SHARE

คัดลอกแล้ว

กสศ. จับมือธนาคารโลก ผลักดันนโยบายลดความเหลื่อมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก ยกระดับทักษะแรงงานไทย ยุติปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวว่า การได้ร่วมมือกับธนาคารโลกในโครงการวิจัยร่วมเพื่อลดช่องว่างด้านคุณภาพของโรงเรียนและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และการส่งเสริมทักษะ ความสามารถของเด็ก เยาวชน และกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะให้เหมาะกับความต้องการของตลาดแรงงานและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ระหว่างปี 2562-2566 ธนาคารโลกและกสศ. ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการวิจัยที่เอื้อต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความเสมอภาค และกระจายโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษา ส่งผลให้เกิดแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมและเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการหารือเชิงนโยบาย และสนับสนุนประเทศไทยในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและการฝึกอบรมต่อไป

รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือพัฒนามาตรฐานคุณภาพโรงเรียนขั้นพื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมขอบเขตการดำเนินงาน 7 ด้าน เช่น ความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการของโรงเรียน ความเป็นอิสระและภาระความรับผิดชอบของโรงเรียน คุณภาพและประสิทธิผลของครู และโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียน มาตรฐานดังกล่าวได้รับการทดสอบกับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารจำนวน 275 แห่ง และจะใช้เป็นกรอบสำหรับการส่งเสริมคุณภาพของโรงเรียนเพื่อช่วยชี้นำการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐในอนาคต

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า ผลการวิจัยเผยให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีระบบการจัดการข้อมูลที่รัดกุมเพื่อตรวจสอบติดตามงานด้านต่างๆ ที่จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อลดช่องว่างการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็กและปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน เมื่อได้รับรู้ถึงจุดแข็งและในส่วนที่ต้องปรับปรุง การสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติมจะสามารถจัดสรรงบประมาณการศึกษาในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารได้ พร้อมทั้งขยายผลการสํารวจและพัฒนาทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับประเทศไทย ไปสู่การสำรวจที่มุ่งเน้นใน 3 จังหวัดเป้าหมายที่เป็นโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของ กสศ. นอกจากนั้นยังมีโครงการการศึกษาและออกแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมให้กับเยาวชนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่จะพัฒนาต่อไปในกรอบการดําเนินงานระยะเวลา 3 ปี

ดร. ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า การมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นเพื่อให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างมีคุณภาพสามารถช่วยให้พวกเขามีอนาคตที่ดีขึ้นได้ และยังช่วยให้กลุ่มประชากรที่ยากจนหลุดพ้นจากวงจรความยากจนได้ จากนี้ไป การลงทุนเพื่อปฏิรูปขจัดความไม่เท่าเทียมและความไร้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร รวมถึงการปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษาและการฝึกอบรมจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแสดงศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า