SHARE

คัดลอกแล้ว

สหภาพยุโรปประกาศสมทบทุนองค์การสหประชาติด้วยทุนกว่า 3.5 ล้านยูโร (ราว 130 ล้านบาท) เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางการเงินให้เดินหน้าทำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs)  เป้าหมายด้านสิทธฺมนุษยชนในประเทศไทย  และการมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ฯพณฯ นายเดวิด เดลี (David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย แถลงมอบทุนสมทบให้องค์การสหประชาชาติใน 3 โครงการ ได้แก่โครงการ Strengthening SDGs Localization in Thailand (ส่งเสริมการประยุกต์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย) ภายใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ด้วยเงินทุนราว 1 ล้านยูโรเป็นระยะเวลา 18 เดือน, โครงการ Support on Child Protection and Durable Solutions to Refugees in Nine Camps border Thai-Myanmar Border(สนับสนุนการคุ้มครองเด็กและแนวทางแก้ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอย่างยั่งยืนในศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา) ภายใต้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ด้วยเงินทุนมูลค่า 1.5 ล้านยูโร และ โครงการ Strengthen the Promotion and Protection of Human Rights in Thailand (เสริมสร้างการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย)ภายใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเงินทุน 1 ล้านยูโร

เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่าว่า “สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรที่อยู่เคียงข้างประเทศไทยมาอย่างยาวนานในการส่งเสริมและมีความร่วมมือในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน และประเด็นเกี่ยวกับผู้ถูกบังคับให้ย้ายถิ่น สหภาพยุโรปร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนวาระการพัฒนา 2030 ในประเทศไทย ขณะนี้เราเหลือเวลาอีกเพียง 7 ปีก่อนจะถึงกำหนดในปี ค.ศ. 2030  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจะต้องร่วมมือกันเพื่อเร่งดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแต่ละข้อในทุกภูมิภาคทั่วโลก”

ด้านกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือครั้งนี้ว่า “ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและสหประชาชาติครั้งใหม่นี้จะวางรากฐานเพื่อความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการทำงานตามกรอบความร่วมมือในประเทศไทย โครงการเหล่านี้จะนำมาซึ่งโอกาสมหาศาลและยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนหลายล้านคน ช่วยให้การคุ้มครองผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา การส่งเสริมพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน และการเพิ่มการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของคนในท้องถิ่นมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น บนพื้นฐานของความโปร่งใสและการเปิดกว้าง อีกทั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

สหภาพยุโรปเชื่อว่าโครงการที่สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนทั้งสามโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมผลลัพธ์ลำดับที่สามตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework – UNSDCF) กรอบความร่วมมือนี้กำหนดแนวทางการทำงานของสหประชาชาติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ของประเทศไทย อีกทั้งมีความเหมาะแก่กาลเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยกรอบความร่วมมือจะส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ความยั่งยืน สิทธิมนุษยชน และความสามารถในการฟื้นตัวจากวิกฤต ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

โครงการ Strengthening SDGs Localization in Thailand (ส่งเสริมการประยุกต์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย) ทำงานกับ 15 จังหวัดเป้าหมายในการปรับปรุงการสื่อสารนโยบายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การประยุกต์เป้าหมายโดยคำนึงถึงเพศสภาพโดยเน้นการเพิ่มปริมาณข้อมูลพร้อมใช้งาน สร้างความตระหนัก และพัฒนาขีดความสามารถว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการ Support on Child Protection and Durable Solutions to Refugees in Nine Camps border Thai-Myanmar Border(สนับสนุนการคุ้มครองเด็กและแนวทางแก้ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอย่างยั่งยืนในศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา) มีเป้าหมายพัฒนาความคุ้มครองและสิทธิของเด็กในศูนย์พักพิงชั่วคราว และส่งเสริมการปฏิรูปกฎหมายให้ผู้หนีภัยการสู้รบสามารถเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพและการศึกษาในโรงเรียน

และโครงการ Strengthen the Promotion and Protection of Human Rights in Thailand (เสริมสร้างการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย) ซึ่งมุ่งสร้างความก้าวหน้าในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยด้วยการสนับสนุนความพยายามในระดับประเทศในการเพิ่มความเข้มแข็งของกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล ขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วยการส่งเสริมให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและองค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมกับกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พร้อมมุ่งให้มีการสนองตอบต่อข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า