SHARE

คัดลอกแล้ว

“ผมมีความสุขที่ AIS มีรายได้แสนล้าน มีกำไรหมื่นล้าน แต่ถึงที่สุด ไม่มีใครอยู่ได้ ถ้าข้างล่างราบคาบ ในปีนี้ผมมีแนวคิดใหม่มานำเสนอ ผมเรียกมันว่า ทฤษฎีพาย 3 ชิ้น เป็นแนวคิดเศรษฐกิจแบบ Ecosystem Economy เศรษฐกิจร่วมกัน โตไปด้วยกัน ไม่กินรวบ”

นี่คือคำพูดของคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO ของ AIS ในงาน AIS BEYOND THE BOUNDARIES 

งานนี้ CEO ของ AIS พูดชัดเลยว่า การจะรับมือกับเศรษฐกิจในยุคที่ผันผวนรุนแรง ต้องใช้การร่วมมือกัน จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งสำหรับ AIS เองก็จะทำในสิ่งที่ตัวเองเก่ง ไม่ใช่การกินรวบหรือทำทุกอย่าง ทุกอุตสาหกรรม 

ถ้าย้อนกลับไปในปี 2021 หลังจากที่ AIS ประกาศว่าจะเปลี่ยนผ่านองค์กรจากการเป็นบริษัทโทรคมนาคม สู่การเป็น “องค์กรอัจฉริยะ” หรือ Cognitive Telco เพื่อตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่ลำพังเพียง “แข่งกันที่ความเร็ว (speed)” หรือราคา (price) ไม่เพียงพอแล้ว

Cognitive Telco ในความหมายของ AIS หมายถึงการเป็นองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าที่แตกต่างออกไป เช่น เครือข่าย (network) ที่ฉลาดขึ้นด้วยการใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ปรับรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้ หรือไกลกว่านั้นคือการนำเอา Data มาใช้ได้จริงในอุตสาหกรรม

“เรื่อง Data พูดกันมานานแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มี Operator รายไหนในโลกที่ทำได้จริงๆ เพราะ OTT เก่งกว่า แต่ปีนี้ AIS จะทำเรื่องนี้”

ภายในปี 2024 เราจะได้เห็น AIS ในฐานะ Cognitive Telco ที่ชัดเจนมากขึ้น

เศรษฐกิจไทยไปต่อได้ แต่ไม่ใช่แค่รายใหญ่ ระดับกลาง-ระดับล่าง ต้องได้ด้วย

สถานการณ์โลก ณ วันนี้ แม้ว่าจะมีวิกฤตต่างๆ ตั้งแต่เรื่องสงคราม การล่มสลายของสถาบันทางการเงิน หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าพูดถึงไทย ต้องบอกว่า “ธุรกิจใหญ่ๆ ในไทยยังไปได้ดี ยังแข็งแรงมาก เราเป็นประเทศที่มียังมีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิขอีกหลายอย่าง ต่างชาติอยากลงทุน แต่ก็มีติดในเรื่องระเบียบ-กติกาจากทางราชการอยู่บ้าง”

อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของคุณสมชัยคือการบอกว่า ณ วันนี้สำหรับประเทศไทย ไม่ใช่แค่บริษัทรายใหญ่เท่านั้นที่สำคัญ หรือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะเอาเข้าจริง “ไทยมี SME 3.2 ล้านราย ถ้าเราทำให้ระดับกลาง-ระดับล่างแข็งแรงขึ้นมาได้ เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

“เราจะเห็นว่าในอดีตบริษัทเล็กจะสู้บริษัทใหญ่ได้ยากมากๆ แต่มาวันนี้เราเห็นแล้วว่าในต่างประเทศ บริษัทเล็กสู้บริษัทใหญ่ได้ แต่คำถามคือ ทำไมมันไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แน่นอนมันมีทั้งเรื่องของโครงสร้างการทำธุรกิจ กฎระเบียบต่างๆ ที่เอื้อบริษัทใหญ่ เพราะฉะนั้นแนวคิดที่ทุกคนพูดกันมาเยอะอย่าง Digital Economy สำหรับผมมันล้าสมัย ใช้ไม่ได้แล้ว”

“ผมขอเสนอแนวทางใหม่ที่เรียกว่า Ecosystem Economy หรือเรียกง่ายๆ ว่าเศรษฐกิจร่วมกัน เปิดใจรับทุกคน อย่ากินรวบ และพัฒนาคนไทยไปพร้อมกัน แนวทางใหม่นี้มีรายละเอียดทั้งหมด 3 ด้าน ผมเลยขอเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพาย 3 ชิ้น”

ทฤษฎีพาย 3 ชิ้น

พายชิ้นที่ 1

สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแรง (Digital Intelligence Infrastructure) 

ย้อนกลับไปในช่วงประกาศผลประกอบการ AIS ซึ่งในปี 66 นี้ AISเตรียมอัดงบลงทุน 27,000 – 30,000 ล้านบาท ขยายโครงข่ายอัจฉริยะ รองรับการเติบโตลูกค้าใหม่ 

ปัจจุบัน AIS ถือครองคลื่นความถี่ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง รวมกว่า 1460 MHz และยังเป็นพาร์ทเนอร์กับ NT หรือเครือข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ ทำให้ AIS มีคลื่น 700 MHz เพิ่มขึ้นอีก 10 MHz ซึ่งข้อดีของ ลื่น 700 MHz คือช่วยเรื่องการส่งสัญยาณระยะไกล

ในแง่ความเร็ว AIS ทดสอบ 5G ที่ 3Gbps บนเครือข่าย 5G Millimeter Wave ย่าน 26 GHz รายแรก รายเดียวในไทย ซึ่งความเร็วนี้จะช่วยเรื่องการใช้งานอย่างเล่นเกมให้เร็วขึ้น 

สำหรับอินเทอร์เน็ตบ้านหรือ AIS Fibre มีลูกค้าราว 8.8 ล้านครัวเรือน มีส่วนแบ่ง  16% 

ซึ่งคุณสมชัย ระบุว่า ตอนนี้อาจจะยังไม่ได้อยู่อันดับท็อป แต่ภายในปีนี้ถ้าการเข้าซื้อ 3BB สำเร็จ AIS ก็จะมีฟุตปรินท์ของอินเทอร์เน็ตบ้านที่ใหญ่สุดในไทยได้ เมื่อร่วมมือกับผู้ให้บริการอุปกรณ์เครือข่ายหัวเว่ย ก็สามารถกระจายสัญญาณเน็ตบ้านไปในทุกห้องได้ 

AIS PARAGON  (Next Generation Orchestration Platform) ที่จะเป็นเสมือน 5G One Stop Platform ให้ภาคอุตสาหกรรมช่วยบริหารจัดการ resources ผ่าน Cloud และ Edge Computing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานอย่าง  Green Data Center ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะเป็น Data Center ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

พายชิ้นที่ 2

จับมือข้ามอุตสาหกรรม (Cross Industries Collaboration) เปิดตัวบริการใหม่ๆ ดึงลูกค้าหน้าใหม่ 

– ร่วมกับ UOB ผ่านบริการ UOB Best Buy ให้คนไทยสามารถเช่าซื้อถึง iPhone 14 รุ่น 5G ได้ ในราคาเดือนละ 850 บาท

– ร่วมกับ SAMSUNG ทำแพ็กเกจเน็ต+ความบันเทิงให้แก่สมาร์ททีวีรุ่น 65 นิ้ว ในราคาเดือนละ 1,299 บาท

– ร่วมกับ ZTE และ Qualcomm เปิดตัว nubia Pad 3D แท็บเล็ตจอสามมิติ ที่สามารถดูคอนเทนต์ได้โยไม่ต้องใส่แว่น ถือเป็นรุ่นแรกของโลก และจะนำเข้ามาในไทย เดือน พ.ค. นี้

– ร่วมกับ Netflix จะเปิดตัวแพ็กเกจใหม่สำหรับลูกค้าเอไอเอส ซึ่งจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมเร็วๆนี้ และยังร่วมกับ 3Plus, MONOMAX ในการฉายตอนเทนต์ รวมถึงคอนเทนต์กีฬาระดับโลกกับ ไม่ว่าจะเป็น เทนนิส ฟุตบอลทั้งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ยูฟ่ายูโรปาลีกและ ลีกชั้นนำของยุโรปอีกมากมาย กับช่อง beIN Sports โดยลูกค้าชมได้ฟรีได้ถึง 11 เมษายน 2566

– ร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ เปิดตัวบัตรเดบิต Be1st Digital AIS POINTS

พายชิ้นที่ 3

พัฒนาคนและความยั่งยืน (Human Capital & Sustainability)

มีการร่วมมือกับสถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทย และสมาคมวิทยาลัยและสถาบันประเทศแคนาดา สร้างหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Education Platform “Learndi” เพิ่มเติมจากหลักสูตรเดิม ให้ลูกค้าและผู้ใช้งานแพลตฟอร์มได้พัฒนาทักษะที่ตัวเองสนใจ  

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า