยเด็ดขาด ณ วันนี้มีรายงานออกมาว่า 40% ของแรงงานในตลาดแรงงานในบางประเทศรู้สึก Burnout หรือกำลังหมดไฟ

และส่วนใหญ่ๆ ใน 40% นั้น พร้อมจะลาออกจากงานแบบที่ยังไม่มีงานรองรับ เพราะไม่ไหวจะเคลียร์แล้วกับงานที่เจอปัจจุบัน

ถ้าตัวเราเองกำลังเดินหน้าไปถึงขั้นนั้นหรือไกลกว่านั้น เช่น เริ่มเกิดภาวะซึมเศร้า จงรีบหาทางรักษา ขอความช่วยเหลือ และหาทางออกให้ตัวเอง มากกว่าที่จะยอมจำนนอยู่และเดินเข้าสู่จุดจบทั้งๆ ที่เรายังแก้ไขมันได้

และอีกจุดที่สำคัญคือ อย่าสร้างความเครียดให้ตนเองในแบบที่ไม่จำเป็น (เพราะงานก็เครียดมากพอแล้ว) เช่น สร้างภาระหนี้สินที่เกิดจากความฟุ่มเฟือย หรือดราม่าในชีวิตที่จริงๆ แล้วไม่ควรจะเกิด เพราะเรื่องเหล่านี้มันคือตัวเสริมความเครียด และปมปัญหาในชีวิตแบบที่ไม่จำเป็

สำหรับเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน – อยากให้เป็นคนช่างสังเกต และ Sensitive ให้มากพอที่จะเห็นว่ามีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังหรือเปล่า ไม่ว่าจะด้วยเรื่องทางกายหรือใจ

โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าสู่การทำงานแบบ New normal หรือ Now normal แบบนี้แล้ว เมื่อเราเห็นกันแบบตัวต่อตัวน้อยลง การถามไถ่ ใส่ใจกันบ่อยขึ้น สังเกตมากขึ้น เป็นเรื่องสำคัญมาก

หัวหน้างานเอง ควรประเมินสถานการณ์ของทีมงานแต่ละคนแบบที่ใส่ใจ และไม่ตัดสินแบบดูองค์รวมเท่านั้น หัวหน้างานควรจะเข้าใจเงื่อนไขของทีมงานแต่ละคน และเข้าใจเสมอว่าแต่ละคนมีเงื่อนไขชีวิตไม่เหมือนกัน

พนักงานคนไหนที่มีปัญหาอะไร และเราควรเข้าไปดูใกล้ชิดขึ้นอย่างไร หรือถ้าบางเรื่องเกินกำลังและเกินความรู้ของเราในฐานะหัวหน้างาน เราต้องสามารถบอกได้ว่า พนักงานควรไปขอความช่วยเหลือจากที่ไหน และอำนวยความสะดวกให้เขาได้รับความช่วยเหลือนั้น

ถ้าชัดเจนว่า งานของเขากำลังหนักเกินไป จงใช้พลังทีมงานมาช่วย เพราะคุณคือหัวหน้า คุณมีอำนาจในการกระจายงานได้ แต่ถ้ามันเป็นเรื่องที่เกินกว่านั้น รีบยกระดับมันไปให้ถึงมือผู้ที่ช่วยเหลือได้หรือเชี่ยวชาญครับ

สำหรับ HR และ องค์กร – คุณอาจจะดูเป็นผู้ร้ายในกรณีแบบนี้อยู่เสมอนะครับ บางทีก็ต้องทำใจ แม้ว่าคุณและองค์กรจะมีนโยบายรองรับและดูแลเรื่องสุขภาพกายใจของพนักงานไว้อย่างดีแล้ว

ถ้าจะทำให้ดีขึ้น สิ่งแรกที่ต้องถามตนเองและองค์กรคือ เราดูแลพนักงานทั้งกายและใจได้อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่ ไม่ได้กำลังบอกว่าต้องไปถึงระดับ First class ครับ เพราะส่วนนึงมันคือต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัท

แต่ผมกำลังถามว่า เราดูแลพนักงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมแล้วหรือไม่กับธุรกิจของเรา งานที่เราให้เขาทำ และสิ่งที่เขาต้องเจออยู่ทุกวันที่มาทำงาน

อย่างที่สอง ถ้ามีพื้นฐาน มีนโยบายที่ดีแล้ว…เราได้สื่อสารและนำมันมาใช้จริงหรือไม่ พนักงานทราบหรือไม่ หรือจริงๆ แล้วมันคือกระดาษที่คุณแปะไว้ แต่พอเจอเรื่องจริงในชีวิตจริง ไม่มีอะไรเป็นไปตามนั้นเลย

สำคัญที่สุด คุณได้สร้างให้หัวหน้างานให้เป็น People manager หรือไม่ เรื่องนี้สำคัญมากครับ เพราะต่อให้องค์กรคุณมีนโยบายที่ดีขนาดไหน แต่ถ้าหัวหน้างานผู้ที่เป็นคนใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุดดันเป็นผู้ร้าย กดขี่ ไม่ sensitive เพียงพอ และไร้ความเป็นมนุษย์ มันก็ไม่มีประโยชน์เลยครับ

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ขอย้ำว่าไม่ได้อยากให้มีเคสความสูญเสียเกิดขึ้นอีกแล้ว การเสียชีวิตในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องสวยงามเลย เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สุด และคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

ดังนั้น ทุกคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมการทำงานเดียวกันมีส่วนช่วยเหลือกันได้ครับ ดีกว่าที่เมื่อเกิดปัญหาแล้วก็กลับมาสู่โหมด “วัวหายล้อมคอก” หรือชี้หน้าโทษกันเอง หรือแม้แต่กระทั่ง….โทษคนตาย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า